วิกฤตการทางการเงินที่น่าสนใจ


วิกฤติการต้มยำกุ้ง ปี2540

เหตุการณ์เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1997-1999 ประเทศในอาเซียนได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศจนอาจเรียกได้ว่าฮอตติดลมบน บวกกับนโยบายทางการเงินของไทยช่วงนั้นซึ่งส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกด้วย เมื่อมีปัจจัยบวกจากภายในและภายนอกเช่นนี้จึงเกิดการปั่นราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และหุ้นจนสูงมากกว่าเงินที่มีอยู่ในระบบหลายสิบเท่าตัว เศรษฐกิจประเทศไทยจึงเข้าสู่ระบบการเก็งกำไร “โดยกู้มาลงทุน” ด้วยหวังกำไรส่วนต่าง

ฟังดูเหมือนจะไปได้ดี แต่สิ่งหนึ่งที่นักเก็งกำไรมองข้ามไปคือเมื่อเงินอยู่ในระบบมากเกินจะส่งผลให้เงินเฟ้อและค่าเงินบาทลดลงอย่างหนัก ทำให้หนี้ที่กู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว แถมยังมีปัจจัยความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเข้ามาอีก ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเทเงินเข้าระบบเพื่อรักษาและคงที่ค่าเงินบาทเอาไว้ แต่การเทเงินเข้าระบบแบบหมดหน้าตักกลับเป็นนโยบายการเงินที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง เงินคงคลังของประเทศลดต่ำลงจนเกือบเรียกได้ว่าล้มละลาย ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไร้ความสามารถในการชำระหนี้ สุดท้ายรัฐบาลไทยจึงประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด หนี้ของประเทศจึงเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว สถาบันทางการเงินปิดไปถึง 56 แห่ง ประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันต่างต้องขอรับความช่วยเหลือจาก IMF

บทเรียนหายนะวิกฤติต้มยำกุ้งในครั้งนี้สอนให้รู้ว่าไม่ควรคาดหวังกับเงินในอนาคตที่มาจากการเก็งกำไรมากเกินไปนัก เพราะธุรกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่มีความเสถียรพร้อมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วย

วิกฤติซับไพร์มในอเมริกา ปี 2008

วิกฤติซับไพร์มหรือเรียกอีกอย่างว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ตามสื่อบ้านเรา เป็นหายนะทางการเงินครั้งล่าสุดซึ่งเกิดจากสถาบันการเงินของอเมริกันพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยเงินกู้จำนวนมหาศาลให้บริษัทและประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก ซึ่งหากเป็นในอดีตบริษัทและประชาชนเหล่านี้ไม่มีทางจะขอกู้ผ่านแน่นอน โดยผู้กู้ต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าปกติเพื่อทดแทนที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อมาแบบง่ายๆ นั่นคือจุดเริ่มต้นของวิกฤตินี้อย่างแท้จริง เพราะสถาบันทางการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเหล่านั้นประเมินลูกค้าสูงกว่าความเป็นจริงมาก ทั้งๆ ที่ลูกค้าบางคนไม่มีคุณสมบัติพอจะชำระเงินแม้แต่ดอกเบี้ยเลยด้วยซ้ำ และเงินที่กู้ไปส่วนใหญ่ก็มักเข้าไปยังระบบอสังหาริมทรัพย์เสียด้วย เพราะชาวอเมริกันอีกมากยังต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถสร้างงานสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย

หายนะที่ตามมาคือบรรดาลูกหนี้ทั้งบริษัทเอกชนและประชาชนเริ่มขาดการชำระเงินคือแก่ทางสถาบันการเงินจนนำไปสู่การขาดสภาพคล่องของธนาคารในที่สุด ธนาคารหลายแห่งล้มไม่เป็นท่าและกลายเป็นคลื่นยักษ์พัดถล่มระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก วิกฤติครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นว่าการปล่อยสินเชื่อโดยขาดความรอบคอบอาจนำมาสู่หายนะอันโหดร้ายได้

จากวิิกฤติทางธุรกิจทั้ง 10 เรื่องที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่ามีข้อผิดพลาดที่คล้ายกันอยู่ประการหนึ่งคือการเก็งกำไรโ้ดยคำนึงถึงแต่กำไรมากกว่าความเสี่ยงที่จะขาดทุน นักลงทุนจึงควรปรับมุมมองในการทำธุรกิจเสียใหม่ โดยมุ่งเน้นวิธีการแบบยั่งยืนมากกว่าที่จะมองแค่ผลลัพธ์ฉาบฉวย เพียงเท่านี้หายนะทางธุรกิจอันดับที่ 11 ก็จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน

อ้างอิงจาก : http://incquity.com/articles/grow-your-biz/10-worl...

หมายเลขบันทึก: 602085เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท