วิกฤตการณ์ภัยธรรมชาติของประเทศไทย


จะเห็นได้ว่าวิกฤตการณ์พิบัติภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นชัดเจนมากขึ้นกว่าในอดีต ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในบริเวณอินโดไชน่าที่พบปัญหาพิบัติภัยน้อยที่สุด แต่ใน 20 ปีมานี้ พิบัติภัยเกือบทุกอย่างนั้นเพิ่มขึ้นมาก เช่น พิบัติภัยที่จากแผ่นดินถล่มมากขึ้นกว่า 10 เท่า หรือพิบัติภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง พบว่าเกือบร้อยละ 30% เจอปัญหาการเซาะชายฝั่ง และมากที่สุดที่ประสบภัยพิบัติคือการเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลาง 6.3 แมกนิจูด ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 100 ปี

10157131_10152356216360358_5018633283140221327_n

แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงรายขนาด 6.3 แมกนิจูด นี้ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดกลาง ทำไมจึงเกิดความเสียหาย และมีอาฟเตอร์ช็อกมากกว่าแผ่นดินไหวขนาดกลางทั่วไป ?

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมานั้นเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลาง*ขนาด 6.3 ก็จริง แต่จุดศูนย์กลางการเกิดนั้นเกิดตื้น คือความลึกเพียง 7 กิโลเมตรจากพื้นดินเท่านั้น ซึ่งในทางแผ่นดินไหวถ้าเกิดที่ความลึกน้อยกว่า 10 กิโลเมตร ถือว่าเป็นขนาดตื้น ดังนั้นแม้ความแรงขนาด 6.3 ก็ยังสามารถทำความเสียหายได้บ้าง

เมื่อเราดูสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2508 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 50 ปี และเริ่มมีการติดตั้งเครื่องมือที่ใช้ในการวัดแผ่นดินไหวในปี 2507 ซึ่งใน 50 ปีที่ผ่านมาจากการใช้เครื่องมือตรวจวัดที่เรามีอยู่นั้นพบว่าแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางการเกิดในประเทศไทยนั้นมีทั้งหมดประมาณ 106 ครั้ง มี 8 ครั้งที่เป็นแผ่นดินไหวขนาดกลางที่มีขนาดตั้งแต่ 5 ขึ้นมา แต่ก็ยังไม่มีครั้งไหนถึง 6 เลย โดยมี 1 ครั้งในปี 2537 ที่อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อย้อนกลับไปก็พบว่าไม่มีครั้งไหนที่เกิดแผ่นดินไหว 1 ครั้งแล้วเกิดอาฟเตอร์ช็อกเยอะมากขนาดที่เกิดขึ้นอยู่นี้


bm3rl89cyaag_1r_1399291263-tile


ภาพความเสียหายเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 อ.พาน จ.เชียงราย

เมื่อเรามาดูแผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดไปนั้นพบว่ามีอาฟเตอร์ช็อกเกิดขึ้นแล้วเกือบพันครั้ง เมื่อวิเคราะห์ใน 1000 ครั้งที่เกิดนี้ พบว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดกลางรวมกับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งแรก (main shock) แล้ว 9 ครั้ง ถือว่าทำลายสถิติที่เคยมีอยู่เลย ทางตัวอาจารย์และหน่วยศึกษาภัยพิบัติและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ จึงเกิดความสนใจและได้ลงพื้นที่ทำการสำรวจ เพราะว่าน่าจะมีอะไรที่ไม่ปกติ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่แผ่นดินไหวในประเทศไทยนั้นจะเกิดคู่กับรอยเลื่อน รอยเลื่อนที่เราคิดว่าเป็นรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในตอนแรกก็คือกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา http://www.vcharkarn.com/varticle/59940 แต่เมื่อลงสนามกลับพบว่ารอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้เป็นรอยเลื่อนตัวใหม่ รอยเลื่อนตัวใหม่นี้ไม่ใช่รอยเลื่อนที่เพิ่งเกิด คือเป็นรอยเลื่อนที่มีอยู่แล้วเพียงแต่ไม่มีในสารบบของแผนที่

ลักษณะแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดสึนามิ ?

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในทะเล และมากกว่า 7 ริคเตอร์ขึ้นไปจึงจะสามารถเกินสึนามิ แต่ไม่ได้หมายความว่าแผ่นดินไหวที่เกิดในทะเลที่มากกว่า 7 ริคเตอร์ทุกครั้งจะเกิดสึนามิ จะมีปัจจัยอื่นคือการยุบตัว มุดตัวของเปลือกโลก แล้วทำให้ระดับน้ำลดลงอย่างฮวบฮาบและทำให้เกิดคลื่นในทะเล โอกาสที่เกิดสึนามิไม่ง่าย ไม่มีใครรู้ โอกาสที่ประเทศไทยจะเจอนั้นมีแต่ไม่บ่อย การรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสึนามิเมื่อไหร่ เกิดจากการศึกษาสึนามิโบราณ

ซึ่งพบว่าในประเทศไทยช่วงทะเลอันดามันโอกาสที่จะเกิดสึนามิใหญ่เหมือนปี 2547 คือทุก 200-300 ปีจะเกิดหนึ่งครั้ง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดก็ไม่ใช่ง่ายและไม่บ่อย แต่ธรรมชาติก็ไม่แน่นอน วันนี้ พรุ่งนี้ ถ้าธรรมชาติอยู่ในภาวะที่เหมาะสมในการเกิดก็อาจจะเกิดก็ได้ แต่ไม่มีใครรู้ และในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างคนที่ศึกษาแผ่นดินไหวและสึนามิ เรายังไม่มีเครื่องมือเตือนล่วงหน้าว่าจะเกิดแผ่นดินไหวในทะเลวันไหน และที่ยากไปกว่านั้นคือเกิดแล้วมีแผ่นดินยุบตัว มีสึนามิเกิดขึ้นทางวิทยาศาสตร์บอกไม่ได้ ยกเว้นแต่ใช้ศาสตร์อื่นที่มีความแม่นยำกว่า ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำได้ แต่ไม่ใช่ไม่มีความพยายามเพราะเรื่องแผ่นดินไหวเป็นสิ่งที่ยาก ใน 400-500 ปีมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวและปัจจุบันก็ถือว่าแม่นแล้ว คือเตือนในรอบ 10 ปี อย่างญี่ปุ่นล่าสุดก็มีการเตือนว่าในรอบ 15-20 ปีว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่โตเกียว

ที่มาของข้อมูล:

http://www.vcharkarn.com/varticle/6099

http://www.spu.ac.th/news/18865

http://www.dmr.go.th/main.php?filename=severity

http://www.ndwc.go.th/web/

http://www.vcharkarn.com/varticle/267

หมายเลขบันทึก: 602038เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท