ห้องเรียนกลับด้าน ผังการเรียนรู้ผสานโซเชียลมีเดียและอินโฟกราฟฟิค ศาสตร์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


รูเชาวน์ สุวรรณชล คุณครูประจำโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช หนึ่งในครูในที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ Thailand Innovative Teachers Leaderships Award 2014 ผู้สร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ให้กับเด็กๆ จากบริษัท Microsoft

"เพราะนักเรียนขาดทักษะจำเป็นที่ใช้เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเน้นให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง" รวมทั้งใช้การสื่อสารและใช้เทคโนโลยีต่างๆให้เขามามีส่วนร่วม โดยสร้างให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาจากผังการเรียนรู้จึงได้สร้างศาสตร์การเรียนรู้ จากครูเพื่อศิษย์สำหรับศตวรรษที่ 21

ผังการเรียนรู้หน้าที่ 1

ผังการเรียนรู้ที่ครูเชาวน์สร้างขึ้นมานั้นนักเรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองก่อนคาบที่จะเรียน โดยผังการเรียนรู้นี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน

1. คือจุดประสงค์การเรียนรู้ของเรื่อง ซึ่งจะบอกไว้ใน facebook เพื่อให้นักเรียนจดลงไป
2. ผังการเรียนรู้หน้าที่ 1 ก็จะให้มาใน facebook เช่นกัน ให้นักเรียนจดลงไปเพื่อให้ผ่านตาว่า สสวท.กำหนดการเรียนอะไรและมีสาระสำคัญอย่างไร
3. เริ่มเข้าสู่การเรียนรู้ โดยให้นักเรียนตั้งคำถามขึ้นมาผ่านทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น google plus /facebook / line โดยใช้เครือข่ายโซเชียลมีเดีย ช่วยกันตั้งคำถามเป็นคำถามของห้องเรียนขึ้นมาในแต่ละเรื่องที่เรียน จากนั้นก็จะใช้คำถามของเด็กในการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด

จากนั้นเมื่อทุกคนนำกลับไปศึกษาที่บ้านก็ทำการหาข้อมูลมาแบ่งปันกันในโซเชียลมีเดีย มีคลิปหรือเนื้อหาอะไรก็เอามาแชร์กันให้เพื่อนได้อ่าน ส่วนคลิปที่แชร์กันนั้นเมื่อมีเรื่องใหม่แชร์มาก็จะถูกเลื่อนลำดับไป ก็ให้นักเรียนนำคลิปที่แชร์สร้างเป็น QR code แล้วใส่ลงไว้ในผังการเรียนรู้

ผังการเรียนรู้หน้าที่ 2

ความรู้ที่ได้มาก็นำมาสร้างเป็น map ก็คือการให้นักเรียนคิด (think) จากที่บ้าน ตอนเช้าก่อนถึงคาบเรียนจะต้องส่ง map เมื่อถึงวิชาเรียนก็จะให้เด็กนำ map มาจับคู่ (pair) เพื่อดูของกันและกัน จากนั้นก็นำมาแบ่งปันกัน (share) เพื่อให้ได้เป็น map ของห้อง ส่วนนี้จะทำให้เด็กรู้จัก think, pair และ share

ตัวอย่าง Concept Map Biology 2 มิติ ของเด็กนักเรียน

เด็กหลายคนเป็นเด็กเรียนเก่ง แต่สอบไม่ผ่านเรื่องการสื่อสาร การสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญว่าเราได้ความรู้มาแล้วจะสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นรับฟังได้เข้าใจมากน้อยแค่ไหน จึงมีการให้นักเรียนนำเสนอ map โดยพูดอย่างน้อย 2 นาที ให้ครูเข้าใจ อาจจะทำเป็นคลิปลง youtube แล้วโพสใน facebook แต่ถ้า internet ใครไม่ดีก็สามารถใช้มือถืออัดคลิปมานำเสนอได้ ผังการเรียนรู้นั้นจะให้เด็กทำทั้งหมด 2 คาบ ทำ map 1 คาบ และมีคาบการนำเสนออีก 1 คาบ จากนั้นครูจะนำผลงานทั้งหมดมานำเสนอหน้าห้อง เพื่อให้ทุกคนตั้งใจฟัง บางคนก็อาจจะทำมาเป็น infographic ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กได้ฝึกทักษะได้หลายนอกจากการนั่งบรรยายฟังในห้องแล้วเกิดแต่สติปัญญาอย่างเดียว

ขั้นตอนสุดท้ายคือ การที่เด็กนำความรู้ที่ได้มาไปตอบแทนสังคม ไม่ว่าจะเป็นการที่เด็กทำ infographic หรือมุขขำๆ ไปโพสที่หน้าเพจของตัวเอง ของรายวิชาเพื่อเผยแพร่

ตัวอย่างผลงาน infographic ของเด็กนักเรียน


นอกจากนั้นก็จะมีการทดสอบก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบหรือการทำข้อสอบผ่านเว็บไซต์ ส่วนการทดลองในห้องปฏิบัติการนั้นจะอยู่ในส่วนของสาระสนเทศและการสร้างความรู้

จาก: vcharkarn.com

หมายเลขบันทึก: 601980เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท