การพัฒนา self


การพัฒนาตัวเรานั้นเกิดจากการที่เรารับความรู้สึกต่างๆ (Sensing) ด้วยมีความตระหนักรู้ในตัวเอง (Self-awareness) การตระหนักรู้ทางสังคม (Social awareness) และ การมีสติ(Self-concious) ผ่านการรับรู้ (Perception) และตีความการรับรู้นั้น เช่น อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ(Feelings) ผ่านกระบวนการรู้การคิด (Cognition) และซึ่งหากแต่ละบุคคลพัฒนาจุดแข็ง(Strength) และการลื่นไหลของความคิด(State of flow)ตลอดเวลาจะทำให้เกิดความเข้าใจตัวเอง (Self-understanding)ขึ้น

ซึ่งการพัฒนาตนเองระดับนี้จะสัมพันธ์กับระดับความต้องการพื้นฐานของ Maslow ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological need) ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety need) และขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and belonging need) ที่บุคคลต้องการได้รับการตอบสนอง

เครดิตภาพ http://53010522023.blogspot.com/2012/06/5.html

ในแต่ละบุคคลการทำสิ่งต่างๆประสบความสำเร็จย่อมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) และรับรู้คุณค่าในตนเอง (Self- value) ก่อเกิดเป็นการยอมรับ (Acceptance)ในตนเอง และจะแสดงออกเป็นภาพลักษณ์ของตนเอง (Self-image) ในแต่ละบุคคล ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเองและสอดคล้องกับระดับความต้องการของ Maslow ขั้นที่ 4 ความต้องการความเคารพนับถือ (Esteem need)

และจะทำให้มีความมั่นใจในตนเอง (Self-confidence)เพิ่มมากขึ้น หากมีความมั่นใจในตนเองที่สูงมากเกินไป หรือ over self-confidence จะทำให้บุคคลมีอัตตา หรือเกิดการหลอกตัวเอง แต่หากมีความมั่นใจในตนเองที่น้อยเกินไป poor self-confidence มีแนวโน้มจะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า(Depression)ได้

การรับรู้คุณค่าในตนเอง (Self-value) เกิดจากการที่ประสบความสำเร็จ (Achievement)ซ้ำๆ จนเกิดการรับรู้คุณค่าในชีวิต (Value of life) โดยสามารถแบ่งระดับของความสำเร็จได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • Achievement ระดับที่ 1 การรับรู้ในศักยภาพของตนเอง (Self-efficacy) บุคคลต้องมีการจัดการตนเอง (Self-management) ที่ดี หากในผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนศักยภาพในตนเอง ต้องใช้เทคนิค CBT, Psychoeducation และ Problem-solving skills เข้ามาช่วย สามารถศึกษาทฤษฏีของ Bandura เพิ่มเติมได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Self-efficacy
  • Achievement ระดับที่ 2 บุคคลต้องมีการพัฒนาตนเอง (Self-development) และเปิดใจในการเรียนรู้
  • Achievement ระดับที่ 3 บุคคลต้องมีการเรียนรู้ตนเองตลอดเวลา (Self-learning) ผ่านการจัดการความรู้ต่างๆ (Knowledge management)
  • Achievement ระดับที่ 4 บุคคลต้องมีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับตนเอง (Self- reflection) และถ่ายทอดข้อมูลต่างๆแก่ผู้อื่น (Knowledge translation)
  • Achievement ระดับที่ 5 บุคคลเกิดความพึงพอใจในตนเอง (Self-satisfaction) และมีสติสัมปชัญญะ (Self-determination) รวมทั้งการได้รับข้อมูลสะท้อนกลับและการยอมรับจากผู้อื่น (Others accept) ระดับการรับรู้ศักยภาพของตนเองนี้ คือการประสพความสำเร็จ (Successful aging) ตลอดเวลา ตั้งแต่บุคคลรับรู้คุณค่าในตนเอง(Self-value) จนกระทั่งรับรู้คุณค่าในชีวิต(Value of life) หากบุคคลเกิดติดความสุขหรือความทุกข์มากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอารมณ์ทางลบ (Negative emotion) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence) และกลวิธีการแก้ไขปัญหา (Emotional coping strategies) ที่ดีเพื่อจัดการ โดยจะจัดเป็นการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว (Fast knowledge) แต่หากมีการปล่อยวาง รู้สุขสลับทุกข์ ก็จะเรียกว่าการเรียนรู้แบบช้า (Slow knowledge หรือ Slow life) โดยการเรียนรู้แบบนี้จะทำให้บุคคลเกิดปัญญา (Wisdom)

ผลรวมจากการที่เรามีสติสัมปชัญญะ (Self-determination) โดยการทบทวนตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีความพึงพอใจในตนเอง (Self-satisfaction) ผลลัพธ์สุดท้ายคือ สามารถตอบสนองความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-actualization) ในระดับความต้องการของ Maslow ขั้นที่ 5


ขอขอบคุณ Inspirator: Assistant Professor Dr.Supalak Khemthong

สำหรับการถ่ายทอดและช่วยตกผลึกความรู้ในครั้งนี้ค่ะ


หมายเลขบันทึก: 601318เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2016 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นภาพตามได้อย่างชัดเจนจริงๆครับ...ชอบครับ

ขอบพระคุณค่ะ อ.เดียร์ ส่วนนี้เป็นแค่ draft แรก จะพยายามเขียนออกมาเป็นภาษาอังกฤษให้ได้ค่ะ :

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท