ผนึกกำลัง สร้างสรรค์หน้าที่ ทีมดูแลช่วยเหลือนักเรียน


ผนึกกำลัง สร้างสรรค์หน้าที่ ทีมดูแลช่วยเหลือนักเรียน

เช้าวันศุกร์ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ครูปัญญาประทีปทุกคนมารวมตัวกันเพื่อดูคลิป “Children full of life” ด้วยกัน ซึ่งเป็นคลิปห้องเรียนชั้น ป. ๔ ในประเทศญี่ปุ่นที่ครูประจำชั้น(ครูกานาโมริ) ใช้วิธีการสอนนักเรียนที่น่าสนใจเป็นประโยชน์ และน่านำมาปรับใช้ โดยจะเห็นได้จากนักเรียนที่มีความสุขเมื่อได้เห็นครู เปิดใจ กล้าปรึกษา เข้าหาครูได้ด้วยความสบายใจ มีความสุขกับการเรียนรู้ รักและสามัคคีกัน ซึ่งครูกานาโมริจะสังเกต ใส่ใจ เรียนรู้พฤติกรรมเด็ก ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ในชีวิตของนักเรียนแต่ละคน รวมถึงสอนให้มีความเมตตา เห็นใจกัน ชี้ให้รู้จักโลกแห่งความเป็นจริง



วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้ คือ สร้างแรงบันดาลใจให้กับครูทีมดูแลช่วยเหลือนักเรียนและครูที่สอนทุกคน และได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตน รวมถึงการช่วยกันทบทวนการทำงานที่ฝ่ายมา ว่าจะปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร โดยไม่ใช้การสั่งหรือบังคับใดๆ เป็นการฝึกอบรมบทบาทหน้าที่เนียนๆ ที่ไม่ทำให้ผู้เข้าอบรมรู้สึกว่าถูกอบรม แต่ได้มีส่วนร่วม มีความเป็นเจ้าของเพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติด้วยความเต็มใจ




กระบวนการจัดกิจกรรม

  • เริ่มต้นด้วยการแนะนำสื่อเพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางของการชมคลิป ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร
  • หลังจากชมแล้ว ครูแจ๊ด ครูเปาและครูเอ (หัวหน้าระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) เปิดโอกาสให้ทุกคนสะท้อนความรู้สึกจากการชมคลิป
  • แจกเอกสารประกอบการฝึกอบรมตามกลุ่ม(ดังเอกสารแนบ) ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม โดยมีครูสาระกระจายตามกลุ่มที่ตนสนใจด้วย
  • ช่วยกันแลกเปลี่ยนตามหัวข้อในเอกสารประกอบ ซึ่งหัวข้อแต่ละข้อจะนำให้สมาชิกในกลุ่ม สะท้อนและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และมีการออกแบบลำดับของคำถาม ดังนี้
  • หลังจากนั้นตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ บทบาทหน้าที่และสิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุน จากการช่วยกันสรุปของทุกคนในทีม
  • เมื่อการนำเสนอจบลงผู้รับชมก็สามารถแนะนำข้อคิดเห็นของตนหรือให้กำลังใจเพื่อนๆได้อย่างอิสระ
  • ทีมครูพ่อ ครูแม่และครูผู้ช่วย
  • ทีมครูประจำชั้น ม.ต้น
  • ทีมครูประจำชั้น ม.ปลาย

โดยแต่ละกลุ่ม จะมีทีมผู้จัด ๑ คน คือ (ครูแจ๊ด ครูเปา ครูเอ) คอยอำนวยวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

  • คุณลักษณะ วิธีคิดที่สมาชิกในกลุ่มต้องการปลูกฝังให้เกิดกับนักเรียน
  • Met before บทบาทและหน้าที่ของครูประจำชั้น/ครูพ่อครูแม่ (เขียนจากสิ่งที่เคยเป็นและ/หรือเคยเห็น)
  • บทบาทและหน้าที่ของครูประจำชั้น/ครูพ่อ ครูแม่ (เขียนจากการค้นพบเมื่อได้ชม Children full of life)
  • จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มฯ ได้ค้นพบว่าบทบาทหน้าที่ของครูประจำชั้น/ครูพ่อครูแม่ ที่เป็น Teachers full of life มีดังนี้
  • กลุ่มฯเห็นว่าที่ครูประจำชั้นและครูพ่อครูแม่จะทำบทบาทหน้าที่ Teachers full of life จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้

(ชวนตั้งเป้าหมายของการบ่มเพาะชีวิตนักเรียน)

(ทบทวนจากความรู้ ประสบการณ์เดิมที่อยู่ภายในตนเอง)

(ตกผลึกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสื่อที่ชม)

(เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ รวมเป็นบทบาทหน้าที่ที่ตนยอมรับ เต็มใจและตั้งใจจะทำ เพราะมาจากตนเอง เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ)

(ส่วนนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้อำนวยความสะดวก เช่น หัวหน้าฝ่ายหรือผู้บริหารที่จะเข้ามาช่วยได้ตรงจุด)

เห็นได้ว่ากระบวนการที่ได้มาซึ่ง ที่มาของความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของทุกคนในทีมนั้นมาจากความคิดของเขาเอง โดยไม่มีใครคอยจี้หรือสั่งการ เมื่อครูตระหนักและออกแบบเอง แรงบันดาลใจก็ออกมาโดยอัตโนมัติ เกิดเป็นแรงขับเคลื่อน หรือฉันทะในการทำหน้าที่ของตน



ตัวอย่าง ผลงานของครูที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ทีมครูพ่อครูแม่

ทีมครูประจำชั้น ม.ต้น

ทีมครูประจำชั้น ม.ปลาย

จากกระบวนการนี้ ทำให้ทุกคนได้รับทราบบทบาทหน้าที่ของตนและครูแต่ละฝ่ายและเมื่อมีข้อเสนอแนะก็สามารถแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้อย่างเปิดใจ เพราะต่างเห็นตรงกันแล้วว่า งานนี้เป็นงานที่มีค่าและสามารถบ่มเพาะนักเรียนของเราได้ หากทุกคนร่วมมือกัน ผลก็จะออกมาให้ชื่นใจ เหมือนอย่างที่ได้ชมจากตัวอย่างในคลิปที่ทำเอาครูน้ำตาคลอด้วยความปลื้มและภาคภูมิใจในตัวนักเรียนของครูกานาโมริ

ครูกิ๊ฟ (ชุติยา)

หมายเลขบันทึก: 600584เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท