สกัดบทเรียน R2R เครือข่ายกรมอนามัย (ตอนที่ ๑)


สกัดบทเรียน R2R เครือข่ายกรมอนามัย (ตอนที่ ๑)


หนึ่งเดือนกว่า ...จากรอบแรก วันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ มีนัดหมายกันอีกครั้งกับสมาชิก R2R ของเครือข่ายกรมอนามัย จากตัวแทนศูนย์อนามัยทั่วประเทศ เป็นที่น่าชื่นชมเขต ๑๑ จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ทางผู้บริหารเล็งเห็นความสำคัญขอส่งคนมาเข้าเพิ่มเกือบสิบคน

ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ในช่วงแรกของวันแรกจึงต้องปรับเปลี่ยน ...

ทบทวนความเดิมจากครั้งก่อนในช่วงเวลาอันจำกัด

ทีแรกข้าพเจ้าใช้วิธีการคนใหม่คละกับคนเก่า หวังการเรียนรู้แบบพี่เลี้ยงช่วยเหลือกัน เมื่อประเมินในระยะเวลาสั้นพบว่าทำให้การทำกระบวนการช้าลง ...จึงปรับให้สมาชิกใหม่ที่มาใหม่ทั้งหมดนั่งรวมในกลุ่มเดียวกัน โดยมีคุณชลภัสสร หรือน้องโย๋ ช่วยเป็น R2R Fa แบบพิเศษใกล้ชิด


  • ข้าพเจ้าเปิด VTR ชุด ... “จากวันนั้นถึงวันนี้ R2R ประเทศไทย" ให้ทุกคนดู เพื่อซึมซับถึงความเข้าใจใน R2R อีกครั้ง... ซึ่งในวีทีอาร์ชุดนี้ เป็นเรื่องการทำ R2R ของหอผู้ป่วย ICU ศัลยกรรม โรงพยาบาลยโสธร และมีน้องโย๋หรือชลภัสสรเป็นผู้เดินเรื่อง ... ข้าพเจ้ามีเป้าหมายอยากให้เรียนรู้ถึงคนต้นแบบที่นำ R2R มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องมา ๗-๘ ปีแล้ว

ความรู้สึกของคนดูรู้สึกประทับใจ และมีกำลังใจหลังจากที่ข้าพเจ้าได้สรุปอีกครั้งจาก VTR


  • จากนั้น ... สรุปแนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง R2R และชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง ผลงาน R2R และงานวิจัยทั่วไป

ข้าพเจ้ามองว่าหลักเกณฑ์พื้นฐาน ๔ ข้อของคุณลักษณะ R2R ๑) ปัญหา/คำถามการวิจัยมา จากงานประจำ ๒) ผู้วิจัยคือผู้ที่ทำงานประจำนั้น ๓) กลุ่มตัวอย่างก็คือผู้ที่มารับบริการในงาน นั้น และ ๔) ผลการวิจัยต้องนำกลับมาใช้ในงานประจำ ช่วยทำให้ผู้คนเกิดความกระจ่างชัด และเห็นความแตกต่างว่าต่างจากงานวิจัยทั่วไปอย่างไร


  • แล้วเราก็ทำ Dialogue หรือ “สุนทรียสนทนา" ภายในกลุ่ม "แบ่งปันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระหว่างหนึ่งเดือนกว่าที่ผ่านมามีความคืบหน้า/ก้าวหน้าในการทำ R2R อย่างไร" ... จากนั้นให้นำเสนอต่อกลุ่มใหญ่อีกรอบ

เวลาที่ทำ Dialogue ข้าพเจ้ามองว่ามีเสน่ห์ ...เพราะทุกคนได้มีโอกาสฟังกันและกัน หัวใจของ การสุนทรียสนทนาคือ การฟัง...ฟังอย่างลึกซึ้ง และไม่ตัดสิน ที่สำคัญฟังแล้วเกิดปัญญาต่อยอด ความคิด เกลียวความรู้หมุนวน


บรรยากาศครึ่งวันแรกผ่านไป กลุ่มสมาชิกใหม่ก็เรียนรู้การนำ PICO มาสู่การตั้งคำถามการวิจัยโดยมีคุณอำนวย R2R อย่างชลภัสสรช่วยชวนคิดและสร้างสรรค์

ช่วงบ่าย...หลังทานข้าวรอยยิ้มและเสียงหัวเราะยังคงมีอยู่อย่างเบิกบาน...


  • ข้าพเจ้าพูดเรื่อง Research Design ให้ฟังแบบเห็นภาพโดยรวมและชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงปริมาณ ... พอสังเขปเพื่อให้ที่จะตัดสินใจได้ว่าจะเลือกใช้รูปแบบการวิจัยแบบไหนให้สอดคล้องกับคำถามการวิจัย
  • แล้วเราก็ชม VTR ร่วมกัน เรื่องแรกเป็นงานของคุณอดิเรก เร่งมานะวงศ์ จาก รพ.สต.โอโล อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ...สมาชิกดูและตีความ จากนั้นก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มในประเด็น "รูปแบบการวิจัยพร้อมให้เหตุผล และกระบวนการวิจัยที่ดำเนิน "...


จากนั้นเรียนรู้ซ้ำอีกครั้งเป็นเรื่องการทำ Triage Checklist ของ รพ.ศิริราช...ในงาน OPD คลินิกเด็ก ...หลังจากดูแล้วให้สมาชิกกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็น..."ปัญหาหน้างาน รูปแบบการ วิจัย พร้อมให้เหตุผล"

เรียนรู้แบบนี้เรามีความเห็นร่วมกันว่าสนุก ได้สะท้อนวิธีคิดจากเหตุผลที่นำไปสู่การตัดสินใจที่ จะเลือกการออกแบบรูปแบบการวิจัย (Research Design)


วันแรกจบลง...ด้วยการบ้านที่แต่ละทีมวิจัยนำไปออกแบบรูปแบบการวิจัยของตนเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้กับตนเองในวันนี้ คือ ปรากฏการณ์ของการ Dialogue ระหว่างที่สมาชิกในกลุ่มกำลังพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะของการฟังดีมากๆ ... แววตา ท่าทาง ขณะนั่งฟังมีความสนใจ ใส่ใจในเรื่องราวที่ตนเองได้ฟัง และทักษะการแสดงความคิดเห็นก็ทำได้ดีมาก ชื่นชมว่าสมาชิกกรมอนามัยมีทักษะการทำ Dialogue และ Share&Learning ได้ดีมาก

...

๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 600557เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท