Microsoft ทดสอบ data centers ในมหาสมุทรแปซิฟิค



Microsoft's underwater datacenter: Project Natick



Microsoft ได้นำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ลงไปในทะล
ถ้าคนทั่วไปทำแล้วคงกลายเป็นเรื่องของคนไม่ฉลาดเลย
แต่มีเบื้องหลังของปฏิบัติการของ Microsoft ในครั้งนี้
มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับการนำ data centers
ไปไว้ใต้ท้องทะเลและยังทำงานได้เป็นอย่างดีด้วย

Data centers มีโครงสร้างพื้นฐาน
ประกอบด้วยอุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์จำนวนมาก
มีระบบหลักภายในประกอบด้วย
Server Storage Network Power supply etc.
เพื่อใช้ในการให้บริการด้านต่าง ๆ ของ Microsoft
ผ่านระบบ cloud-based และ internet provisions

แต่ปัญหาใหญ่ที่ตามมาในการใช้งาน
และบำรุงรักษา data centers ให้ทำงานได้ตามปกติ
คือ พลังงานไฟฟ้าเฉพาะที่สหรัฐอเมริกาเพียงชาติเดียว
ประมาณการกันว่าต้องใช้โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า
ที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินถึงจำนวน 34 โรง ในแต่ละปี
ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อป้อนให้ระบบ Servers
ให้ทำงานได้ตามปกติในแต่ละวัน

ขณะเดียวกัน ทีมงานวิศวกร/สถาปนิก/ช่างวิชาชีพ
แม้ว่าทุกคนต่างจะพยายามหาวิธีการต่าง ๆ
เพื่อลดความร้อนและอุณหภูมิห้องปฏิบัติการ Data centers
ไม่ให้มีความร้อนมากเกินไปเพราะมีปัญหากระทบกับระบบทำงาน
ด้วยการใช้ระบบระบายความร้อนจากน้ำ ของเหลว เครื่องปรับอากาศ
พร้อมทั้งพยายามนำความร้อนและความเย็น
ภายในห้อง Data centers กลับมาหมุนเวียนใช้งานอีกครั้ง
กับพยายามหาวิธีการลดต้นทุนพลังงานด้วยวิธีต่าง ๆ
ก็ยังไม่สามารถลดต้นทุนรวมได้อย่างมีนัยสำคัญ
เป็นปัญหาที่ผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น
Facebook Google Microsoft Twitter IBM
ต่างต้องรับมือกับปัญหาดังกล่าวมาตลอดเวลา

จากปัญหาดังกล่าวนี้ทำให้ Microsoft
ต้องคิดใหม่ทำใหม่ด้วยการนำ data centers
ไปไว้ในท้องทะเลที่ระยะทาง 1 กิโลเมตร(0.62 ไมล์)
ห่างจากชายฝั่งแปซิฟิค Pacific Coast

ไม่มีข้อมูลระดับความลึกที่ data centers วางอยู่
แต่ดูจากภาพใน Video จะเห็นปูน้อยไต่รอบ ๆ
เปลือกโลหะที่ห่อหุ้ม data Centers
และข้อมูลที่ระบุว่าดำน้ำลงไปทำงานตอนกลางวัน
แสดงว่าไม่ลึกมากจนไร้แสงสว่างจากดวงตะวัน

ปฏิบัติการดังกล่าวสมเหตุสมผลอย่างยิ่ง
เพราะ Microsoft ไม่ต้องลงทุนในเรื่อง
ระบบระบายความร้อนหรือระบบทำความเย็น
ให้กับ Data centers แต่ประการใดเลย
กอปรกับความเย็นของน้ำทะเลบริเวณดังกล่าว
ทำให้ตัว Servers มีความเย็นที่ระดับ 24/7
ทำให้ลดต้นทุนในเรื่องระบบระบายความร้อน

Data centers ของ Microsoft ที่อยู่ในท้องทะเล
ไม่ได้ทำให้อุณหภูมิใต้ท้องทะเล
หรือรอบ ๆ data centers สูงขึ้นแต่อย่างใด
เพราะจากการตรวจสอบและตรวจวัดจากเรือปฏิบัติการ
ที่ลอยลำอยู่เหนือ data centers ที่ลงไปอยู่ใต้ท้องทะเลแล้ว
พร้อมกับการใช้นักประดาน้ำ
ดำน้ำลงไปทำการตรวจวัดอุณหภูมิโดยรอบแล้ว

รวมทั้ง Data centers ยังปลอดภัย
จากภัยคุกคามทางกายภาพ/จากคน
ตามมาตรฐานความปลอดภัยเบื้องต้นระดับหนี่ง




เมื่อปีที่แล้ว Microsoft ได้ลงมือ
ทำโครงการนำร่อง Project Natick
โครงการดังกล่าวนี้ได้ใช้เครื่องต้นแบบ
ที่ตั้งชื่อว่า Leona Philpot
มาจากวิดีโอเกมส์ Halo Universe ใน Xbox
โดยนำไปวางไว้ในมหาสมุทรแปซิฟิค

โดยตั้งเป้าหมายทดสอบเป็นเวลา 90 วัน
ในเรื่องความสามารถ/เสถียรภาพในการทำงานใต้น้ำ
ภายใต้เงื่อนไขและการคาดการณ์ความเสี่ยง/ภัยพิบัติ
ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ตาม Scenario
แต่ผลลัพธ์ที่ได้เกินความคาดหมายอย่างมากทีเดียว
เพราะมันสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
มีประสิทธิภาพกับประสิทธิผลดีมาก
ตลอดระยะเวลา 105 วันที่ผ่านมา
ทำให้ประมาณการว่า data centers ตัวนี้
จะสามารถใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไป

ในช่วงการทดลองดังกล่าว
ไม่มีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นเลย
ไม่มีปัญหาทางด้าน softwares/hardwares
ทำให้การคาดว่าถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น
อาจจำเป็นต้องให้มีนักประดาน้ำลงไปทำงาน
เพื่อบำรุงรักษาซ่อมแซมใต้น้ำ
เท่าที่ทำได้ในเวลากลางวัน
หรือต้องดึงขึ้นมาเพื่อทำการซ่อมแซม
ทั้งสองเหตุการณ์เลวร้ายนี้ไม่มีเลย

ในทุก ๆ เดือนจะมีนักประดาน้ำ
ดำน้ำลงไปสำรวจ data centers
แล้วทำการบำรุงรักษาตามมาตรฐานปฏิบัติงาน
ส่วนบนภาคพื้นดินและบนเรือปฏิบัติงาน
จะมีเจ้าหน้าที่/พนักงานส่วนหนึ่ง
ทำงานผ่าน Remote Control
เพื่อดูแลและบำรุงรักษา data centers

ผลสำเร็จจากโครงการ Project Natick
ทำให้ Microsoft ได้ลงมือขยายอัตราส่วน
data centers จากตัวต้นแบบ Leona Philpot
ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมกว่า 3 เท่า
จากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเดิม 8 ฟุต
พร้อมทั้งจะทำให้มีระบบประมวลผล
ที่มีความเร็วสูงกว่าเดิมถึง 20 เท่า
คาดว่าจะรองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า 3,500 ล้านคน
โดยมีอายุการใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี

ทั้งนี้ทาง Microsoft ได้วางแผนไว้ว่า
จะใช้เวลาน้อยกว่า 90 วัน
ในการติดตั้งทดสอบระบบ
Data centers ตัวใหม่ที่สร้างเสร็จแล้ว
นับตั้งแต่วันที่นำ data centers ลงเรือ
ไปยังจุดที่ฐานปฏิบัติการแห่งใหม่
ในมหาสมุทรแปซิฟิคที่ระยะทาง
125 ไมล์ห่างจากชายฝั่งทะเล
แล้วหย่อน data centers ลงในทะเล

ทั้งนี้ Microsoft ยังจะใช้ประโยชน์
จากกระแสน้ำทะเลและคลื่นในท้องทะเล
ทำการผลิตกระแสไฟฟ้า
เพื่อนำมาใช้งานกับ data centers บางส่วน
ช่วยทดแทนพลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม
เป็นการลดต้นทุนพลังงานส่วนหนึ่งด้วย

เมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้ง
ทดสอบระบบ data centers บนพื้นดิน/บนบก
จะต้องก่อสร้างอาคารสถานที่รองรับการใช้งาน
พร้อมกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ (Infrastructures)
ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีขึ้นไป
ต้นทุนการลงทุน/ต้นทุนค่าใช้จ่าย
คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าการติดตั้งในทะเล

การติดตั้ง Data centers ไว้ในทะเล
ทำให้ Microsoft ประหยัดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
ไม่ต้องก่อสร้างอาคารสถานที่ทำงาน
ไม่ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ (Infrastructures) มากมาย
หรือต้องจัดหาบริเวณที่ดินที่เหมาะสม/ถูกต้องตามกฎหมาย
รวมทั้งราคาที่ดินที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน

Microsoft จึงสามารถใช้อาคารสถานที่/พื้นที่เดิมที่มี
ไปพัฒนาทำประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่าเดิม
ทั้งยังมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
นำไปพัฒนาในด้านอื่น ๆ ได้อีก
เพื่อแสวงหากำไรได้ในระยะยาว
ทั้งยังปลอดภัยจากภัยคุกคามที่มาจากคน
หรือจากภัยพิบัติประเภทต่าง ๆ
ที่อาจทำลาย data centers
ที่ติดตั้งบนบก/พื้นดินได้

การที่ Microsoft สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
รวมทั้งลดระยะเวลาในการติดตั้งใช้งาน data centers
มีผลกับความสามารถในการหารายได้และทำกำไรสุทธิ
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ที่ระบบ data centers จะเหนือกว่าคู่แข่งในตอนนี้

การประกอบการของ Microsoft
เริ่มมีทิศทางมุ่งไปที่ระบบ
cloud-based และ internet provisions
มากกว่าการผลิต/ขาย softwares
เหมือนที่เคยทำมาในอดีต




Microsoft ยังได้รายงานว่า
การติดตั้งใช้งาน data centers
ในอนาคตจะใช้เวลาน้อยกว่า 30 วัน
นับตั้งแต่ขนส่ง data centers
ลงเรือแล้วไปยังจุดที่ทำการติดตั้ง

ทั้งยังจะมีส่วนช่วยเหลือประเทศที่มีภ้ยพิบัติ
จากแผ่นดินไหว สูนามิ อัคคีภัย ฯลฯ
ให้สามารถใช้งานและเชื่อมต่อเครือข่าย
ในการทำงานทดแทนระบบเดิมที่สูญเสียไป
ด้วยระยะเวลาที่น้อยกว่าเดิมมาก

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างยอมรับว่า
วิธีการดังกล่าวถือว่าดีมากและเหมาะสมมาก
กับการใช้งานของคนจำนวนมากในปัจจุบัน
ที่ต่างหลั่งไหลเข้ามาใช้งาน Internet
ราวกับพายุโหมกระหน่ำทุกทิศทาง
หรือราวกับคลื่นมหาชนในมหกรรมกีฬาระดับโลก

แต่ยังมีผู้เชี่ยวชาญบางรายระบุว่า
ยิ่งระบบ Data centers มีเสถียรภาพ
และสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น
จะมีผลกระทบต่อโรงงานผลิต
ด้านการซื้อการผลิตจะลดลงไปจากเดิม
ตลาดแรงฝีมือจำนวนหลายราย
อาจจะต้องตกงานหรือเปลี่ยนอาชีพ
ในระยะยาวได้เลยทีเดียว



" เรื่องสำคัญที่สุดคือ ในวันหนึ่งข้างหน้า
อุปกรณ์ชิ้นนี้จะถูกทำให้ปฏิบัติงาน
ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
สามารถใช้งานและเดินเครื่องได้เลย

การผจญภัยใต้ท้องทะเลลึก
กลายเป็นงานประจำวันของที่ทำงานแล้ว

การใช้งานใต้ทะเลลึก
ช่วยระบายความร้อน
เป็นพลังงานทดแทนแบบใหม่
และรักษาสภาพแวดล้อมด้วย

เทคโนโลยีที่พิเศษเหนือชั้นนี้
มาจากความรู้สึกที่นำไปสู่แนวคิดที่ดี
มันจะเปลี่ยนแปลงระบบ
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจไปเลย "

Norm Whitaker หัวหน้าโครงการพิเศษ
Microsoft Research NExT
เคยเขียนไว้ใน website บริษัท

Microsoft เพิ่งจะรายงานผลประกอบการ
ที่ได้รับอย่างดีเกินคาดกับ Wall Street
ถึงชัยชนะจากการทำธุรกิจ Internet cloud
โดยทำกำไรสุทธิได้ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
และรายได้มากกว่า 23.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในรอบสามเดือนสุดท้ายของปีที่แล้ว

Software ที่ให้บริการทางด้าน Internet cloud
คือเป้าหมายธุรกิจหลักของ Microsoft
ที่จะยกระดับธุรกิจจากเดิมมาทดแทน
การผลิต software สำเร็จรูปขายในท้องตลาด
ที่มีคู่แข่งขันทั้งรายเล็กรายใหญ่จำนวนมาก
ที่มีทั้งของฟรีและของละเมิดลิขสิทธิ์

ระบบ Cloud computing ของ Microsoft
จะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ Internet
ในการทำงาน/ประมวลผล
รวมทั้งการเก็บข้อมูลต่าง ๆ
ได้อย่างมากมายมหาศาล
โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม storage
เหมือนในอดีตแต่อย่างใด

“ ธุรกิจทุกหนทุกแห่งกำลังใช้ Microsoft Cloud
เป็น digital platform ในการขับเคลื่อนธุรกิจ
ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงที่ยากลำบาก

โอกาสของธุรกิจ Cloud มหาศาลมาก ”

Satya Nadella ผู้บริหารระดับสูง(CEO) Microsoft
ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในเรื่องนี้



เรื่องเล่าไร้สาระ

จุดที่ตั้ง data centers คาดว่า
น่าจะมีฐานทำการแบบแท่นขุดเจาะน้ำมัน
หรือเป็นเรือขนาดใหญ่ที่ลอยเหนือบริเวณ data centers
พร้อมกับวางแนวทุ่นเครื่องหมายเขตห้ามเข้า
หรือนำเรือไปแวะจอดเรือ/หรือขึ้นท่องเที่ยว
โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเด็ดขาด

ถ้าเป็นแบบเมืองไทยก็มีขนาดใช้ปืนยิงเตือน
เวลาเรือวิ่งโฉบผ่านเข้าไปใกล้บริเวณแท่นขุดเจาะน้ำมัน

เขตน่านน้ำของแต่ละประเทศจะไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล
บางประเทศประกาศเขตน่านน้ำถึง 200 ไมล์ทะเล
แต่หลายประเทศไม่ยินยอมให้ถือว่าที่เกินกว่า 12-200 ไมล์ทะเล
เป็นเขตเศรษฐกิจและทำการประมงของประเทศนั้น
และควรเป็นเขตน่านน้ำสากลที่เรือทุกชาติ
สามารถสัญจรไปมาได้อย่างเสรี
แต่เรื่องแบบนี้ใครมีอำนาจมีอาวุธ
ก็จะมีข้อต่อรองเหนือกว่าอีกฝ่าย
ตามหลักกฎหมายและการเมืองระหว่างประเทศ

Microsoft ระบุว่าตั้ง data bases ลูกใหม่
จะอยู่ห่างจากชายฝั่ง 125 ไมล์
จึงถือว่าอยู่ในเขตดินแดน
และเขตคุ้มครองของสหรัฐอเมริกา

1 ไมล์ทะเลมี 2 ระบบที่ใช้กันอยู่
ระบบอังกฤษ 1.852 กิโลเมตร
ระบบมาตรฐาน 1.1508 กิโลเมตร หรือ 6,076 ฟุต
พอ ๆ กับระบบชั่งตวงวัด
ถ้าไม่ตกลงระบุกันให้ชัดเจน
จะมีปัญหาในการตีความ/ใช้งานได้

เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/ulJrH1
http://goo.gl/Elodu9
http://goo.gl/0McnDR
http://goo.gl/FMtgyy




ภาพเพิ่มเติม Data centers https://goo.gl/JeqNmZ




ระบบน้ำเย็นของ data center ใน Port of Strasbourg
France ประกาศว่าได้เครื่องหมายสีเขียว



Indiana University Data Center. Bloomington, Indiana



Racks ของอุปกรณ์โทรคมนาคม ที่เป็นส่วนหนึ่งของ data center



CRAC Air Handler



Under Floor Cable Runs



คลังเก็บแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ของ data center
เพื่อใช้เป็นไฟฟ้าสำรองก่อนเครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซลจะเริ่มทำงาน



FM200 Fire Suppression Tanks



Google Data Center, The Dalles, Oregon



ตัวอย่างของ "rack mounted" servers



Portable Modular Data Center ขนาด 40 ฟุต



server rack อีกรูปแบบหนึ่ง มักจะพบเห็นกันทั่วไป



ทางเดินกลางระหว่าง Cabinet ใน data center

หมายเลขบันทึก: 600552เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2016 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท