แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน


ผศ.ดร.ภาสกร นันทพานิช เยี่ยมเยือนเราชาววิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนได้

เสนอแนวคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน สังคมและท้องถิ่น (การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด) ณ วชช.แม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ระหว่างเวลา 13.00-17.00 น.
ซึ่งผลจากการเสนอแนวคิดและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้อาจจะเห็นแนวคิดและแนวทางของ model ใหม่ในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคมภายใต้บริบทและขอบเขตด้านพื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัด) ของสถาบันการศึกษา หรืออาจเรียกว่า "การจัดการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคน ชุมชนและสังคม (การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด)" ซึ่งมี differentiation และ innovation (ในเชิงแนวคิด) มากกว่าการจัดการศึกษาที่ผ่านมา (จากการสรุปบทเรียนของการจัดการศึกษาที่ผ่านมาโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง) ส่วนจะทำได้จริงหรือไม่อย่างไรนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่างน้อยก็เกิด idea intervention
โดยในครั้งนี้ได้เสนอแนวคิด
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนและสังคม (การจัดการศึกษา 2 ขา) เกี่ยวกับ
1. ปรัชญา และระบบการจัดการศึกษา
2. รูปแบบการจัดการศึกษา และวิธีการจัดการเรียนรู้
3. หลักสูตร กระบวนวิชา ชุดความรู้สำหรับการจัดการเรียนรู้ (วิธีการได้มาหรือการค้นหาชุดความรู้ กระบวนวิชา หรือรายวิชาเพื่อการพัฒนาจังหวัด เป็นการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลิตภาพ เศรษฐกิจ สังคมและพื้นที่ของจังหวัดและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในจังหวัดโดยเฉพาะคนยากจน และคนชายขอบ)
4. ผู้เรียน
5. ความเชื่อมโยงและสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้แบบต่างๆ ที่นำไปสู่เป้าหมายของการจัดการศึกษาและเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคน ชุมชนและสังคม
6. ทบทวนบทเรียนในการดำเนินการจัดการศึกษาที่ผ่านมา
7. การออกแบบและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาตามแนวทาง "การจัดการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคน ชุมชนและสังคม (พัฒนาจังหวัด)"
8. การทำให้หน่วยงาน (สถาบันการศึกษา) เป็นกลไกในการพัฒนาจังหวัดผ่านการจัดการศึกษา และการเรียนรู้

ในระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ 2559 ขอขอบคุณอาจารย์อย่างยิ่งจากใจ

หมายเลขบันทึก: 600467เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2016 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2016 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท