การดูแลเพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสีย


ถ้าดูตามหัวข้อแล้วน่าจะเป็นการดูแลภายหลังจากการสูญเสียแต่ตามความจริงแล้วการจะทำให้การดูแลญาติหรือผู้ดูแลให้สามารถผ่านพ้นความเศร้าโศกระยะการสูญเสียได้นั้น

1.เราได้ เริ่มเตรียมความพร้อมไว้ก่อน ตั้งแต่ช่วงในระยะท้ายของผู้ป่วยโดยจากประสบการณ์ที่ผ่านมามักจะใช้วิธีให้ญาติหรือผู้ดูแลสวดมนตร์รวมกับ ผู้ป่วยซึ่งในขณะที่สวดมนตร์รวมกันนั้นขณะที่ผู้ป่วยไม่เสียชีวิตนั้นเป็นการหันเหความสนใจความวิตกกังวลต่างๆให้มาสนใจกับบทสวดในขณะเดียวกันเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตก็แนะนำให้ผู้สูญเสียสวดมนตร์เพื่อส่งถึงผู้เสียชีวิตถ้ารู้สึกคิดถึง รู้สึกเศร้าใจ ให้สวดมนตร์ ควบคู่กับการพูดให้ข้อคิดเตือนสติผู้เสียชีวิตจะไม่สบายใจได้ถ้าเราเสียใจมากไม่ดูแลตัวเอง

2 .รับฟังอย่างสนใจเมื่อผู้สูญเสียระบายในความรู้สึกผิด ให้กำลังใจและสะท้อนกลับเป็นช่วงๆถึงสิ่งที่ผู้ดูแลทำในสิ่งดีๆให้กับผู้เสียชีวิตเพื่อไม่ให้ ผู้สูญเสียไม่รู้สึกผิดมาก

ภรรยาที่เสียสามีด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจเฉียบพลัน “ถ้าพาเปิ้ลมาตั้งแต่มีอาการไม่ให้เปิ้ลไปอาบน้ำก่อนน่าจะทัน”

พยาบาล “แต่พี่มีสติมากนะคะและตัดสินใจถูกละคะที่หยุดรถ CPR พี่เขาเป็นระยะและพาพี่เขาแวะ รพ.ก่อน เป็นบางคนหรือเป็นตัวหนูองอาจทำได้ไม่ดีเท่าพี่นะคะ”

บุตรสาวที่สูญเสียมารดาด้วยโรคมะร็งตับ “ถ้าหนูสนใจในความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแม่อีกนิดคงตรวจพบมะเร็งได้เร็วกว่านี้”

พยาบาล “หนูลองทบท้วนดีๆนะคะอาการของแม่ไม่ค่อยชัดเจนหรือ ปล่าวคะ มีแต่อืดท้อง หนูไม่ผิดหรอกคะ”

3.ไปร่วมแสดงความเสียใจในงานศพ วัตถุประสงค์คือ การประเมินภาวะความเศร้าโศกจากการสูญเสีย

พ่อที่สูญเสียภรรยาไม่ถึงปีด้วยมะเร็งเต้านมต้องมาสูญเสียลูกชายอีกด้วยมะเร็งตับ “ เมื่อคืนภรรยามาเข้าฝันเขาบอกเขาจะเอาลูกไปดูแลเขาให้ผมดูแลลูกที่เหลืออีกคนตอนแรกผมรู้สึกแย่มาก แต่ถ้าผมเป็นอะไรไปอีกคนลูกชายคนเล็กจะทำอย่างไร ” แสดงว่าผู้สูญเสียปรับตัวได้

4.แต่กรณีในรายที่ปรับตัวไม่ได้หาผู้ดูแล ส่วนมากที่เจอบ่อยคือสามีที่สูญเสียภรรยาบ้างรายจะเสียชีวิตตามภรรยา จะให้ลูกหลานเพิ่มเวลาในการดูแลผู้สูญเสีย ทั้งเรื่องอาหาร ให้บุตร หลานสลับเปลี่ยนกันมาหาหรืออยู่เป็นเพื่อนผู้สูญเสียในวันหยุดพาผู้สูญเสียไปวัดเพื่อทำบุญให้กับผู้เสียชีวิตหรือพาไปเที่ยวไปพบผู้คนจะได้ไม่หมกมุ่นอยู่กับความเสียใจ เป็นการช่วยผู้สูญเสียและเป็นการช่วยให้บุตร หลานไม่เศร้าโศกไปด้วยเพราะต้องหาเวลาดูแลพ่อ จากประเด็นนี้ได้ข้อคิดจากสังคมชนบท เมื่อบ้านไหนมีผู้เสียชีวิตเพื่อนบ้านจะมาเที่ยวหาคู่ชีวิตของผู้ป่วยหรือมานอนเป็นเพื่อนเป็นเดือน

5.โทรศัพท์ติดตามหลังจากจากผู้ป่วยเสียชีวิต ณ 1 อาทิตย์ 1 เดือน เพื่อติดตามการปรับตัว ถ้าในรายที่ปรับตัวไม่ได้จะมีทีมเยี่ยมบ้านตามไปเยี่ยมบ้าน สามารถส่งปรึกษาจิตแพทย์ได้เลย

ผู้สูญเสียบางรายไปทุ่มเทในการปฏิบัติธรรมทำสมาธิอย่างจริงจัง หลังสวดมนตร์ประจำทุกวัน และ ได้ปฏิบัติธรรมกับทางโรงพยาบาลช่วงผู้ป่วยนอนใน โรงพยาบาล

ผู้สูญเสียบางราย เอาเวลาที่ว่างไปออกกำลังกายแทนเพื่อไม่ให้ไม่มีเวลาว่างทำให้น้ำหนักลดลง

การจัดการกับภาวะเศร้าโศกก็จะประสบความสำเร็จเตรียมความพร้อมแต่แรก ประเมินเป็นระยะ ให้คำแนะนำตามเหมาะสม หาผู้ดูแลผู้สูญเสียที่เหมาะสมจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้ผู้สูญเสีย

หมายเลขบันทึก: 600202เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2016 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2016 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท