แผนธุรกิจ Business Plan


วางแผนเป็น แก้ไขปัญหาได้ ก็สามารถทำให้ธุรกิจของคุณมีผลลัพธ์ที่ดียิ่งขั้น

“แผนธุรกิจ”

ผู้ประกอบการจำนวนมากยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของแผนธุรกิจว่าองค์ประกอบของแผนธุรกิจหรือสิ่งที่เรียกว่าแผนธุรกิจคืออะไรโดยจะพิจารณาหรือให้ความสำคัญแต่ลักษณะภายนอกตามที่ปรากฏ คือการมีลักษณะของเอกสาร (Document) หรืออยู่ในรูปของรายงาน (Report) ที่บรรจุข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆตามหัวข้อหรือโครงสร้างที่ระบุไว้

เช่น (บทสรุปผู้บริหาร, การวิเคราะห์ตลาดและอุตสาหกรรม, แผนการบริหารจัดการ, แผนการตลาด ,แผนการผลิต ,แผนการเงิน)ซึ่งในแต่ละส่วนของหัวข้อในโครงสร้างนี้ก็อาจจะมีหัวข้อปลีกย่อยออกไปมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ลักษณะธุรกิจ โดยถ้าตนเองกรอกรายละเอียดต่างๆได้ครบถ้วนตามหัวข้อเหล่านี้ก็น่าที่จะเรียกได้ว่าเป็นแผนธุรกิจที่ครบถ้วนเพียงพอแล้ว จึงทำให้ผู้ประกอบการมุ่งเน้นที่จะใส่รายละเอียดต่างๆให้ครบเป็นหลักและเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณาและการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ

ไม่ใช่แค่รู้แต่ต้องเข้าใจและให้ความสำคัญ

แต่เนื่องจากการที่ผู้ประกอบการหรือธุรกิจจำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการที่ธุรกิจของตนเองมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนธุรกิจขึ้น และต้องมีการดำเนินการต้องปรับปรุงและทบทวนอยู่โดยตลอดในแต่ละช่วงเวลาหรือในสภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงรวมถึงความเข้าใจที่ว่าการจัดทำแผนธุรกิจ เป็นเรื่องของธุรกิจหรือองค์กรขนาดใหญ่ๆที่มียอดขายต่อเดือนเป็นสิบๆล้านหรือเป็นร้อยล้านขึ้นไปที่สมควรจะจัดทำขึ้น โดยธุรกิจของตนเองที่เป็นเพียงแค่ SMEs มียอดขายเดือนละหลักหมื่นหรือหลักแสน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำแผนธุรกิจ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองเวลาและตนเองก็สามารถบริหารธุรกิจให้มีผลกำไรได้โดยไม่จำเป็นต้องมีแผนธุรกิจและก็ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อ จึงยังไม่ต้องทำในตอนนี้แต่ถ้าจะต้องจัดทำขึ้น ก็ต่อเมื่อต้องไปติดต่อขอสินเชื่อกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินเท่านั้น เนื่องจากมิฉะนั้นจะกู้เงินไม่ได้ ทำให้แผนธุรกิจจะถูกจัดทำขึ้นในลักษณะเฉพาะกาลหรือเฉพาะช่วงเวลาที่มีความจำเป็นต้องใช้เท่านั้น และมักจะมิได้นำแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจเลย

นอกจากเรื่องของการแสดงรายละเอียดในการวางแผนของธุรกิจและผลลัพธ์ของธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนเข้าใจว่าแผนธุรกิจที่ดีคือแผนที่แสดงรายละเอียดตามหัวข้อต่างๆให้ครบถ้วน และต้องเขียนให้มีผลประกอบการที่ดีเพื่อที่เมื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเห็นว่าธุรกิจของตนเองเป็นธุรกิจที่มีผลกำไร จะเป็นสิ่งช่วยให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อให้กับตนเอง ซึ่งอาจรวมถึงลักษณะของแผนธุรกิจในวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการร่วมลงทุน หรือเพื่อการแข่งขัน โดยใส่แต่รายละเอียดในด้านดีเกินจริง โดยเฉพาะในเรื่องประมาณการต่างๆเกี่ยวกับรายได้ หรือยอดขาย และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆให้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้ธุรกิจมีผลกำไร หรือผลตอบแทนในระดับสูง


แหล่งอ้างอิง : http://boc.dip.go.th/index.php?option=com_content&...

หมายเลขบันทึก: 600148เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2016 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2016 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท