หลักการพื้นฐานทางกฎหมายของการเปิดเสรีการค้าบริการ


หลักการตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการอาจจำแนกออกได้ดังนี้คือ

1.   พันธกรณีทั่วไปและข้อบังคับ(General Obligation and  Disciplines)

                  คือหลักการทั่วไปซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ผูกพันประเทศสมาชิกภาคีต้องปฏิบัติตามในทุกสาขาบริการและรูปแบบการให้บริการ ได้แก่                    

                  1.1  หลักการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง(Most Favoured-Nation Treatment:MFN)  หลักเกณฑ์พื้นฐานของหลักการนี้อยู่ในมาตรา2 วรรค1 ของ GATS  หลักการนี้ประเทศสมาชิกจะต้องปฏิบัติกับบริการและผู้ให้บริการจากประเทศสมาชิกอื่นๆอย่างเท่าเทียม  โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข(immediately and unconditionally)  นั่นคือการให้สิทธิพิเศษทางการค้าใดๆจะต้องกระทำอย่างไม่เลือกปฏิบัติ()  ภายใต้หลักการนี้  เมื่อประเทศสมาชิกให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศใด  ประเทศสมาชิกอื่นก็จะได้รับสิทธิพิเศษนั้นโดยอัตโนมัติ  ข้อสังเกตที่สำคัญคือข้อกำหนดเรื่องMFN  นั้นมีจุดประสงค์เพียงเพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติแต่ไม่เกี่ยวข้องกับระดับของการเปิดตลาดใดๆทั้งสิ้น  ไม่ว่าแต่ละสาขาของภาคบริการมีระดับของการเปิดเสรีเพียงใด  มาตรการต่างๆที่ใช้กับสาขานั้นๆจะต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นพิเศษ

                      1.2  หลักความโปร่งใส (Transparency)  ตามที่ระบุไว้ในมาตรา3 วรรค1  ของความตกลงGATS นั้น ประเทศสมาชิกทุกประเทศจะต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งทางด้านกฎหมาย กฎระเบียบ  (Laws and regulations)  ขั้นตอนการบริหารการควบคุม(Administrative guidelines)  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่างๆในกฎระเบียบ  รวมถึงความตกลงระหว่างประเทศที่อาจกระทบต่อ GATS แก่สาธารณะ  ประเทศสมาชิดจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งจุดบริการข้อมูล(National enquiry points)  เพื่อให้บริการข้อมูลแก่บริษัทเอกชนและรัฐบาลของประเทศสมาชิกอื่นเมื่อถูกร้องขอ  โดยจะต้องจัดตั้งจุดบริการข้อมูลภายในสองปีหลังจากความตกลง  มีผลบังคับใช้  อย่างไรก็ดีประเทศสมาชิกไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ  ถ้าการเปิดเผยนั้นมีผลขัดขวางการบังคับใช้กฎหมาย  ขัดแย้งกับผลประโยชน์สาธารณะ  หรือส่งผลกระทบทางกฎหมายต่อผลประโยชน์ทางการค้าของสถานประกอบการของรัฐหรือเอกชน                  

                1.3  หลักการเปิดเสรีแบบก้าวหน้าตามลำดับ (Progressive Liberalization) กำหนดให้มีการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการในทุก ๆ 5 ปี หลังจากความตกลง WTO มีผลใช้บังคับโดยการเปิดเสรีต้องคำนึงถึงระดับการพัฒนาของประเทศด้วย และเพื่อปฏิบัติตามหลักการนี้ การเจรจาการค้าบริการรอบใหม่ จึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2543             

                 2.  คำมั่นเฉพาะ(Specific commitments)               

                    2.1  การเข้าถึงตลาด(Market Access)  มาตรา16  วรรค 2  ได้ระบุถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึงตลาดที่ประเทศสมาชิกไม่สามารถที่จะบังคับใช้ถ้าไม่ได้ระบุไว้ล่วงหน้าในรายการคำมันเฉพาะ  ซึ่งมีด้วยกันทั้งสิ้น 6 มาตรการคือ                               

             1.  จำกัดจำนวนผู้ให้บริการโดยการให้โควตา  อำนาจผูกขาดผู้แทนจำหน่าย  หรือมาตรการทดสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ(Economic needs test)  ยกตัวอย่างเช่น  การจำกัดโควตาสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในต่างประเทศ  หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสัญชาติของผู้ให้บริการ  ซึ่งมองอีกแง่หนึ่งถือว่าเป็นโควตาที่เป็นศูนย์(Zero quota)                          

            2.  จำกัดมูลค่าธุรกรรม  หรือสินทรัพย์รวมของธุรกิจบริการโดยการให้โควตาหรือมาตรการทดสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ                               

            3.  จำกัดปริมาณในลักษณะของหน่วยการให้บริการ  หรือจำนวนรวมของผลผลิตของสินค้าบริการ  โดยการให้โควตา  หรือมาตรการทดสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ                     

           4.  จำกัดจำนวนรวมของบุคคลธรรมดา(Natural Person)  ที่จะเข้าทำงานในสาขาบริการต่างๆหรือจำกัดจำนวนของแรงงานที่ผู้ประกอบการบริการจะว่าจ้างได้  หรือการตัดสินใจว่าใครจำเป็นหรือเกี่ยวข้องกับบริการ  โดยการให้โควตา  หรือมาตรการทดสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ                    

            5.  มาตรการที่จำกัดลักษณะรูปแบบการจัดตั้งทางกฎหมาย(Legal entity)  หรือการร่วมทุนจากต่างประเทศ(Joint  venture)  ที่จะสามารถเข้ามาประกอบธุรกิจบริการ                           

         6.  จำกัดการเข้ามามีส่วนร่วมของทุนจากต่างประเทศในรูปของการจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นสูงสุดของชาวต่างชาติ  หรือจำกัดมูลค่ารวมของการลงทุนจากต่างประเทศ  ไม่ว่าโดยการลงทุนของปัจเจกบุคคล  หรือโดยรวมของชาวต่างชาติ                    

                  2.2  การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ(National Treatment)  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการขยายการเปิดเสรี  ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติกำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะต้องปฏิบัติต่อผู้ประกอบธุรกิจบริการจากประเทศสมาชิกอื่นในสาขาที่ระบุไว้ในรายการคำมั่นเฉพาะ  โดยให้การสนับสนุนไม่น้อยกว่าผู้ประกอบการของประเทศนั้นๆได้รับ  อย่างไรก็ดีประเทศสมาชิกสามารถใช้มาตรการที่เลือกปฏิบัตินั้นถูกระบุไว้ในรายการคำมั่นเฉพาะ            

 

หมายเลขบันทึก: 60001เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แวะมาทักทายน้องพลอยครับ
  • อ่านแล้วได้ความรู้ดี น่าจะเขียนก่อนสอบนะ   จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการสอบได้ด้วยครับ     

                          tombow_ani.gif

            baika_002.gif  baika_01.gif  baika_003.gif  baika_002_2.gif  baika_0003.gif

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท