DIY แก้ไขท่อน้ำอุดตัน




Unclog your drain with baking soda and vinegar






ปัญหาจุกจิกหลายอย่างภายในบ้านพัก/ห้องพัก
สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการสอบถาม
หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์
การมีของใช้ในครัวเรือนบางอย่างที่เก็บไว้ใช้งาน
จะช่วยแก้ไขปัญหาท่อน้ำอุดตัน
ซึ่งมักจะเป็นปัญหาอีกเรื่องหนึ่งที่มักจะพบเจอ



การใช้น้ำยาทำความสะอาดบางอย่าง
มักจะได้ผลดี/ผลร้ายในบางครั้ง
และมักจะมีผลกระทบคือ พิษตกค้างที่รุนแรง
หรือมีพิษภัยต่อสุขภาพ/สภาพแวดล้อม
ลองใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วย



1. เบกกิ้งโซดา 2 แก้ว
2. น้ำร้อน 4 แก้ว
3. น้ำส้มสายชู 1 แก้ว





ลำดับแรก เทเบกกิ้งโซดาลงไปก่อน 1-2 แก้ว
ลงในท่อน้ำทิ้งแล้วตามด้วยน้ำร้อน





รอสักครู่หนึ่ง ให้เบกกิ้งโซดาละลายตัวก่อน
แล้วราดน้ำส้มสายชูลงไปตาม





ถ้ามีจุกยางปิดฝาอ่างล้างจานหรืออ่างล้างหน้า
จะช่วยในการทำความสะอาดภายในได้เพิ่มขึ้น
แล้วรอสัก 5-10 นาที
จะเห็นฟองฟูฟ่องขึ้นมา
เพราะผลการทำปฎิกิริยาเคมี
ของเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู
จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ฟองอากาศที่เกิดขึ้นจะกระจายความร้อน
และลดอุณหภูมิของน้ำร้อนลง





ทำซ้ำอีกครั้งถ้าจำเป็น หรือเทเบกกิ้งโซดาแล้วตามด้วยน้ำส้มสายชู
โดยไม่จำต้องเทน้ำร้อนลงไปก่อนก็ได้ แต่จะมีควันฟุ้งจำนวนมาก



หลักการทำงาน






ที่มา http://goo.gl/2XCqIF



เบกกิ้งโซดา sodium bicarbonate (baking soda)
เมื่อผสมกับน้ำส้มสายชู vinegar
จะเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดฟองอากาศก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
NaHCO3 + CH3COOH —–> CO2 + H2O + CH3COO- + Na+
ผสมกับน้ำส้มสายชูที่แทรกซึมเข้าไป
ตามตะกอนเศษเล็กเศษน้อยข้างในท่อน้ำทิ้ง
กับสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์/สารอนินทรีย์บางประเภทได้
ส่วนน้ำร้อนจะช่วยทำการละลายไขมันอุดตันให้กลายเป็นไขมันเหลว
และ/หรือช่วยชะล้างขยะอุดตันให้ไหลทิ้งไปได้



หมายเหตุ

ถ้าใช้น้ำเย็นจะละลายเบกกิ้งโซดาไม่ค่อยได้ผล
มักจะจับตัวเป็นผงหรือเป็นก้อนไม่ละลายทั้งหมด
อุณหภูมิของน้ำร้อนมีผลต่อการทำละลายเบกกิ้งโซดา
ส่วนควันที่เกิดจากน้ำส้มสายชูทำปฏิกิริยากับเบกกิ้งโซดา
จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ไม่ควรสูดดมจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกาย

ตามมาตรฐาน มอก. ท่อและอุปกรณ์พีวีซี
จะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 27 องศาเซลเซียส
ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นความสามารถในการรับแรงดันจะลดลง
และในเรื่องของการทนกรดและด่างนั้น
ต้องดูที่ความเข้มข้นของสารเคมี
ว่าเข้มข้นขนาดไหน มีความเป็นกรดและด่างเท่าไร

ที่มา http://goo.gl/qDXVsR


พฤติกรรมการใช้น้ำตามบ้านพัก/ห้องพัก
คนทั่วไปที่ชอบอาบน้ำอุ่น
น้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส
และบางครั้งท่อน้ำในช่วงฤดูร้อน
จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส
โดยทั่วไปแล้วท่อพีวีซีจะรับแรงดันได้คือ

ถ้าน้ำร้อนมีอุณหภูมิไม่เกินกว่า 60 องศาเซลเซียส
ท่อพีวีซีชั้นคุณภาพ 5 จะรับแรงดันได้ 5 บาร์จะลดเหลือ 1.2 บาร์
ท่อพีวีซีชั้นคุณภาพ 8.5 จะรับแรงดันได้ 8.5 บาร์จะลดเหลือ 2.0 บาร์
ท่อพีวีซีชั้นคุณภาพ 13.5 จะรับแรงดันได้ 13.5 บาร์จะลดเหลือ 3.1 บาร์
ส่วนการลุกไหม้ติดไฟก็ต้องสูงกว่า 455 องศาเซลเซียส

ในบ้านพัก/ห้องพักที่ต่อท่อพีวีซีสีฟ้ากับเครื่องทำน้ำอุ่น
ที่อุณหภูมิของน้ำไม่เกินกว่า 70 องศาเซลเซียส
จึงต้องใช้ท่อพีวีซีสีฟ้าชั้นคุณภาพ 13.5
ที่รับแรงดันได้ 13.5 บาร์จะลดเหลือ 3.1 บาร์
การติดตั้งท่อน้ำขนาดคุณภาพที่ลดลงเหลือ 3.1 บาร์
เป็นการเผื่อเหลือเผื่อขาดในระยะยาว
หรือหลักการความปลอดภัยเบื้องต้น

ส่วนมากแรงดันน้ำจากท่อประปา
ที่ต่อเข้ามาภายในบ้านพักไม่ควรเกิน 4 บาร์
และแรงดันน้ำในท่อน้ำไม่ควรเกิน 2 บาร์
แต่น้ำที่ใช้กันภายในอาคารส่วนมากแล้ว
แรงดันน้ำมักจะลดลงจากการจ่ายน้ำของการประปา
น้ำที่ไหลผ่านมิเตอร์มาตรวัดน้ำประปา ประตูน้ำปิดเปิด
ตัวลดแรงดันน้ำ ความยาวท่อภายในบ้าน
จนสุดท้ายแล้วมักจะไม่ค่อยเกิน 2 บาร์

การใช้ท่อพีวีซีชั้นคุณภาพ 8.5 ที่รับแรงดันได้ 8.5 บาร์
มักจะใช้ตามมาตรฐานของการก่อสร้างทั่วไป
ที่ต้องการคุณภาพกับการใช้งานระยะยาว
แต่ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายที่มากกว่า
ท่อพีวีซีชั้นคุณภาพ 5 ที่รับแรงดันได้ 5 บาร์



ที่มา http://goo.gl/HP4cnE



ส่วนถังพักน้ำบนดาดฟ้าบ้านพัก
หรืออาคารหอพักหรืออพาร์ทเมนต์ให้เช่า
ที่พักด้านบนสุด น้ำมักจะไหลไม่แรง
จึงมักจะเห็นว่ามีการสร้างที่วางถังน้ำด้านบนให้สูงขึ้น
ควรสร้างให้สูงกว่า 7.5 เมตร
เพราะแรงดันน้ำ 1 บาร์จะอยู่ที่ความสูง 10 เมตร

ดังนั้นถ้าความสูงที่วางถังน้ำด้านบน 7.5 เมตร
รวมกับระหว่างชั้นอาคารที่ส่วนมากมักจะสูง 2.5 เมตร
จะได้ระดับความสูงที่ 10 เมตร
ทั้งนี้ยังไม่รวมความสูงของถังน้ำ
ที่มักจะสูงกว่า 1 เมตรขึ้นไป
แรงดันน้ำจึงตกอยู่ที่ 1 บาร์อย่างต่ำ

ส่วนชั้นล่าง ๆ มักจะไม่มีปัญหาเรื่องแรงดันน้ำ
เพราะความสูงของอาคารรวมกับถังน้ำด้านบน
ที่ต่อท่อน้ำลงมาใช้งานตามจุดต่าง ๆ ด้านล่างอาคาร


แต่ทั้งนี้อาคารบางแห่งมีข้อจำกัด
ด้านโครงสร้างอาคารหรือความสูงของอาคาร
เช่น ใกล้บริเวณสนามบิน พื้นที่อนุรักษ์บางแห่ง
ก็จะใช้มอเตอร์ยกระดับแรงดันน้ำ Booster Pump แทน
เพื่อยกระดับแรงดันน้ำในท่อ
ส่วนมากจะเห็นถัง Pressure Tank
แต่ต้องรับภาระค่าไฟฟ้า
กับการบำรุงรักษาในระยะยาว

การประปาในเขตเมืองใหญ่
ตอนนี้จะใช้มอเตอร์ยกระดับแรงดันน้ำสลับเวลาใช้งาน
ในการยกระดับแรงดันน้ำในท่อประปา
แทนการสร้างถังสูงของการประปา
ที่แต่ก่อนมักจะพบเห็นกัน

แต่ในเขตชนบท/บ้านนอก
การจ่ายน้ำประปาจากถังสูง
ยังมีการใช้งานกันทั่วไป
เพราะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ประหยัด
กับการบำรุงรักษาง่ายกว่า
ระบบมอเตอร์แรงดันสูง


การใช้งานท่อน้ำทิ้งภายในบ้านพัก/ห้องพัก
มักจะใช้ท่อน้ำทิ้งทำด้วยพีวีซี(สีฟ้า)
ต่อลงไปที่ท่อระบายน้ำรวม
ก่อนไหลออกคูน้ำภายนอก
มักจะใช้น้ำร้อนเพียงชั่วครั้งชั่วคราว
หลังจากการติดตั้งท่อน้ำทิ้งเสร็จแล้ว
มักจะไม่มีการตัดต่อท่ออีก

โครงสร้างภายในท่อน้ำทิ้ง
จะมีปัญหาในเรื่องแรงดันไม่มากนัก
หรือปัญหาเรื่องข้อต่อ/ข้องอ/กาวทาท่อน้ำ
นาน ๆ ครั้งจึงมักจะเจอสักราย
ทึ่ต้องทำการรื้อ/ซ่อมแซม

แต่ควรใช้/หางูเหล็กเจาะ/ไชท่อน้ำทิ้งก่อน
ถ้าไม่ได้จริง ๆ แล้วจึงค่อยรื้อ/ทุบออกเพื่อซ่อมแซม
ปัญหาส่วนมากมักจะมาจาก
ตอนติดตั้งระบบท่อน้ำทิ้งแรกเริ่ม
คุณภาพท่อน้ำ ข้อต่อต่าง ๆ กาว และช่างประปา

แต่ถ้ามีการซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงในภายหลัง
ถ้าเป็นไปได้ควรพิจารณาข้อมูล
เพิ่มเติมจากวิดีโอข้างล่างนี


Did You Know...? คุณรู้หรือไม่ อุณหภูมิส่งผลต่อท่อ PVC อย่างไร?


เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/CJybF4

http://goo.gl/uaxsCs บทความเรื่องอื่นของ Lara Lopes



http://goo.gl/bQok6l สนุกกับเบคกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชู


http://goo.gl/4rfn36 ประโยชน์แบกกิ้งโซดา (Baking Soda) 62 ข้อ


http://goo.gl/AkIhm0 น้ำส้มสายชูสารพัดประโยชน์ใกล้ตัว



ภาพตัวอย่างสินค้าที่มีการขายในท้องตลาด



หมายเลขบันทึก: 599896เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2016 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2016 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท