การสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา


การสอบสวนผู้ถูกกล่าวจะต้องมีการแจ้งสิทธิหรือไม่?

เนื่องจากในวันนี้ ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนวินัยของข้าราชการ โดยนัดสอบผู้ถูกกล่าวหา เพื่อจะได้แจ้งข้อกล่าวหา และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ถูกกล่าวได้รับทราบ

ก่อนที่จะมีการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา ประธานคณะกรรมการจะต้องมีหนังแจ้งเป็นทางการ ให้กับผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบเกี่ยวกับ วัน เวลา และสถานที่ที่จะทำการสอบสวน ตลอดจนข้อกล่าวหาที่ถูกกล่าวหามีอะไรบ้าง เพื่อผู้ถูกกล่าวจะได้มาให้การได้ถูกต้องตามประเด็นที่ถูกกล่าวหา

นอกจากนี้ในหนังสือดังกล่าวจะต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบด้วยว่ามีสิทธิอย่างไร ซึ่งการสอบสวนทางวินัยเป็นการพิจารณาทางปกครองอย่างหนึ่ง ที่คู่กรณีต้องมาปรากฎตัวต่อเจ้าหน้าที่ และคู่กรณีมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการสอบสวนของคณะกรรมการได้

ดังนั้น ในกระบวนการสอบสวนดังกล่าว คณะกรรมการlสอบสวนจะต้องมีการแจ้งสิทธิดังกล่าวด้วย หากไม่ได้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวได้รับทราบ จะเป็นการดำเนินการสอบสวนที่มิชอบ ส่งผลต่อความสมบูรณ์ในการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยตามมา

ในการสอบสวน ก่อนจะเริ่มดำเนินการ คณะกรรมการจะต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกร้องได้รับทราบว่า ผู้ถูกกล่าวหา ได้กระทำการอย่างใด เมื่อใด อย่างไร และสรุปพยานหลักฐานเท่าที่มีให้ทราบ

เมื่อคณะกรรมการสืบสวนได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้สอบถามผู้กล่าวหาว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ อย่างไร และแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบว่า มีสิทธิที่จะอ้างบุคคลมาเป็นพยานได้อีกด้วย เพื่อเป็นการสนับสนุนคำให้การของตนเอง

คณะกรรมการสอบสวนทางวินัย หากทำผิดขั้นตอน และไม่เป็นไปตามที่กฎหมาย ระเบียบ หรือ กฎ ก.พ.กำหนด ก็จะทำให้การสอบสวนเสียไป และอาจจะต้องมาเริ่มดำเนินการใหม่เสียอีก จะทำให้เกิดการ...เสียของได้!!!!






คำสำคัญ (Tags): #การสอบสวน
หมายเลขบันทึก: 599844เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2016 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2016 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท