การจัดทำตัวชี้วัด (๒): การกำหนดตัวชี้วัดระดับองค์กร


เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ได้มีโอกาสเข้าร่วมในการกำหนดตัวชี้วัดระดับองค์กร และระดับสำนักงาน ของหน่วยงานภายในสังกัด โดยกำหนดประชุมหารือกับหน่วนงานเจ้าภาพแต่ละหน่วยงาน

การจัดทำตัวชี้วัดฯในปีนี้จะล้าช้ากว่าทุกปี เนื่องจากติดขัดในเรื่องการของบประมาณ และขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้าง จึงทำให้การเริ่มดำเนินการล้าช้ากว่าทุกปี

การดำเนินการ ในเบื้องต้น จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะอนุกรรมการกำหนดตัวชี้วัด และคณะทำงานกำหนดตัวชี้วัดและติดตามการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับสำนักงานฯก่อน ซึ่งจะเข้ามาเกี่ยวข้อง และกำกับการดำเนินการ โดยมีสำนักงานพัฒนาระบบบริหาร เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน

ก่อนที่จะมีการยกร่างตัวชี้วัดต่าง ๆ คณะทำงานจะต้องมีการประชุมหารือกับหน่วยงานเจ้าภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือในเบื้องต้น ทั้งนี้โดยพิจารณาจากแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี นอกจากนี้ยังจะพิจารณาจากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรด้วย

จากการประชุม คณะที่ปรึกษาจะพิจารณาจากแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี ของสำนักงานฯ โดยจะสอบถามเกี่ยวกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมา หากไม่ได้รับการจัดสรร จะสอบถามเกี่ยวกับแผนงาน/โครงการใดที่สำนักงานจะนำมาเป็นตัวชี้วัด ทั้งนี้แผนงาน/โครงการดังกล่าวจะต้องเป็นภารกิจหลัก หรือภารกิจที่จะส่งผลต่อการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เป็นสำคัญ

นอกจากนี้ยังได้หารือเกี่ยวกับตัวชี้วัดของปีที่ผ่านมา มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรบ้าง ผลการดำเนินการที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ประสบผลสำเร็จหรือไม่ และหากประสบผลสำเร็จ จะมีการเพิ่มเป้าหมายเพื่อเป็นการพัฒนาและท้าทายขึ้นอีกหรือไม่

หลังจากได้หารือจนได้ข้อยุติแล้วก็จะนำมาพิจารณา เพื่อจัดทำ(ร่าง) กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ และร่างตัวชี้วัดยกร่างตัวชี้วัด ขึ้นมาแล้วนำมาพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการกำหนดตัวชี้วัดฯอีกครั้งหนึ่ง

ในการประชุมหน่วยงานแรกในวันนี้ ตามแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี มีโครงการจำนวนหลายโครงการ แต่ปรากฎว่าโครงการดังกล่าว ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จึงทำให้การกำหนดตัวชี้วัดฯได้ยาก หากจัดทำเป็นตัวชี้วัดแล้ว จะทำให้การขับเคลื่อนไม่ได้ตามที่เป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้งานที่ปฏิบัติเป็นประจำบางส่วนที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นภารกิจหลักก็ไปเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทำให้การขับเคลื่อนเป็นไปได้ยาก เพราะมีหลายปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

การขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญซึ่งเป็นงานพัฒนาองค์กร หากขาดเสียซึ่งงบประมาณ จะทำให้การขับเคลื่อนเป็นไปได้ยาก เพราะงานดังกล่าวเป็นงานที่จะต้องพัฒนางานประจำมาเป็นงานในเชิงการแข่งขันกับหน่วยงานอื่น ที่มีภารกิจเช่นเดียวกัน!!!


ประชุมหารือกับหน่วยงานเจ้าภาพหลัก

คำสำคัญ (Tags): #ตัวชี้วัด
หมายเลขบันทึก: 599840เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2016 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท