อัตราส่วนทางการเงิน




การดำเนินธุรกิจในรอบระยะเวลาที่ผ่านมามีทั้งประสบความสำเร็จ และล้มเหลว โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุดจะต้องประเมินประสิทธิภาพของผู้บริหาร โดยจะใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข้ข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และเพื่อเป็นแนวทางที่จะพัฒนาในอนาคตของธุรกิจ โดยจะใช้อัตราส่วนทางการเงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน เพื่อประเมินสถานะทางการเงินของธุรกิจ โดยเป็นการนำตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินมาดำเนินการเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น อุตสาหกรรม หรือเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของในอดีตที่ผ่านมา เพื่อช่วยให้ผู้วิเคราะห์ทราบถึง แนวโน้ม และความเสี่ยงของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลที่จะนำมาใช้เปรียบเทียบงบการเงินของแต่ละธุรกิจ และแแต่ละปีเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้นมีทั้งหมด 3 ประการ ดังนี้ การเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกัน คือเป็นการวิเคราะห์ของธุรกิจกับอีกธุรกิจหนึ่งที่มีลักษณะการดำเนินงานที่คล้ายกัน จะเปรียบเทียบในช่วงระยะเวลาเดียวกัน การเปรียบเทียบกับเป้าหมาย คืนเป้าหมายที่ธุรกิจได้กำหนดไว้แล้วตั้งแต่แรก เช่น บริษัทกำหนดเป้าหมายว่า กำไรขั้นต้นของบริษัทจะไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 ในแต่ละปีเมื่อครบกำหนดระยะเวลาหากผลลัพธ์ที่ได้ปรากฏว่าบริษัทได้กำไรขั้นต้นไม่ถึง ร้อยละ 25 ผู้บริหารจะต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเหตุใดจึงไม่เป็นไปตามเป้าไว้ที่ได้วางไว้ เพื่อหาแนวทางแก้ไขในปีถัดไป และสุดท้าย การเปรียบเทียบกับแนวโน้ม เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในอตีด มาเปรียบเทียบกับข้อมูลการวิเคราะห์ในปัจจุบันเพื่อนำมาเป็นข้อมูลเพื่อวางแผนสำหรับอนาคตว่าควรจะดำเนินธุรกิจไปในแนวทางอย่างไร
อาจจะให้ความหมายในคำว่า อัตราส่วนทางการเงิน หมายถึงการเปรียบเทียบข้อมูลหรือการเปรียบเทียบตัวเลข 2 รายการ โดยจะเป็นตัวเลขที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงิน หรืองบกำไรขาดทุน แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ด้านหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง ใช้ความคล่องตัวทางการเงินของธุรกิจเพื่อประเมินความสามารถด้านสินทรัพย์หมุนเวียน ว่าจะสามารถมี เพียง พอที่จะชำระหนี้สินหมุนเวียนได้มากน้อยเพียงใด
2. อัตราส่วนวัดสภาพหนี้สิน เพื่อให้เห็นถึังประสิทธิภาพในการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ประกอบไปด้วย การก่อหนี้สินและการออกทุน เรือนหุ้น
3. อัตราส่วนวัดความสามารถทำกำไร เป็นอัตราส่วนที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพทางด้านรายได้ให้กับธุรกิจ โดยเปรียบเทียบ กำไรขั้น ต้น กำไรสุทธิ กับยอดขาย
4. อัตราส่วนความคุ้มครอง เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้สิน ประเภทดอกเบี้ยจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน และถือ เป็น ส่วนที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อกำไรที่เปลี่ยนแปลงไป

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าอัตราส่วนทางการเงิน มีความสำคัญมากในส่วนของการตัดสินใจที่จะกำหนดแนวทาง ในการดำเนินงานของธุรกิจ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจ อีกทั้งยังรวมไปถึงปัจจัยในหลายๆ ด้านที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ
หมายเลขบันทึก: 599638เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2016 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2016 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท