ชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอน..ตอน..ประเทศอินเดีย...(อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์)


ตอนที่๑...เรื่อง เมืองสำคัญที่ปรากฏใน

ชินกาลมาลีปกรณ์

พระภิกษุล้านนาท่านสร้างชื่อ

อันเลื่องลือบอกเล่าชาวสยาม

รจนาชินกาลมาลีปกรณ์งดงาม

กาลก่อนพระเจ้าตรัสรู้พิสดารอย่างไร


ว่าด้วยพุทธกิจเขียนไว้โลกได้รู้

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ.ที่ไหน

จาก อินเดีย ศรีลังกา พม่ามาสู่ไทย

บอกเวลา สถานที่ไว้ชัดเจน


สู่เส้นทางสำคัญเมืองล้านนา

มีหลายเมืองมาให้มองเห็น

เชียงแสน เชียงราย เปิดประเด็น

ลำพูน แพร่ น่าน เช่น น่าสนใจ


๑.ประเทศอินเดีย

๑.๑.นครราชคฤห์

อินเดียแคว้นมคธสมัยพุทธกาล

พระเจ้าพิมพิสารครองเมืองผู้เลื่อมใส

ราชคฤห์เมืองหลวงระบือไกล

เกี่ยวข้องพุทธศาสนามากกว่าใครจงจดจำ


พระพุทธเจ้าและพระสาวกที่ปรากฏ

สถานที่กำหนดมีให้เห็นอย่างเช่นถ้ำ

สุกรขาตาที่พระสารีบุตรบรรลุธรรม

ถ้ำสัตตบรรณที่ทำสังคายนา(ครั้งแรก)


ยังมีพระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ

สิ่งควรพูดเวฬุวันวัดแรกของศาสนา

แต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรูไม่นำพา

เปลี่ยนราชคฤห์เกือบเป็นป่าชาวพุทธแสวงบุญ


พุทธองค์ทรงเสด็จคืนเดียว ๓๐๐ โยชน์

แล้วทรงโปรดบรรพชาเพื่อเกื้อหนุน

ศึกษาพระศาสนาเพื่อค้ำจุน

สะสมด้วยบุญด้วยใจที่ศรัทธา


ทรงบรรพชาที่ฝั่งริมน้ำอโมมานที

ที่สวนมะม่วงนุปิยอัมพวันเจ็ดวันพอดีว่า

ชินกาลมาลีปกรณ์เขียนเล่าความโปรดตามา

ข้ามอสังคคงคาในวันเดียว


ผ่านเมืองทั้งสามมีดังนี้

กบิลพัสด์ เวสาลีที่ข้องเกี่ยว

ตามด้วยสาวัตถีเมืองนี้เชียว

๓ooโยชน์เสด็จคืนเดียวบรรพชา


๑.๒.เมืองพาราณสีหรือวาราณสี

เมืองหนึ่งในแคว้นกาสีสมัยพุทธกาล

อยู่อินเดียยาวนานคือนครพาราณสี

หนึ่งในเจ็ดเมืองศักดิ์สิทธิ์โลกรู้ดี

๔,๐๐๐ ปีลือนามพราหมณ์และเชน


๑.๓. เมืองกุสินารา

เมืองกุสินาราหนึ่งในสี่ สังเวชนียสถาน

ที่สาลวโนทยานหรือป่าไม้

พระพุทธเจ้าปรินิพพานลงไป

สงฆ์สาวกน้อมใจถวายพระเพลิงที่..กุสิรินารา..


ชินกาลมาลีปกรณ์เขียนเมืองกุสินาราไว้หลายครั้ง

ว่ายังมีมัลลกษัตริย์เลื่อมใสพระศาสนา

ถวายพระเพลิงสรีระพระศาสดา

พระบรมสา-รีริกธาตุ๑๖ทะนาน(เล็ก)


๒. โบราณสถานในประเทศอินเดีย

๒.๑.เชตวันวิหาร

จะขอกล่าว เล่าถึง โบราณสถาน

มีมานาน หลายเรื่อง น่าศึกษา

ควรจดจำ ความสำคัญ ให้ติดตา

พุทธศาสนา ความเป็นมา มีอย่างไร


ธรรมเนียม สมัยพุทธกาล การสร้างวัด

พระเจ้าพิมพิสาร ทรงปฎิบิติ อย่างเลื่อมใส

ถวายวัดเวฬุวัน อุทยาน ยาวนานไกล

เป็นวัดแห่งแรก รู้ไว้ สมัยพุทธกาล


โบราณสถาน อีกวัด ที่ควรรู้

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้สร้างถวาย มาไขขาน

ด้วยเงิน ๑๘โกฏิต เพื่อสร้าง วัดพระเชตะวัน

เป็นตำนาน พุทธศาสนา อันยาวไกล


พระพุทธเจ้าพร้อมหมู่เหล่าคณะสงฆ์

ทรงตกลงจำพรรษาไม่ไปไหน

๑๙พรรษามีคัมภีร์พุทธศาสนา อย่างมากมาย

ปัจจุบัน บูรณะไว้ เชิญแวะชม


ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงเชตะวัน ไว้เพียงว่า

พุทธองค์ จำพรรษา ด้วยเหมาะสม

ออกเดินทางจาก ตำบลเวฬุวคามกะ เหล่าสงฆ์กับพระบรม

คนชื่นชม กราบไหว้ ด้วยยินดี


๒.๒.วัดเวฬุวันวิหาร(วิหารเวฬุวัน)

สิ่งที่ชาวพุทธ ทั่วโลก ควรรู้ไว้

ควรใส่ใจ ประวัติ พุทธศาสนา

วัดแห่งแรก โบราณ แต่นานมา

มีชื่อเรียกว่า วัด เวฬุวัน


พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

พระเจ้าพิมพิสารถวายอุทธยานเพื่อสร้างสรรค์

เปลี่ยนจากสวนไผ่กลายเป็นวัดเวฬุวัน

เป็นเรื่องเล่ากันเป็นตำนานสืบต่อมา


คือที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์

แก่พระสงฆ์สาวก๑,๒๕๐ รูปนั่นแหละหนา

เป็นพระธรรมทูตประกาศตัวแทนพระศาสดา

เป็นที่มาวันมาฆบูชาในชินกาลมาลีปกรณ์


ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงเวฬุวันวิหารเอาไว้ว่า

มหาโมคคัลลา บรรลุเป็น พระอรหันต์ก่อน

พระสารีบุตรมีเรื่องกิจสงฆ์มากแน่นอน

สำเร็จเป็นพระอรหันต์ตอนกลางเดือน(มาฆะ)เพ็ญ


พระศาสดาเสด็จประทับท่ามกลางภิกษุ

ประทานอัครมหาสาวกทั้งคู่อยู่ให้เห็น

พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ทรงร่มเย็น

พระศาสดาทรงเป็นองค์ประธาน(ประชุมสาวกประกอบด้วยองค์ ๔)


๒.๓.วิหารปุพพาราม(วัดบุพพารามมหาวิหาร)

มีเรื่องเล่าเนื้อความแต่นานมา

ว่ามีนางวิสาขาเศรษฐีธิดาผู้เลื่่อมใส

ขายสมบัติมีค่ากล่าวขานไกล

มีราคามากมายด้วยยินดี


เพื่อสร้างวัดบุพพารามมหาวิหาร

ตั้งแต่บรรพกาลทางใต้นครสาวัตถี

มีค่ามากถึง๙ล้านกหาปนะพอดี

นางยินดีขายสมบัติด้วยศรัทธา


จนได้รับการยอมรับการยกย่อง

นางผู้ผุดผ่องเรื่องบุญทางศาสนา

ตำนานเขียนเล่ากล่าวขานมา

คือนางวิสาขากุลสตรี


ว่าเป็นผู้มีบุญ ๓ ปราการ

๑. กล่าวขานคือธิดาเศรษฐี

๒. มีเทวทานิยสาระสามี

ที่ตามใจนางทันทีทุกประการ


ข้อ๓นางวิสาขานำเครื่องประดับไปขาย

สร้างวัดถวายจนได้รับการกล่าวขาน

เป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาครั้งบรรพกาล

เพราะสร้างวัดครั้งนั้นชื่อ..บุพพาราม..


ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงวิหารปุพพารามเอาไว้ว่า

องค์ศาสดาประทับที่ไหนใคร่ไต่ถาม

๒๐ปีที่ประทับนครราชคฤหโปรดติดตาม

คืออาราม วิหารเชตวัน และที่ปุพพาราม


๒.๔.วัดวาลิการาม

การประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๒

จะต้องมีวัตถุ ๑๐ ประการตามที่เขียน

เพื่อกำจัดเสี้ยนหนามพระธรรมด้วยความเพียร

เพื่อขจัดคำติเตียนให้หมดไป


พระเถระเลือกสรรเหล่าภิกษุ

ที่บรรลุพระไตรพระปิฏกเอาใจใส่

ปฎิสัมภิทา๗๐๐ องค์จงรู้ไว้

มลทินศาสนาหมดไปรวบรวมธรรม


รวมความรู้ทางธรรมเพื่อศาสนา

มีพระเจ้ากาฬาโสกเป็นผู้อุปถัมภ์

ประชุมธรรมในวัดวาลิการาม

ทรงกระทำนานอยู่ถึง๘ เดือน


๒.๕.วัดอโสการาม

วัดอโสการามอยู่ในแคว้นปัฏนา

ที่ทำตติยสังคายนาทางศาสนาท่านว่าไว้

ปัจจุบันมีให้เห็นเพียงเสาหินอาคารใหญ่

เพราะโบราณสถานส่วนใหญ่จมใต้ดิน


พระเจ้าอโศกท่านทรงสร้าง

ปัจจุบันราร้างเหลือแต่แค่เสาหิน

คนทอดทิ้งโบราณสถานเลยสูญสิ้น

เพราะส่วนใหญ่จมดินแต่นั้นไป


ทางการอินเดียไม่ประสงค์จะขุดค้น

กลัวกระทบบ้านเรือนคนที่สร้างใหม่

สิ่งศักดิ์สิทธิ์เลยสูญค่าน่าหมดสิ้นไป

ทั้งที่ใช่ เคยเป็นที่ ทำสังคายนา(พุทธศาสนาครั้งที่๓)


ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงอโสการามด้วยความนี้

ว่ามีพวกเดียร์ตัวดียอมบวชในพระศาสนา

ชี้แจงมีอุโบสถ สังฆกรรม ที่ทำมา

ภิกษุล้วนรู้จึงไม่มาร่วมสังฆกรรม(วัดอโสการามขาดอุโบสถสังฆกรรมถึง ๗ ปี)


หมายเลขบันทึก: 599601เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2016 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2017 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท