การพัฒนาชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานในงานช่างไม้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”


ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานในงานช่างไม้ ระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”

ผู้วิจัย : มานพ สารสุข , โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” อำเภอเมือง จังหวัด

สุรินทร์ ปีการศึกษา 2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการด้านการพัฒนาทักษะในงานไม้และลักษณะของชุดฝึกทักษะที่นักเรียนต้องการเรียน 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะ และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้ชุดฝึกทักษะ ที่สร้างขึ้น โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการด้านการพัฒนาทักษะในงานไม้และลักษณะของชุดฝึกทักษะที่นักเรียนต้องการเรียน แหล่งข้อมูลคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการเนื้อหาการเรียนรู้และลักษณะของชุดฝึกทักษะในวิชางานไม้ที่ต้องการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (Percentage)

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ ผู้วิจัยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างเป็นชุดฝึกทักษะและแผนการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม จากนั้นนำไปทดลองใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขและนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ ชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานในงานช่างไม้ แบบประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชางานช่างไม้และแบบประเมินความเหมาะสมแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และการหาประสิทธิภาพโดยการใช้สูตร /

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือในวิชางานช่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 29 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานในงานช่างไม้ แบบประเมินผลงานนักเรียนและแบบประเมินทักษะการใช้เครื่องมือในงานช่างไม้ก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (Percentage) และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent Sample)

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้ชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานในงานช่างไม้ แหล่งข้อมูล คือ นักเรียนเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()

ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนต้องการพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานในงานช่างไม้ เกี่ยวกับ เครื่องมือวัด เครื่องมือตัด เครื่องมือขัดและตกแต่งผิวไม้ เครื่องมือเจาะ เครื่องมือประกอบโครง และต้องการให้จัดกิจกรรมการฝึกการเคลือบผิวชิ้นงานไม้ นักเรียนต้องการประดิษฐ์ที่วางดินสอ ปากกาและ ตู้แขวนจากไม้อัด ส่วนด้านลักษณะของชุดฝึกทักษะนักเรียนมีความต้องการในระดับมากขึ้นไปทุกรายการ

2. ชุดฝึกทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานในงานช่างไม้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” ที่สร้างขึ้นมีจำนวน 7 ชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.04 /81.39 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

3. นักเรียนมีคะแนนทักษะการปฏิบัติการใช้เครื่องมือพื้นฐานในงานไม้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนพึงพอใจต่อด้านการจัดเนื้อหาการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

หมายเลขบันทึก: 599511เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2016 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2016 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท