คุณอำนวย R2R จากหัวใจผู้นำทางการพยาบาล (ตอนที่ ๑) BAR


กำหนดการสองวันในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ...สำหรับการบ่มเพาะคุณอำนวย R2R ในกลุ่มผู้นิเทศน์ทางการพยาบาล หัวหน้าและรองหัวหน้าหอผู้ป่วย...

เป็นมิติใหม่เิดรับทศวรรษที่สองของ R2R โรงพยาบาลยโสธร ...

สำหรับข้าพเจ้าแล้วถือว่า ...เป็นความท้าทายมาก

ซึ่งโดยส่วนใหญ่ เรามักจะพัฒนาคุณอำนวยมาจาก ...ผู้ที่มีใจ จิตอาสา รักการพัฒนา ...และสนใจนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการพัฒนางานประจำ

แต่ครั้งนี้...มิติเปลี่ยนไป เราเชิญผู้นำทางการพยาบาลทุกท่าน มา...จุดประกาย สร้าง Inspiration

ก่อเกิดแรงบันดาล + องค์ความรู้ + ประสบการณ์ที่ทุกท่านมี...มาเป็นพลังของการขับเคลื่อนองค์กร

ทีแรกข้าพเจ้าตั้งว่า ...จะทำ workshop

แต่มาใคร่ครวญ...คิดว่าไม่เหมาะ ข้าพเจ้าสนใจที่จะดึง Tacit Knowledge ที่มีในหัวหน้าทุกคนมาต่อยอดเกิดการสร้างความรู้ผ่านกระบวนการ Share&Learning

ปรากฏการณ์นี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล และรองหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลไม่เปิดไฟเขียวให้เราทำ

ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการ ...

เราร่วมกันทำ BAR (Before Action Review)

ความคาดหวัง

.....

"ในความรู้สึกของข้าพเจ้า ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก R2R เป็นเรื่องยากมาก

ถามว่าอยากทำไม? แรกอยากทำแต่ไม่ค่อยมีความรู้ เคยอบรมแต่ทำไปครึ่งหนึ่งแล้วท้อใจ ทำไมยากจังเลย...หยุดไป แต่ก็ดีใจกับพี่ๆ น้องๆ ชาว รพ.ยโสธรที่เสนอแล้วได้รางวัลเกิดฮึดขึ้นมาอีกว่า "อยากทำ" แต่ก็ติดที่ว่าไม่มีเวลา แต่เป็นคำตอบที่เราไม่ควรตอบว่า ไม่มีเวลา เพราะทุกคนมีเวลาเท่ากัน

สรุป...อยากทำให้ประสบความสำเร็จในเรื่องของตนเองมีงาน R2R ที่ทำใน ward ของตนเอง โดยสามารถนำไปใช้ใน ward ได้ดี"

และเมื่อสกัดเนื้อหาของการทำ BAR ออกมา...สรุปได้ว่า

  • จัด step การทำงานอย่างเป็นระบบ เกิดความคิดเชิงระบบ
  • มองปัญหาออก บอกคนอื่นได้ สามารถเป็นพี่เลี้ยงในหน่วยงานได้
  • พัฒนาความรู้และทักษะ
  • พัฒนางานที่ทำในหน่วยงานให้ดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน
  • ทำง่ายและสำเร็จ
  • มีเจตคติที่ดีกับ R2R มองว่าง่าย
  • ต้องการให้มี R2R ทุกหน่วยงาน
  • อยากทำ R2R อย่างน้อย 1 เรื่อง
  • ทุกหน่วยงานได้ทำ R2R
  • เข้าใจกระบวนการทำ R2R
  • ลดภาระงาน
  • ลดเวลาในการทำงาน
  • มีความรู้ในการทำ R2R
  • สามารถพาลูกน้องและทีมทำ R2R ได้ เป็นโค้ช เป็นพี่เลี้ยงได้
  • มีผลงาน R2R เกิดขึ้นในหน่วยงาน
  • ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการมารับบริการ
  • มีความสุขในการทำ R2R
  • ต่อยอดงานพัฒนาเดิม
  • ค้นหาพัฒนางานใหม่ๆ
  • มีแรงบันดาลใจ
  • เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ในงาน
  • มีเทคนิคการกระตุ้นให้บุคลากรในหน่วยงานอยากทำ R2R
  • มีทีมเข้ามาช่วย
  • อยากให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

...

เพียงแค่ความคาดหวัง ก็สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองและทัศนคติ ... และแนวโน้มของการมองเรื่องการพัฒนาแบบไปข้างหน้าและเชิงสร้างสรรค์

๑๒-๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 599497เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2016 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2016 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท