การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมควบคุมโรคสู่บทบาทการเป็น National Health Authority : NHA โดย ปาจารีย์ อัศวเสนา


ปาจารีย์ อัศวเสนา

การศึกษาเชิงบรรยายในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สถานการณ์ ช่องว่าง ความสอดคล้อง และความเชื่อมโยงในการกำหนดนโยบาย กระบวนการจัดทำ /การนำแผนสู่การปฏิบัติ และผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการ กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2557 - 2561 และแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2558 - 2562 และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย และเชิงปฏิบัติในการจัดทำ ขับเคลื่อน และผลักดันแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรมควบคุมโรค สู่บทบาทการเป็น National Health Authority : NHA การศึกษานี้ใช้วิธีวิเคราะห์เอกสาร ร่วมกับการประชุมระดมสมองของนักวิชาการ/ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ นำเสนอด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการ กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2557 - 2561 กับแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2558 - 2562 มีการวางแผนพัฒนาที่ขาดการบูรณาการให้เป็นภาพรวมของแผน Human Resource : HR ของกรมควบคุมโรค แต่เป็นลักษณะแยกส่วนความรับผิดชอบระหว่าง Human Resource Development : HRD กับ Human Resource Management : HRM ทักษะที่จำเป็นและการใช้รูปแบบในการสร้างการเรียนรู้ยังไม่เหมาะสมกับบุคลากร โดยมีกิจกรรมในแผนที่กำหนดเป็นไปตามเฉพาะด้าน แต่ไม่สะท้อนถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มุ่งสู่บทบาทการเป็น National Health Authority : NHA และมุ่งเน้นการอบรมพัฒนาความเชี่ยวชาญเชิงลึกให้กับบุคคลเฉพาะกลุ่ม และเน้นการดำเนินงานในลักษณะปฏิบัติการมากกว่า ส่งผลให้บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาไม่สามารถมองภาพรวมเชิงระบบและปฏิบัติการ ในลักษณะ Multi – tasking ที่สามารถพัฒนาความสามารถของบุคลากรในเชิงนโยบาย วิชาการ และ การควบคุมกำกับคุณภาพ ระบบการป้องกันควบคุมโรคระดับประเทศที่สอดคล้องต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปควรวางแผนและพัฒนาในกลุ่มผู้จัดการกลุ่มแผนงาน (Program Cluster Manager: PCM) และผู้รับผิดชอบหลัก (Program Manager : PM) ระดับสำนักงานป้องกันควบคุมโรค โดยบูรณาการให้เชื่อมโยงกับงานสำคัญของแผนงาน และดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาความเข้มแข็งของแผนงานการป้องกันควบคุมโรค (Revitalize Disease Control Program : RDCP) รวมทั้ง การสร้างสัมพันธภาพที่ดีร่วมกันระหว่างผู้รับผิดชอบแผนงานโรคในพื้นที่หน่วยงานระดับสำนักงานป้องกันควบคุมโรค กับเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานป้องกันควบคุมโรค ให้มีความก้าวหน้าอย่างมีพลัง และนำกรมควบคุมโรคก้าวสู่ National Health Authority : NHA ด้านการควบคุมโรค

This descriptive study is aimed to study problems, situation, gaps, consistency and coherence in policy development, process of preparing plan and bringing plan into action and results of implementation of the Strategic Plan for Development of Government Officials of the Department of Disease Control, B.E. 2557-2561 and Strategic Plan for Human Resource Development of the Department of Disease Control, B.E. 2558 – 2562. In addition, recommendations have been made for policy decision making and further implementation on developing, mobilizing and driving the Strategic Plan for Human Resource Development of the Department of Disease Control towards the role of the National Health Authority: NHA. Methods of this study are based on document analysis and meetings for brainstorming of technical officers/ senior experts and specialists including in-depth interviews of senior experts.

Based on results of the study, it is found that there is no integration into the overall plan of Human Resource: HR of the Department of Disease Control between the Strategic Plan for Development of Government Officials of the Department of Disease Control, B.E. 2557-2561 and Strategic Plan for Human Resource Development of the Department of Disease Control, B.E. 2558 – 2562. Responsibilities of Human Resource Development: HRD and Human Resource Management: HRM are fragmented. Required skills and models for capacity building of personnel are not appropriate. Activities in the Strategic Plans have been determined for each areas but do not reflect human resource development towards the role of National Health Authority: NHA. Moreover, the plans are focused on capacity building of in-depth expertise for specific groups of personnel and rather emphasized on operational implementation. This will affect personnel who received capacity building and make them unable to see systematic and practical overall picture of the strategic plans in characteristics of multi – tasking, which can be used to increase capabilities of personnel on policy and technical aspects including quality monitoring and control, disease prevention and control system at national level, which are consistent with changing context of the country.

It is recommended that human resource development should be planned and implemented, especially for Program Cluster Manager (PCM) and Program Manager (PM) of Offices of Disease Prevention and Control by integrating and linking with major activities of the plans and implementing along with revitalizing of disease control programs. In addition, good relationships between persons responsible for disease prevention and control programs in the Offices of Disease Prevention and Control and networks of implementing staff at local level will be an important factor for driving implementation of disease prevention and control activities to obtain powerful progress and bringing the Department of Disease Control to achieve its role as the National Health Authority: NHA.

หมายเลขบันทึก: 599450เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2016 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2016 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท