๑ แรงบันดาลใจสู่งานวิจัยเพื่อเศรษฐกิจอยู่-เหลือ


ผู้เขียนคาดหวังสร้างโอกาสนำสินค้าที่ดีงามส่งถึงมือผู้บริโภคในชนบทโดยตรง ผู้บริโภค ต้องมีโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ งานฝีมือ หรือ บริโภค สินค้า Mass Products

ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ ผู้เขียนตัดสินใจ ทดลองงานชิ้นใหม่นี้ ด้วย เห็นคุณค่าของน้ำใจ อันกว้างขวาง ของ เจ้าของโรงงาน รองเท้าหนังตัดเย็บ โดยช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ กว่า ๖๐ ปี ที่เผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ จนแทบปิดโรงงานในเมืองหลวงของประเทศไทย ผู้เขียนบอกกับทีมงานเขาว่า

  • จงรักษาจุดแข็ง งานฝีมือ คุณภาพงานที่ปราณีต ทนทาน
  • ไม่เข้าแข่งขันกับ Mass Products ที่ผลิตจากเครื่องจักร
  • ปัจจุบันหาช่างฝีมือได้ยาก งานตัดเย็บรองเท้าเป็นศิลปะ คล้ายตัดเสื้อผ้า รองเท้าจึงดูมีชึวิต
  • เราจะคงอยู่ได้ เพราะเศรษฐกิจจะตกต่ำถึงที่สุด แล้วขึ้นเรื่องใหม่ตามกฎธรรมชาติ ผู้บริโภคจะหันมามอง คุณค่า หรือ คุณภาพ สินค้า เพราะ ไม่มีเงินเหลือเฟือ ให้จับจ่ายฟุ้งเฟ้อ
  • ผู้เขียนจะนำผลงานนี้ ไปจำหน่ายในชนบท ที่อุดมสมบูรณ์ และเชื่อว่า ผู้บริโภค จำนวนหนึ่งมองเป็น และมองออก เพื่อพิสูจน์ให้ทางโรงงานมีกำลังใจทำงานต่อไป
  • ผู้เขียนคาดหวังสร้างโอกาสนำสินค้าที่ดีงามส่งถึงมือผู้บริโภคในชนบทโดยตรง ผู้บริโภค ต้องมีโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ งานฝีมือ หรือ บริโภค สินค้า Mass Products

นี่คือ แรงบันดาลใจเริ่มต้น สู่งานวิจัยเพื่อเศรษฐกิจอยู่-เหลือ ...

ผู้เขียนเริ่มบริโภคเองก่อน ๑ คู่

เรานำสินค้าเข้าทดลองตลาด ๔ แบบ เป็นจำนวน ๒๔ คู่ ทันที หลังการสำรวจตลาดรองเท้าท้องถิ่น ด้านราคา คุณภาพ แหล่งจำหน่าย เหล่านี้ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 599399เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2016 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2016 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท