การบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช


ชื่อเรื่อง การศึกษาผลการบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัย นายนพดลย์ เพชระ ปีที่ทำวิจัย 2558 บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยองค์กร ที่มุ่งพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) ศึกษาผลการบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2)ศึกษาความพึงพอใจของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครอง ที่มีต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ 2 ) การทดลองการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ 3 ) การประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลการบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผลการดำเนินการดังนี้

1.1. ผลการสังเคราะห์กลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือการพัฒนาศักยภาพครู การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการประสานเครือข่ายทางการศึกษา มีความสอดคล้องเหมาะสม
1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในรอบ 2 ปีการศึกษา คือ ปีการศึกษา 2556 และปีการศึกษา 2557 หลังการทดลองใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2555
2. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.57 อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจมากที่สุด เฉลี่ย 4.63 รองลงมา คือผู้ปกครอง มีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.61 และมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือครู มีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.48

หมายเลขบันทึก: 599018เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2016 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2016 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท