KM กับเทศกาลลอยกระทง (ต่อ)


ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ KM

 

เรื่องเล่า รวมรส  ๒ วัน  กับงานลอยกระทง ที่ตำบลวัดดาว

ระหว่างวันที่  ๔ - ๕  พฤศจิกายน   ๒๕๔๙ชไมพร   วังทองผู้ประสานงานพื้นที่วัดดาว : รายงาน  

วันเสาร์ที่      พฤศจิกายน   ๒๕๔๙

± การทำงานที่ต้องจัดการความรู้...(ทุกครั้ง)           

คงเป็นอีกครั้งสำหรับคนวัดดาว อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ต่อการเตรียมความพร้อมกับการจัดเตรียมงานเทศกาลลอยกระทงในวันพรุ่งนี้ ทางคณะทำงานสรส.ที่ลงพื้นที่ในวันนี้มีคุณปิยะวดีย์(ฝ่ายสื่อสาวสวยคนขยันของ สรส.) กับ คุณไพโรจน์(ตากล้องที่เป็นเพื่อนสนิทกัน)ลงพื้นที่มาเก็บภาพสวยๆในการเตรียมงานลอยกระทงกับผู้ประสานงานพื้นที่(ชไมพรเองจ๊ะ) ต้องขออนุญาตบอกเล่าเก้าสิบต่อการแหวกกฎการทำงานในการทำงานด้วยกันระหว่างผู้เขียนกับคุณอัฒยา(ผู้ประสานงานพื้นที่หัวไผ่ จ.สิงห์บุรี)เพราะในวันนี้เราสองคนก็ยังมาทำงานร่วมกัน(อยู่ดี) เหตุก็เพราะว่าจากการปรึกษางานร่วมกันเห็นว่าการจัดเตรียมงานลอยกระทงเราต้องเจอกับคนหลายฝ่าย(โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีตำบลวัดดาว) ต้องมีการพูดคุยไต่ถามสารทุกข์สุขดิบกันบ้างพอสมควร เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีต่อการเป็นพันธมิตรในการทำงาน และต้องจับประเด็นจากการทำงานของผู้นำท้องถิ่นเพื่อนำข้อมูลที่ได้มารวบรวมจัดทำเป็นหนังสือเล่มว่าด้วย..งานเทศกาลชุมชนของคนวัดดาว ซึ่งจำเป็นต้องมี คุณอำนวย ในพื้นที่เกินกว่า ๒ คน(แน่ๆ)ต่อการเก็บข้อมูล หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณอำนวยใหญ่ของสรส. จักเห็นดีด้วยในการทำงานครั้งนี้ นะ..คะ..(สาธุ) 

± การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ..ตามแผนงาน           

ทางทีมสรส.ต้องรีบลงพื้นที่ตามเวลาที่นัดหมายกับผู้นำชุมชน จากการประชุมเตรียมงานเมื่อวันที่  ๒๔ ต.ค.ที่ผ่านมา โดยนัดหมายมาพบเจอและรวมกลุ่มกันที่วัดดาว เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป ซึ่งในวันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่แต่ละฝ่ายนำเสนอแผนไว้ เมื่อวันที่  ๒๔  ต.ค.ที่ผ่านมา โดยผู้เขียนกับคุณอัฒยาต้องร่วมสังเกตเพื่อเก็บข้อมูลและร่วมคิด ร่วมทำงานกับฝ่ายสื่อต่อการเก็บภาพการทำงานเพื่อนำเสนอผลงานในงานมหกรรม KM ที่จะถึงนี้ด้วย 

± ได้แง่คิดด้านตัวบุคคลกับสาวๆในตำบลที่มาร่วมจัดทำกระทงให้แก่ทางวัดดาว

กลุ่มแรกที่เราพบเจอและพูดคุยด้วยที่วัดดาว เป็นกลุ่มชาวบ้านที่เป็นหญิงล้วนๆ โดยทั้งหมดมารวมตัวกันเพื่อทำกระทงเพื่อขายภายในงานลอยกระทงวันพรุ่งนี้ ผู้เขียนได้เจอ คุณชิรา คุณแอน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของอบต.วัดดาว มาช่วยกันทำกระทงที่วัดดาวด้วย(สงสัยจะถูกนายกประทิวมอบหมายหน้าที่ให้มาร่วมทำแน่ๆเลย) นอกจากนี้ก็มีกลุ่มแกนนำกลุ่มสตรีวัดดาว ที่พอจำหน้าได้เพราะคุ้นๆอยู่เพราะเห็นให้ความร่วมมือกับชุมชนบ่อยๆ แต่ยังไม่ได้มีโอกาสรู้จักชื่อเสียงเรียงนามกันเลยได้แต่ สวัสดี..ยิ้มทักทายกันยิ่งในวันนี้เห็นแต่ละคนตั้งหน้าตั้งตาทำกระทงกันยกใหญ่ทำให้ยิ่งไม่กล้ารบกวนแต่ละคนนัก ได้แต่แซวๆให้ทุกคนมีเสียงหัวเราะไปกับการทำกระทงแค่นั้นเอง (สงสัยวันนี้จะเป็น คุณสังเกต มากกว่า คุณอำนวย ซะแล้ว!)

ข้อสังเกตที่ได้จากการพูดคุย กลุ่มทำกระทง

·         คุณนุกูล  สระโจมทอง(ส.อบต.ม.๕ บ้านสังโฆ) ในวันนี้ได้รับตำแหน่งต่อการเป็นกำลังพลในการทำงานที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การรวมพลกำลังคนมาร่วมทำกระทงที่วัด หรือการสวมบทบาทเป็นแม่ครัวเอกในการทำอาหารเลี้ยงในมื้อเที่ยง จะเห็นว่าคนที่มาร่วมทำกระทงมักเรียกพี่นุกูลมาทำกระทงที..ไปช่วยทำกับข้าวที ผู้เขียนได้แซวพี่นูกูลไปว่า วันนี้..ลูกสาวไม่บ่นเหรอ..ที่แม่ไม่ค่อยอยู่บ้าน  พี่นุกูลบอกว่า มันก็บ่นนั่นแหละ..แต่แม่มันดื้อมากกว่าไม่ค่อยอยู่บ้านอยู่ดี คนที่ได้ฟังก็จะยิ้มๆ แล้วก็แซวพี่นุกูลว่า เวลามีงานใหญ่ๆขาดนังนุกูลมันได้ที่ไหน แม่งานตำบลวัดดาวทุกงานเลยนะเนี่ย  ข้อมูลที่ได้จากวงสนทนาทำให้ผู้เขียนได้ข้อคิดกับพี่นุกูลอย่างหนึ่งว่า พี่นุกูลเป็นคนหนึ่งที่ชอบทำงานเพื่อส่วนร่วมและการได้ทำงานเพื่อตำบลน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตพี่นุกูลไปเสียแล้วเพียงแต่ท่าที  การพูดจาแม้เป็นคนแข็งๆ แต่อย่างน้อยก็เป็นคนที่พร้อมจะทำงานเพื่อตำบลตนเองทุกเมื่อ

·         กลุ่มบุคคลที่มาร่วมทำกระทงส่วนใหญ่จะเป็นเด็กนักเรียนมากกว่าผู้ใหญ่ จากการสอบถามพูดคุยก็ได้ข้อสรุปว่า เด็กๆ มีเวลาว่างมากกว่าผู้ใหญ่  อีกทั้งคุณครูก็ได้อาศัยช่วงเทศกาลชุมชนในการสอนเด็กนักเรียนฝึกทำกระทง ทำบายศรีไปด้วย โดยผู้เขียนเฝ้าสังเกตเห็นคุณครูสอนการทำกระทงเด็กๆไปด้วย โดยที่เด็กๆก็มีอาการตั้งอกตั้งใจในสิ่งที่คุณครูถ่ายทอดตลอดเวลา

·         เจ้าหน้าที่อบต.วัดดาวที่เป็นผู้หญิงต่างก็มาช่วยทำกระทง โดยมีความตั้งอกตั้งใจในการทำกระทงกันทุกคน

·         จากข้อเสนอแนะของคุณชำเลืองในการนำเศษวัสดุยางที่เหลือใช้จากการประชุมเตรียมงานลอยกระทง รอบ ๒ ที่ผ่านมา ในวันนี้ได้มีการนำมาตกแต่งเพื่อทำกระทงขายให้กับทางวัดดาวซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอแนะของพี่ชำเลือง โดยเด็กๆและสาวๆวัดดาวได้ตกแต่งกระทงกันอย่างสวยงามทีเดียว  

± หน้าที่ชายชาตรี..ต้องที่ แพริมน้ำ           

การเคลื่อนทัพเพื่อมาสังเกตุกระบวนการทำงานของผู้นำวัดดาวจากการพูดคุยเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันนั้น ในวันนี้ได้เห็นภาพในการปฏิบัติงานตามแผนการทำงานกันตั้งแต่เช้าเพราะเมื่อผู้เขียนกับคุณอัฒยามาสังเกตการณ์ทำงานของฝ่ายชายที่แพริมน้ำก็เจอกับสมาชิกอบต.ของวัดดาว และผู้ใหญ่บ้านบางท่าน กล่าวทักทายเรา ๒ คนโดยตลอด            ภาพที่เห็นเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ฝ่ายท้องถิ่น และ ฝ่ายท้องที่ นำโดย ๓ ทหารเสือ คือ นายกประทิว, กำนันสมจิตร และลุงมานิตย์(ประธานสภาอบต.) โดยทั้ง ๓ ท่านต่างสาละวนกับการทำแพริมน้ำเพื่อให้คนตำบวัดดาวได้มาลอยกระทงกัน ณ จุดนี้ โดยส่วนมากจะเป็นกำลังพลของฝ่ายชายทั้ง ๒ สายงานที่มาแรงร่วมใจร่วมช่วยงานกันในวันนี้            เราทั้ง ๒ คนได้แต่ยิ้มทักทายกับผู้นำเท่านั้น เนื่องจากทุกคนต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานที่ตนเองร่วมรับผิดชอบกันอยู่ โดยมารยาทเราก็ไม่ควรเข้าไปเจ๊าะแจ๊ะกับเขามากนักควรปล่อยโอกาสให้ผู้นำได้ทำงานที่ตนเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด 

±คุณเอื้อ ของพื้นที่...มีท่าทีกังวล           

จากการที่เราสองคนร่วมสังเกตุการเตรียมงานลอยกระทงที่วัดดาวทำให้ในวันนี้เราทั้งสองคนไม่กล้าที่จะกวนใจใครมากนัก(หมายถึงเข้าไปชวนคุย) โดยเฉพาะนายกประทิวที่ขะมักเขม้นกับการทำงาน ทำให้เราทั้ง ๒ คนเดินเล่นและมานั่งพูดคุยกันที่ศาลาหน้าวัดดาวเพื่อชวนคุยกันไปเรื่อยๆเพื่อเติมเต็มข้อคิดเห็นร่วมกันแต่ก่อนที่จะออกรสออกชาติในการสนทนาก็มีเสียงโทรศัพท์ดังแทรกขึ้นมาโดยเป็นนายกประทิวโทรศัพท์มาหาพร้อมกับคำถามที่ว่า นายกประทิว : เฮ้ย!อยู่ที่ไหนกันวะ..กลับหรือยัง เรายังไม่ได้คุยกันเลยนะพร : ยังไม่ได้กลับหรอกค่ะนายก..พอดีเห็นนายกยุ่งๆอยู่ จะชวนคุยด้วยก็        เกรงใจ เลยมานั่งคุยงานกับพี่อัฒที่ศาลาหน้าวัดดาวค่ะนายกประทิว : แล้วว่างหรือเปล่า..จะชวนไปเก็บใบตองมาทำกระทงหน่อยพร : ได้ค่ะนายกนายกประทิว : ถ้าอย่างนั้น..เดี๋ยวไปรับ            การสนทนาระหว่างผู้เขียนกับนายกประทิวสิ้นสุดลงพร้อมกับความรู้สึกที่ว่า น่าจะเป็นเพราะนายกประทิวรู้สึกว่า เรามาดูการเตรียมงานแล้วไม่ได้คุยอะไรกับท่านเลย ทำให้นายกประทิวรู้สึกไม่ดีกับการต้อนรับเราสองคน อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนคิดก็คือ การได้ให้มุมมอง..ข้อคิดเห็นจากการเตรียมงานลอยกระทงโดยเป็นสายตาจากบุคคลภายนอกอย่างเรา ๒ คนน่าจะเป็นสิ่งที่นายกประทิวต้องการมากๆ เพราะจะช่วยให้นายกสามารถปรับปรุงการทำงานกับชุมชนให้ดีขึ้นได้ และที่แน่ๆ ณ ขณะนี้ KM ได้เข้ามาในชีวิตของนายกประทิวเกินกว่าครึ่งไปเสียแล้ว.. 

± ร่วมทำงานกับคุณอำนวย งาน ชาวบ้านของจริง            การได้มีโอกาสมาร่วมตัดใบตองกับนายกประทิวและคุณนุกูล(ส.อบต.ม.๕) เพื่อให้สาวๆในวัดดาวได้ทำกระทงกัน  เหตุผลที่แท้จริงของนายกก็คือกลัวคนทำกระทงหนีกลับบ้านกันหมด เนื่องจากใบตองใกล้จะหมด โดยนายกประทิวเล็งเห็นว่ากระทงที่ผลิตเพื่อให้ทางวัดยังมีไม่เพียงพอ ถ้าไม่ไปตัดใบตองเพื่อให้ทำกระทงเพิ่มกลัวว่าในวันพรุ่งนี้จะทำกระทงเพื่อขายไม่ทันในช่วงเย็น            นอกจากนี้ ข้อคิดเห็นที่ได้จากการไปร่วมตัดใบตองกับผู้นำทั้ง ๒ ท่าน ได้ข้อคิดเห็น  ดังนี้

·         เป็นการหาโอกาสในการพูดคุยร่วมกับเรา ๒ คน เพื่อประเมิณงานร่วมกัน ในระหว่างการเดินทางไปตัดใบตองในตำบล

·         การที่นายกชวนพี่นุกูลมาร่วมตัดใบตองด้วย เนื่องจากใบตองที่จะมาตัดเป็นของ ม.๕ บ้านสังโฆ อีกประการหนึ่งทั้งพี่นุกูลและนายกประทิวต่างก็เป็นผู้นำที่กล้าลุยงาน ถึงแม้ว่าพื้นที่ตำบลวัดดาวน้ำจะท่วมก็ตาม ทั้ง ๒ ท่านก็กล้าลุยน้ำฝ่าไปตัดใบตองมาจนได้ (รวมไปถึงคุณอัฒยาด้วย คงชินกับน้ำท่วมแน่ๆเลยเพราะลุยน้ำไปเก็บใบตองกับเขาด้วย)

·         การมีสายตาของการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลาของนายกประทิวกับพี่นุกูล เพื่อให้งานเคลื่อนกันตลอดไม่มีการติดขัดในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น การเตรียมใบตอง การปรึกษาการทำงานระหว่างการเดินทาง โดยมีการเติมเต็มกันตลอดว่าสิ่งไหนดี  สิ่งไหนขาด  เป็นต้น

·         เป็นการสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่าง ผู้นำวัดดาว กับ ทีมงานสรส.หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การซื้อใจคนในชุมชน โดยเป็นการร่วมกันทำงานกับเจ้าของพื้นที่บ้าง โดยมิใช่เป็นการทำงานโดยความเกรงใจไม่อยากปฏิเสธ(เรียกว่าไม่มีใจจริงๆ) แต่ต้องเป็นการทำงาน ด้วยใจ(ที่แท้จริง) อันเป็นการแสดงถึงความจริงใจในการทำงานกับพื้นที่..มิใช่จริงโจ้นะจ๊ะ  

± ร่วมปฏิบัติการกับฝ่ายสื่อ..เพื่อเก็บภาพการทำงานของฝ่ายประชาสัมพันธ์           

นอกจากการสังเกตการณ์ทำงานของกลุ่มชาวบ้านวัดดาวแล้วนั้น  การทำงานร่วมกับฝ่ายสื่อเพื่อตามเก็บภาพการทำงานของแต่ละฝ่ายในการจัดงานลอยกระทงเพื่อการนำเสนองาน “KM กับเทศกาลชุมชน ของพื้นที่วัดดาวในงานมหกรรม KM แห่งชาติ            การทำงานระหว่างผู้ประสานงานพื้นที่และฝ่ายสื่อในช่วงแรกเป็นการแยกกันไปเก็บภาพ เก็บข้อมูลของการเตรียมงานกันเอง  เมื่อต่างฝ่ายต่างทำงานได้สักช่วงหนึ่งก็มีการประสานการทำงานร่วมกันว่า ควรตามเก็บภาพฝ่ายประชาสัมพันธ์ในงานลอยกระทง   โดยเป็นภาระบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่ชูศักดิ์และพี่ชำเลืองในการขับรถยนต์ออกประกาศโฆษณาเชิญชวนชาววัดดาวให้มาร่วมงานลอยกระทงในคืนพรุ่งนี้            การออกโฆษณาเชิญชวนนั้นมีผู้ใหญ่ชูศักดิ์เป็นสารถีขับรถให้ โดยมีพี่ชำเลืองคนเก่งของวัดดาวเป็นผู้ประกาศโฆษณา เป็นการพูดโฆษณาสดๆ โดยไม่มีสคริปต์ในการออกประกาศ จุดเด่นในการโฆษณาของพี่ชำเลืองน่าจะเป็น น้ำเสียง และ ลูกเล่น ในการโฆษณา พร้อมๆไปกับการนำเนื้อหาสาระมาพูดโดยกล่าวถึงที่มาที่ไปของงาน และที่สำคัญ คือ ผู้สนับสนุนงานลอยกระทงวัดดาวในปีนี้ ที่ทำให้ทีมสรส.มีรอยยิ้มที่หุบไม่ลง คือ การกล่าวถึงสรส.ในการเข้ามาสนับสนุนการเรียนรู้การทำงานในตำบลให้แก่คนวัดดาวในปีนี้นั่นเอง (ผอ.จะทราบไหมหนอ...ว่าเราทำงาน KM ซึมลึกไปกับคนวัดดาวมากขึ้น หลายคนแล้วนะเจ้าค่ะ)  

± บทสรุปของวันนี้ คือ การดำเนินงานตามแผนงาน            การได้ร่วมเตรียมงานกับผู้นำวัดดาว ในวันนี้ทำให้ได้เห็นมุมของวิถีการดำเนินชีวิตของคนวัดดาวกับงานเทศกาลชุมชนมากขึ้น การทำงานของผู้นำต่อการร่วมคิด ร่วมทำเพื่อรวมจิตใจของคนวัดดาวเป็นกลวิธีในการโยงใยจิตใจของคนในชุมชนให้หันมาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อชุมชนท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น            การนำ KM มาเริ่มปรับใช้ในการทำงานของผู้นำท้องถิ่น ถือเป็นกระบวนการทำงานที่ช่วยสรรสร้างให้ผู้นำเริ่มทำงานที่เป็นแผน เป็นขั้นเป็นตอน และมีเป้าหมายในการทำงานไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น            คงต้องมาสังเกตกระบวนการในวันพรุ่งนี้อีกครั้งต่อการปฏิบัติการดำเนินงานตามแผนงานของแต่ละฝ่ายว่ามีขีดความสามารถในการทำงานกันเช่นไร? 

วันอาทิตย์ที่      พฤศจิกายน   ๒๕๔๙

± วันแห่งปฏิบัติการงาน KM กับเทศกาลลอยกระทง           

ค่อนข้างเป็นการทำงานที่ยุ่งยากสักหน่อยในวันนี้ เนื่องจาก เทศกาลลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญและจัดขึ้นทุกที่(ยกเว้นพื้นที่ที่น้ำท่วมอย่างหนักในปีนี้) โดยเฉพาะการจัดงานลอยกระทงของตำบลหนองหญ้าไซ ปีนี้ลูกสาว เจ้าตาหวาน ต้องรำในงานวัดหนองหลวงทำให้ผู้เขียนต้องจัดการงานครอบครัวกับงานในหน้าที่การงานให้สอดคล้องไปในวิถีเดียวกัน            วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือ การประสานงานกับแอนเป็นระยะๆเพื่อให้ช่วยเก็บข้อมูล บรรยากาศการทำงานที่วัดดาวให้ผู้เขียนให้ได้มากที่สุดเพราะผู้เขียนต้องรีบจัดการเจ้าตัวน้อยในการแต่งตัว แต่งหน้าแล้วไปดูลูกรำที่วัดหนองหลวงช่วงหัวค่ำ จากนั้นผู้เขียนจะรีบไปที่งานวัดดาวทันที            ปกติผู้เขียนตกลงกับคุณอัฒยาว่าจะไปด้วยกัน แต่เนื่องจากบ้านคุณอัฒยาน้ำท่วม หากผู้เขียนให้คุณอัฒยาไปด้วย คุณอัฒยาก็ต้องพายเรือออกมาจากบ้านซึ่งเป็นเวลากลางคืนคงไม่ปลอดภัยแน่ๆถ้าต้องพายเรืออกมาดึกๆดื่นๆ ดังนั้น ผู้เขียนเลยตัดสินใจไปวัดดาวเพียงคนเดียว(ไม่กลัวหรอกไปคนเดียวก็ได้..ฮือๆ)  

± จุดแรกที่สังเกต..ผลการประกวดกระทงสวยงาม

มาถึงวัดดาวประมาณใกล้ๆ สามทุ่ม เป็นเวลาที่สามารถสังเกตเห็นผู้คน บรรยากาศของงานวัดที่มีความคึกคักทั้งงานไปแล้วแน่ๆตั้งแต่หัวค่ำ            ด่านแรกเมื่อเข้างานก่อนที่จะเข้าถึงเวทีการประกวด ผู้เขียนได้ผ่านเต็นท์ประกาศผลการประกวด กระทงสวยงาม โดยมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการไปแล้ว            โดยผลการประกวด มีดังนี้

·         หมู่ที่ ๔ บ้านวัดดาว(เจ้าภาพงาน) ชนะเลิศ

·         หมู่ที่ ๓ บ้านดอนสะแก  รองชะเลิศ อันดับ ๑

·         หมู่ที่ ๙ บ้านดอนตาจีนใต้  รองชะเลิศ  อันดับ ๒

ากการสังเกตการณ์ประดิษฐ์กระทงสวยงามของชาวตำบลวัดดาวนั้นจะเห็นได้ว่ามีทั้งความคิดสร้างสรรค์, การประดิษฐ์กระทงที่คงวัฒนธรรมไทยแท้, การบ่งบอกถึงการมีฝีมือที่ประณีตบรรจงในการทำกระทงทุกใบ ฯลฯเพราะถึงแม้ว่ากระทงที่ไม่ได้รับรางวัลชนะเลิศก็ยังคงมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง นอจากกระทงสวยงาม เต๊นท์ข้างๆเป็นเต๊นท์ขายกระทงเพื่อนำไปลอยกระทงโดยรายได้ทั้งหมดยกให้แก่ทางวัดดาว โดยผู้เขียนสังเกตเห็นกลุ่มบุคคลที่มาขายกระทงก็คือเด็กๆนักเรียนที่มาร่วมกันทำกระทงเมื่อวานนี้ โดยกระทงที่ทำขายภายในงานนั้นจำหน่ายใกล้หมดเต็มที คุณครูที่มาช่วยเด็กๆขายก็พยายามหาโอกาสเพื่อสอนเด็กๆนักเรียนรีบทำกระทงจิ๋วเพื่อขายต่อไป เพื่อเป็นการนำเงินที่ได้บริจาคให้แก่ทางวัดดาวต่อไป(เป็นการหาโอกาสในการฝึกฝนเด็กที่ดีมากๆ) 

 ± รู้เบื้องลึก..เบื้องหลัง กับ ผลการประกวดกระทงสวยงาม           

ช่วงที่ผู้เขียนสังเกตกระทงสวยงามอยู่นั้นก็มีกลุ่มชาวบ้านมาร่วมยืนดูพร้อมๆไปกับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลการประกวดว่า กระทง ม.๔ ชนะได้ไงไม่เห็นสวยเลย บางคนก็ว่า สงสัย ม.๔ เจ้าภาพเส้นกับกรรมการตัดสินแน่ๆจากการพูดคุยกันอย่างนั้นของชาวบ้านทำให้ผู้เขียนรู้สึกแปลกๆในคำพูดของพวกเขาว่าน่าจะเป็นเพราะเขาเห็นว่าหมู่อื่นๆที่ดูสวยกว่าม.๔  ก็มี ทำไม ม.๔ ที่แบบเรียบๆกลับได้รางวัลชนะเลิศคงเป็นโอกาสให้ผู้เขียนได้ทราบข้อเท็จจริงจากสิ่งที่ชาวบ้านพูดคุยกันเมื่อสักครู่เพราะปลัดอัฐพล(ปลัดอบต.วัดดาว) ได้เดินเข้ามาทักทายและพูดคุยกับผู้เขียนด้วยทำให้ผู้เขียนโยนคำถามเพื่อถามถางกับปลัดว่า กระทงสวยทุกหมู่เลยนะคะเนี่ย ป.เห็นว่าเป็นยังไงบ้างคะ

ป.อัฐพล : “ผมว่าเขาเก่งนะ..จับจีบ ทำบายศรีกันเก่งทีเดียว นี่ขนาดสวยแบบนี้               ปีนี้ยังโดนต่อว่าเลยนะว่าผลการประกวดไม่ยุติธรรม

พร : “ใครต่อว่าหรือคะปลัด

ป.อัฐพล : ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่มีบัตรสนเท่ห์ให้กับชำเลืองโดยไม่ประสงค์ออกนามบอกว่ากรรมการตัดสินไม่ยุติธรรม ลำเอียงให้แก่เจ้าภาพซึ่ง เป็นเจ้าของพื้นที่

พร : หนูว่าชาวบ้านเขาคงไม่เข้าใจมั้งคะว่าเกณฑ์ในการตัดสินเป็นอย่างไร          จริงๆน่าจะอธิบายพวกเขาให้ทราบนะคะ

ป.อัฐพล : ผมจะบอกให้ เกณฑ์ในการตัดสินบางหมู่เขาก็ไม่รู้ว่าเขามีการให้                คะแนนกันอย่างไร ผมรู้ ผมจะบอกให้เกณฑ์ตัดสิน มีดังนี้           

. กระทงสวยงาม มีความคิดสร้างสรรค์

๒. กระทงมาส่งถึงคณะกรรมการตรงต่อเวลา    (ถ้ามาช้าก็โดนหักคะแนนไปเรื่อยๆ)

๓. ฐานกระทง ๓๐ ซ.ม. ต้องทำฐานตามที่ระบุไว้    (ถ้าใหญ่ไป เล็กไปกว่าที่กำหนดก็โดนตัดคะแนนอีก)

๔. เน้นทำกระทงจากวัสดุธรรมชาติเท่านั้นคือว่า หมู่ที่ ๔ นั้นมาส่งตรงเวลา, การจับบายศรีก็ได้ระดับเท่ากัน, และทำฐานจากวัสดุธรรมชาติที่แตกต่างไปจากหมู่อื่นๆ คือ ผักป่อง ทำให้หมู่ที่ ๔  ชนะเลิศ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเขาไม่ทราบเขามองแต่ที่ความสวยงามเท่านั้น ทำให้ปีนี้กรรมการตัดสินโดนเล่นหนักเลย ส่วนงานอื่นๆดีหมดไม่มีปัญหาอะไร            

ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยกับปลัดอัฐพลทำให้ผู้เขียนพอมองออกว่า บทเรียนในการทำงาน ของคนวัดดาวในปีนี้ คือ การต้องเพิ่มการอธิบาย การสร้างความเข้าใจ กับชาวบ้านในการจัดงาน เกณฑ์การประกวดต่างๆให้ชาวบ้านทราบให้มากกว่านี้ มิใช่รู้กันแค่วงในของกลุ่มผู้นำเท่านั้น โดยวิธีการแก้ไขเบื้องต้นภายในงานก็คือ วิทยากรหลักบนเวทีใหญ่ในการประกวดเทพีแม่หม้ายต้องพยายามชี้แจงกับผู้เข้าร่วมชมงานให้ได้ว่า เกณฑ์ในการตัดสินนั้นมีอะไรบ้าง และเพราะอะไร ม.๔ ถึงได้รางวัลชนะเลิศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความโปร่งใสในการตัดสิน  

± เข้ารายงานตัวกับ    ทหารเสือ

หมายเลขบันทึก: 59834เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท