Peaceful Mind สายธารสู่การทำงานหมอครอบครัว : R2R สสอ.ยโสธร


เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘

เรามี workshop การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ R2R ใน Theme "FCT หมอครอบครัว"

คุณหญิง-พรพิไล ...รองหัวหน้า สสอ.เมืองยโสธร ฝ่ายวิชาการ ...หญิงเก่งและแกร่งตัวเล็กๆ ที่มีความมุ่งมั่นต่อเนื่องและร้อยเรียงน้องๆ ในงานปฐมภูมินำ R2R มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการทำงานประจำ

หนึ่งปีที่ผ่านมา พลังและผลงานมีมากมายที่คนทำงานปฐมภูมิในเครือข่ายอำเภอเมืองยโสธรช่วยกันทุ่มเท...

จากที่ครั้งแรกในปีก่อนๆ...เราปูพื้นเรื่อง R2R

ปีนี้เราใช้ R2R มาเป็นเครื่องมือเสริมการทำงานของหมอครอบครัวให้มีคุณค่า ...และชัดเจนมากยิ่งขึ้น

กระบวนการครั้งนี้จัดขึ้น ๑ วัน...

ข้าพเจ้ามีเป้าหมายที่จะใช้ Dialogue มาใช้ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

พลังของเรื่องเล่า ...เป็นพลังที่เติมเต็มใจของคนทำงานอย่างมาก

"ข้าพเจ้าให้ทางทีมแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าความสำเร็จในพื้นที่ในการทำงานของหมอครอบครัว" ...เลือกพูดคุยกันในวงเล็กๆ

มันดีมากๆ เมื่อผู้เข้าร่วมได้ย้อนมองว่า ๑ ปีที่ผ่านมากรณีที่สำเร็จของตนเองนั้นคือ อะไร มีเรื่องราวอย่างไร อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จ ...จากนั้นให้ช่วยกันวิเคราะห์ว่า GAP ที่เหลืออยู่ที่ยังสามารถพัฒนาต่อนั้นมีอะไรบ้าง

ในช่วงนำเสนอ...ต่อ class ใหญ่...ท่านวิทยา เพชรรัตน์ สาธารณสุขอำเภอเมือง (อดีต สสอ.คำเขื่อนแก้ว) ท่านได้มาร่วมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยิ่งมีการต่อยอดความรู้และบรรยากาศที่ดีที่น่าชื่นชมมากๆ

ในหลายๆ พื้นที่ ได้เห็นโมเดลของการตอบโจทย์ในเรื่อง

  • คนน้อยงานมากแต่ Success >> โดยใช้การสร้างทีมในชุมชน ดั่งเช่นของ รพ.สต.หนองเรือ
  • พลังของ Primary care team
  • การไม่ผูดขาดเฉพาะระบบสาธารณสุข แต่...อาศัยพาคีเครือข่ายที่เป็นพลังของชุมชน

...

"FCT สมาร์ทและมีความสุข" ...หัวหน้าหญิงเอ่ย คือ สมาร์ทในวิชาชีพและมีปิติสุขในการทำงาน

"มีการใช้คำถามๆ ตนเองตลอด...จะเฮ็ดได้บ่(จะทำได้ไหม) ... และสุดท้ายก็ต้องหาทางช่วย" ...พื้นที่ รพ.สต.ดอนกลอย...

"หลายราย หมอบอกให้เอามาตายบ้าน แต่เรามองว่าก่อนตายต้องช่วยเขาเต็มที่ ปรากฏว่า ...เขาฟื้นตัวดีขึ้น" ...เรื่องเล่าจาก รพ.สต.หนองหิน

"แรกๆ ผู้ป่วยมะเร็งท้อ นอนรอความตาย ปรากฏว่าแม่แก่ๆ ที่ไม่ป่วยเป็นอะไรกลับตายก่อน ทำให้เห็นความไม่เที่ยง เมื่อ FCT เข้าไปดูแลช่วยเหลือเขา เขากลับดีขึ้น" ....กรณี รพ.สต.ทุ่งนางโอก

"เราเรียนรู้นะ โรงพยาบาลสอนอะไร พอกลับมาบ้านเราพาคนไข้ทำ ...สังเกตเรียนรู้" ...บางตอนจากบทเรียน รพ.สต.หนองหอย

"ความสัมพันธ์ในชุมชนดีขึ้น สังเกตจาก ...เงินทอดผ้าป่าที่มีมากขึ้น (ผู้พูดเล่าจบเสียงหัวเราะดังกันทั่วห้อง)"

"มีของมาต้อน..." (มีของมาฝาก)

"คนในหมู่บ้านก็มาช่วยกันคิดนวตกรรม..."

...

ข้าพเจ้าลองสรุปสั้นๆ ดูว่า ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ทีมงานหมอครอบครัวเครือข่ายอำเภอเมืองยโสธรมีพลัง...

  • พื้นฐานทางจิตใจของคนทำงาน ที่มีลักษณะขาลุย ไม่ย่อท้อ ทุ่มเทในการทำงาน ไม่ว่าจะมีนโยบายอย่างไร แต่ใจที่เต็มเปี่ยมเต็มที่ในการทำงาน
  • การตั้งคำถามและความพยายามที่แก้ไขปัญหาและอุปสรรคภายใต้ข้อจำกัดที่ตนเองมี
  • เชื่อมโยงประสบการณ์จากการทำงานอื่นมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เช่น กรณีประสบการณ์ความสำเร็จในการทำงานกับผู้สูงอายุนำมาใช้กับงาน FCT (Family care team)

จากวงเรื่องเล่า (Dialogue) ผ่านเรื่องความสำเร็จและเพิ่มการมอง/ค้นหา GAP ที่เหลืออยู่ สกัดออกมาเป็นกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้น จากนั้นกลับไปพัฒนากระบวนการในส่วนที่จะแก้ไข GAP (ถือเป็น Loop ที่ 2)

กระบวนการในรอบนี้ ...ถือได้ว่าเป็น Refection ...ในส่วนของคนทำงานเอง

"บรรยากาศดีมากเลยค่ะ ..."

"สิ่งดีๆเกิดขึ้นมากมาย. วันนี้พวกเรามาพลังมากมายที่จะก้าวเดิน"

"Success & Gap จากงานประจำสู่การวิจัย R2R2R เราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน ขอบคุณที่ชี้แนะและให้กำลังใจคนทำงาน"

...

นี่เป็นบางส่วน ของความรู้สึก

หมายเลขบันทึก: 598314เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2015 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2015 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท