10 สัญญาณบอกพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์เรื่องเงินทอง


คู่ ครอบครัว

10 สัญญาณบอกพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์เรื่องเงินทอง

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

  1. รีบเปลี่ยนเรื่องทันทีที่พูดเรื่องเงินทอง

คาลตัน เคนดริก (Carlrton) นักบำบัดครอบครัว จากบอสตัน สอนให้เราใจกับการเปลี่ยนเรื่องพูด เพราะนี่คือ สัญญาณบอกพฤติกรรมไม่ซื่อตรง จริงใจ แสดงว่าคู่ของคุณต้องมีอะไรซ่อนอยู่ หรือมีปมในใจ ร้ายแรงเรื่องเงินทอง

2. มีปฏิกิริยามากมาย เรื่องเจอคำถามง่ายๆเรื่องเงินทอง

เคนดริก การปกป้องตัวเองเกินเหตุ (defensive)การโกรธ(anger)และการกล่าวของโทษอีกฝ่าย(blame) คือสัญญาณไฟแดงเถือก ส่วนรูธ เฮย์เดน (Ruth Hayden)ที่ปรึกษาเรื่องการเงินและนักเขียนก็ตอกย้ำว่า สัญญาณเตือนภัยอย่างแรงคือ ถ้าคุณไม่สามารถคุยกับคู่ เรื่องเงินได้ เขาหรือเธอจะต้องแก้ตัวเกินเหตุ หรือต่อว่าคุณ แปลว่าเขาซ่อนเร้นอะไรอย่างแน่นอน

3.ยืนกรานจะขอคุมเงินทองคนเดียว

แนนซี เคมท็อบ (Nang Chemtob)ทนายความครอบครัวเล่าว่า ลูกความของเธอเยอะมากที่ถามถึงเรื่องเงินแล้วไม่รู้อะไรเลย เพราะตัวเองปล่อยให้คู่คุมเงินในบ้านแบบเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดคนเดียว การไม่ให้คุณรู้เรื่องเงินทองเลย คือ สัญญาณเตือนภัยว่าคู่มีอะไร ที่คู่ไม่อยากให้คุณรู้เรื่อง

4. อยู่ดีๆเงินก็ขายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการอยู่ดีๆเงินหายจากบัญชี เงินหายจากกระเป๋า เงินหายจากกองทุนฯลฯ เป็นอาการนักจิตวิทยาการเงิน บอกตรงกันหมดทั่วโลก เพราะเงินมันไม่มีทางอยู่ดีๆเดินทางไปเที่ยวเองได้ แต่ต้องมีคนพาไป

5. โกหกคนอื่น เรื่องเงินทองมาแล้ว คุณเคนดริก เจ้าเก่าสอนว่า คนที่เคยโกหก คนอื่นเรื่องเงินๆทองๆมาแล้เป็นสัญญาณเตือนภัยว่าเขาจะโกหกคุณด้วย เขาให้เราสังเกตพฤติกรรม ขี้โม้ ของแฟนเราที่ทำกับคนอื่น เช่นเงินเดือน 20,000 บาท บอกคนอื่นว่า 35,000 บาท หรือแม่ค้าทอนเงินเกินก็เก็บ มุบมิบไม่ยอมคืน พวกนี้เป็นสัญญาณบอกเหตุทั้งสิ้นครับ

6. ใช้จ่ายไม่สอดคล้องกับรายได้ เฮย์เดน ระบุว่านอกจากอาการป้องกันตนเองเกตุเหตุ เมื่อถูกถามเรื่องเงินแล้ว ถ้าคู่ของคุณมีเงินซื้อของมามามายโดยที่คุณเองไม่เข้าใจว่าเขาหรือเธอ เอาเงินจากไหนมาซื้อ นั่นคือสัญญาณเตือนที่ใหญ่มาก

7. พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรตนเอง เป็นสัญญาณบอกเหตุ ความเปลี่ยนแปลงที่แม่นมาก แอนเดรีย มิวราด (Andre Murad) นักเขียนจาก FOX Busimess Com สอนว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ประจักษ์ ชัดที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ใบแจ้งหนี้ จากเคยให้ส่งใบแจ้งหนี้มาที่บ้านของคุณทั้งคู่ กลับเปลี่ยนไปส่งที่ทำงานแทน ยิ่งถ้าเปิด PO Box พิเศษนั่นนะสัญญาณไซเรนเลยครับ

8. เอกสารการเงินมีอะไรแปลกๆ เช่นอยู่ดีๆหานไป หรือจู่ๆมีเอกสารทางการเงิน จากที่ไหนไม่รู้ส่งมา ผลการสำรวจเดือนมกราคม 2014 ขององค์กรพัฒนาทักษะแห่งชาติด้านการเงิน (NEFE)ของสหรัฐฯ ได้สรุปสัญญาณที่แสดงถึงพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์เรื่องการเงินเอาไว้ ๙งหนึ่งในนั้นคืออาการผิดแปลกของเอกสาร ได้แก่ใบแจงหนี้หายแล้ว คุณพบที่หลังว่า คู่เอาไปซ่อนไม่ให้คุณเจอ หรืออยู่ดีๆ มีเอกสารแจ้งการชำระเงินจากบริษัทหรือบัตรที่คุณไม่เคยสมัครมาก่อน

9. พ่อแม่มีปัญหาต่อกันเรื่องเงินทองตลอดเวลา นักจิตวิทยาที่เรารู้กันทั่วไปคือ สิ่งที่เราเชื่อ และทำในตอนโต ล้วนเรียนรู้จากวัยเด็กทั้งสิ้น เรื่องเงินทองก็เช่นกัน คู่รักจึงจำเป็นต้องเปิดใจเรียนรู้ ภูมิหลังกันไว้ดีกว่า เราโตมากับสถานการณ์ เงินทอง ภายในบ้านแบบไหน คล่องตัวหรือว่าขัดสน เข้มงวดหรือตามใจ ต้องคอยเป็นผู้ขอเงิน หรือว่าเท่าเทียมกันในการบริหารเงินฯลฯ เพราะมันส่งผลต่อชีวิตตอนโต และส่งผลมาถึงชีวิตการแต่งงานด้วยครับ

10. ล้างประวัติการใช้อินเตอร์เน็ต โดยไม่จำเป็น เป็นสัญญาณบอกอาการชื้อของออนไลน์แบบ Compulsive Shopping (ช็อปแบบไม่บันยะบังยัง) ซึ่งอาการเสพติด ชอปปิ้งนี้ เราจะเจาะลึกในโอกาสต่อไป

ข่าวจากสถานีโทรทัศน์ ในหัวข้อเกี่ยวกับ พฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ เรื่องการเงิน(Financial infidelity) ที่ระบุถึงผลการวิจัยจากสถาบัน ที่ปรึกษาทางการเงิน Financial Foundation of Credif Counseliry (FCC) ในหัวข้อ Breakdown the Money Lies และจากการสำรวจเรื่องความไม่ซื่อสัตย์ ทางการเงินของ Nation Endownent of Financial Education (NEFE) หรือองค์กรพัฒนาทักษะแห่งชาติ ด้านการเงิน สามารถสรุปพฤติกรรมที่เข้าข่ายดังกล่าวได้ดังนี้

  • Keep secret ปิดความลับ ไม่ยอมบอก เช่นปิดบังรายได้ที่แท้จริง ไม่บอกว่าต้องส่งเลี้ยงลูกจากคู่สมรสเก่า ปิดบังราคาของที่ซื้อมา
  • Hiding ซ่อนเร้น หมกเม็ด เช่นซ่อนเงิน ซ่อนใบแจ้งหนี้ ซ้อนของที่ซื้อมา
  • Lying โกหก เช่นโกหกเรื่องเงินเดือน โกหกเรื่องหนี้สิน โกหกเรื่องเอาเงินไปทำอะไร(โปรดระลึกว่าการโกหก ร้ายแรงกว่าการปิดบัง)
  • Deception หลอกลวง เช่น ซุกซ่อนบัญชีลับ ปกปิดบัญชีรายได้ ไม่ให้อีกฝ่ายรู้ยอดเงินที่แท้จริง บอกตัวเองไม่มีเงิน แต่ที่แท้จริงซุกซ่อนเงินจำนวนมาก (ร้ายแรงยิ่งกว่าการปิดบังและเข้าขั้นหลอกลวงแล้ว)
  • Stealing Cheating ขโมยโกง ยักยอก เช่น ขโมยเงินฝากร่วม ด้วยการถอนเงินไปโดยไม่บอก โกงด้วยการเอาเอกสารการเงินของคู่ หรือครอบครัวไปจ่ายหนี้ แต่กลับไม่จ่าย เอาไปใช้ส่วนตัว ยักยอกเงินหรือทรัพย์สินของคู่ หรือครอบครัว เข้ากระเป๋าตัวเอง ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินร่วม เพื่อไม่ให้คู่ หรือครอบครัวล่วงรู้ หรือครอบครอง (มักทำเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายได้ทรัพย์สินนั้นไป)
  • Scheming วางแผนลวงเอาเงิน เช่น วางแผนลวงให้คู่ หรือครอบครัว ลงทุนโดยหลอกหรือโน้มน้าวให้เซ็นมอบอำนาจ เซ็นเอกสาร เกี่ยวกับการเงิน หรือทรัพย์สิน เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
หมายเลขบันทึก: 598286เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2015 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2015 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สังเกตุว่า..เราไม่ชอบพูดหรือให้ถามเรื่องเงินๆทองๆกันมานานนม..นะเจ้าคะ..ถามไม่ได้..ไม่สุภาพ..5555...ไม่ว่าใคร..อิอิเป็นประเพณีนิยม..เหมือนกับว่า..อายุเท่าไร..ก็ห้ามถาม..ไม่สุภาพสุดๆ..555..

บางทีก็อยากถามว่า..ท่านนายก..เงินเดือนเท่าไร...เจ้าค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท