Transformative practice to peaceful mind


เช้าวันที่ 20 พฤศจิกายน ...มีอีกหนึ่ง session ที่ข้าพเจ้าได้รับโอกาสจาก อ.นพ.สุธี ที่ให้ความไว้วางใจเชื้อเชิญช่วยชวนพูดคุยกับคนต้นแบบ...ซึ่งในครั้งนี้ข้าพเจ้าเลือกพี่โอ - คุณสมหญิง อุ้มบุญ รพ.ป่าติ้ว และแถมมาด้วยอีกหนึ่งท่านคือ พี่แกะ-คุณอนงค์ลักษณ์ ฤทธิวุฒิ จาก รพ.คำเขื่อนแก้ว...

ข้าพเจ้ามาตัดสินใจชวนพี่แกะขึ้นเวทีด้วย ...ตอนตี3 ของเช้าวันที่ 20 เพราะเกิดความคิดปิ๊งแว้ปขึ้นมาว่า "ไหนๆ ก็ได้มาด้วยกันแล้ว ทำไมไม่ชวนขึ้นไปแบ่งปันและถ่ายทอดเรื่องราวด้วยกัน..." และพี่แกะก็ตอบตกลงข้าพเจ้า "...ว่าไงว่าตามกันค่ะ อาจารย์ เอาแบบโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 ใช่ไหมคะ..." ช่างเป็นอะไรที่เบิกบานแต่เช้ามาก

อันที่จริงแล้ว...R2R คำเขื่อนแก้วถือว่าเริ่มก่อน รพ.ป่าติ้ว แต่ทั้งสองแห่งก็ถือว่าเริ่มในปีเดียวกันเพียงแค่ห่างกันสองสามเดือนเท่านั้น

จากสองพื้นที่มีบทเรียนที่แตกต่างๆ กัน แต่ทั้งสองแห่งก็นำไปสู่ความเจริญงอกงามได้เช่นกัน

"คำเขื่อนแก้ว" เป็นบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า การเริ่มต้นขับเคลื่อน R2R แบบตั้งต้นอบรมวิจัยนั้นไม่ใช่วิถีทางที่นำมาซึ่งความสุขในการทำ มีอุปสรรคมากมาย แต่พี่แกะและทีมก็ไม่ได้ย่อท้อ ...ยังคงมั่นคงเรียนรู้ที่จะนำพาทีมและเครือข่ายใช้ R2R มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ... จนมาเป็นภาพแห่งความเข้มแข็งของ คปสอ.คำเขื่อนแก้วที่ขยับเป็น Meta R2R ทั้งอำเภอ

"ป่าติ้ว" ...เริ่มครั้งแรกไม่ success ในกลุ่มวิชาชีพต่างๆ หากแต่เกิดประกายในหน่วยงานสนับสนุนคนตัวเล็กตัวน้อยในองค์กร กลายเป็น ความเรียบง่ายของวิถีแห่งการเรียนรู้ R2R ที่ป่าติ้วนี้กระบวนการเรียนรู้ใช้ Dialouge หรือสุนทรียสนทนามาเป็นตัวนำที่นำไปสู่การเริ่มต้นทำ R2R

จุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การตัดสินใจ...ที่คล้ายกันของทั้งสองพื้นที่คือ...

"ความทุกข์ที่รู้สึกได้จากการทำงาน"

และเมื่อรู้สึกว่าตนเองเป็นทุกข์ ก็ไม่ได้ย่อท้อหรือยอมแพ้ ...หรือยอมจำนนต่อปัญหาหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นในหน้างานและองค์กร

พี่แกะและพี่โอ...มีความเชื่อและความศรัทธาคล้ายกันว่า "R2R น่าจะเป็นเครื่องมือที่น่าจะนำมาสู่การคลายทุกข์ของตนเองได้ ถึงแม้ว่า ณ ขณะนั้นจะยังไม่รู้จักว่า R2R คือ อะไร และจะดำเนินไปอย่างไร ...แต่เนื่องด้วยความคิดความเชื่อบวกกับความศรัทธาที่มีอยู่ ทำให้กล้าก้าวเข้าไปสู่บทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้น"

6 ปี...ของการเรียนรู้

ข้าพเจ้ามองว่า ทั้งสองแห่งไม่ได้ทำ R2R เพื่อผลิตงานวิจัย หากแต่ใช้ R2R มาเพื่อแก้ไขและพัฒนางานที่เต็มไปด้วยความทุกข์และอุปสรรคอย่างแท้จริง ดังนั้น การเรียนรู้เช่นนี้จึงทำให้ R2R Facilitator ทั้งสองท่านมีสภาวะของการแปรเปลี่ยนภายในอย่างชัดเจน และสะท้อนออกมาผ่านวิธีคิดและการกระทำ

การเผชิญต่อปัญหาและอุปสรรค ... ด้วยใจที่สงบและใช้ปัญญา สะท้อนถึงความนุ่มนวลที่ได้บ่มเพาะ

การเข้าใจโลก เข้าใจคน ...เข้าใจงาน และที่สำคัญ คือ เข้าใจปัญหาที่ตนเองกำลังเผชิญ ...คือ บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่ทั้งสองท่านได้เกิดการเรียนรู้ ผ่านการนำ R2R มาเป็นเครื่องมือนำพาก้าวไปสู่การเรียนรู้นั้นๆ

นี่คือ บทสรุปที่ข้าพเจ้าได้เกิดตกลึกในตนเองจากการได้นั่งฟังทั้งสองท่านพูดคุยในห้วงเวลาเดียวกัน

"R2R ไม่ได้เป็นเพียงเกิดมือเกลาปัญญาเท่านั้นหากแต่หลอมใจให้เกิดความนอบน้อมและอ่อนโยนด้วย..."

หมายเลขบันทึก: 597574เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2015 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2015 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท