ความรู้เรื่องการขนส่งสินค้าในธุรกิจส่งออก


หลักๆจะช่องทางการส่งสินค้าสำหรับส่งออกสินค้าไปยังลูกค้าในต่างประเทศนั้น จะมีด้วยกัน 3 ทางคือ...

  1. Sea Freight -ทางทะเล เอกสารประกอบระวางการส่งเรียก Bill of Loading (ฺB/L)
  2. Air Freight -ทางอากาศ เอกสารประกอบระวางการส่งเรียก Air Way Bill (ฺAWB)
  3. Land - ทางบกซึ่งอาจเป็นรถไฟ หรือรถบรรทุก เอกสารประกอบระวางการส่งอาจเป็นสำเนาใบเสร็จ Tally Sheet หรือเอกสารการรับส่งของแล้วแต่กฏระเบียบ ซึ่งการขนส่งทางนี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกันเช่น เมียนมาร์ ลาว เขมร และมาเลเซีย

การขนส่งสินค้าในธุรกิจส่งออกจะเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการ quote ราคา เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแตกต่างกัน ค่าขนส่งในแต่ละช่องทางนั้นก็แตกต่างด้วย ทีนี้มาดู Term ของการค้าต่างๆด้านการส่งออกกัน ซึ่งมีดังนี้

  1. FOB (Free on Board) เป็นการขายสินค้าเฉพาะการส่งสินค้าสิ้นสุดที่การที่สินค้าได้โหลดขึ้นบนเรือแล้วเท่านั้น ซึ่งการโหลดสินค้าจะมี 2 แบบคือ FCL = Full container load (เต็มตู้) และแบบ LCL = Less Container Load (ไม่เต็มตู้) ค่าทำเนียมต่อหน่วยสินค้าก็แน่นอนว่าหากเราโหลดประเภทเต็มตู้แล้ว ราคาดำเนินการต่อหน่วยก็จะตำ่กว่า
  2. C&F = Cost and Freight เป็นการขายสินค้าในการส่งสินค้าสิ้นสุดที่ท่าเรือปลายทาง ดังนั้นใน term การค้านี้ราคาจะสูงกว่า FOB เพราะรวมค่าขนส่งไปด้วย แต่ไม่รวมการประกันภัยสินค้า ซึ่งการโหลดสินค้าจะมี 2 แบบเช่นกัน
  3. CIF= Cost and Freight เป็นการขายสินค้าในการส่งสินค้าสิ้นสุดที่ท่าเรือปลายทาง รวมการประกันภัยสินค้า ดังนั้นใน term การค้านี้ราคาจะสูงกว่า C&F ที่เพิ่มขึ้นมาก็จะเป็นค่าประกันภัยซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาจจำเป็นกรณีสินค้ามีมูลค่าสูง ที่ต้องขนส่งหน้ามรสุมเป็นต้น ส่วนการโหลดสินค้าจะมี 2 แบบเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมี Term อื่นๆอีกหลากหลาย เช่น D/P (Documents against Payment, T/T (Telegraphic Transfer) เป็นต้น ซึ่งระยะเวลาการส่งมอบเอกสารจากผู้ขาย การชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อ จะต้องตกลงกันก่อนให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง ส่วนปริมานของที่จะส่งที่ได้ผลิตตามจำนวนออร์เดอร์แล้วนั้น มีประเภทตู้ขนส่งสินค้าให้เลือกใช้อย่างไรบ้าง ตามปริมาณสินค้า ลองมาดูกัน...

  1. สำหรับขนส่งทางเรือ ประเภทของตู้ส่งสินค้า
    1. ตู้สั้น หรือตู้ขนาด 20 ฟุต จะสามารถบรรจุสูงสุดได้ประมาณ 33 cubic meter
    2. ตู้ยาว หรือตู้ขนาด 40 ฟุต จะสามารถบรรจุสูงสุดได้ประมาณ 67 cubic meter
    3. และ 40HQ ฟุต ที่จะมีความสูงมากว่าตู้ 40จะสามารถบรรจุสูงสุดได้ประมาณ 76 cubic meterหรือที่เรียกตู้ยาว HQ นั่นเองซึ่งก็จะแน่นอนว่าสามาถบรรจุสินค้าได้ในปริมาณมากว่าตู้สั้น และทำให้ค่าขนส่งต่อหน่วยประหยัดลงด้วยเนื่องจากค่าระวางประหยัดกว่านั่นเอง ทั้งนี้จะมีตู้ขนาด 45 ฟุตที่สามารถจุสูงสุดได้ถึง 85 cubic meter อีกด้วย
  2. สำหรับขนส่งทางอากาศ และทางบก
    1. เนื่องจากค่าขนส่งทางอากาศนั้นมีอัตราค่าส่งที่สูงมาก และระวางในการขนส่งที่มีจำกัดกว่าทางทะเล และทางบก ส่วนใหญ่จึงใช้สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง หรือเร่งด่วนจริงๆ ส่วนใหญ่ปริมาณก็ไม่กี่ cbm การขนส่งทางอากาศแบ่งเป็น สินค้าทางอากาศแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่
      1.สินค้าทั่วไป (General Cargo)
      2.สินค้าที่ต้องการการดูเเลเป็นพิเศษ (Special Cargo)
      3.สินค้าของบริษัทสายการบินเเละพนักงาน (Service Cargo)
      4.สินค้าเเละไปรษณีย์ภัณฑ์ทางการทูต (Diplomatic Cargo and Mail)
    2. สว่นการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว เมียนม่าร์ เขมร และมาเลเซียนั้นก็จะมีทางบกดังกล่าวข้างต้น โดยใช้รถบรรทุกเป็นส่วนใหญ่ก็จะแล้วแต่ปริมาณสินค้าที่ส่งว่ามีมากน้อย ก็จะมีรถบรรทุกขนาดต่างๆตามความเหมาะสมนั่นเอง ซึ่งผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนจะมีรายละเอียดขนาดและค่าบริการให้ลูกค้าได้เลือกใช้หลากหลาย แม้กระทั่งการส่งไม่เต็มคันรถ ส่งปริมาณน้อยเป็นพัสดุก็สามารถทำได้

ขอย้อนกลับไปขยายความในส่วนตู้ Container ที่ใช้ส่งสินค้าทางเรืออีกนิด ที่ใช้คำว่าบรรจุสูงสุดได้...ก็เนื่องมาจากขนาดของกล่องสินค้าด้วยว่าจะสามารถออกแบบให้มีไซร้ที่สามารถใช้ประโยชน์การวางได้เหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะ คือกล่องสินค้าไม่ได้คำนึงถึงความกว้าง ยาว สูง ของตู้คอนเทนเนอร์แล้ว อาจเกิดการสิ้นเปลืองคือมีพื้นที่ด้านบนเหลือก็จะทำให้ปริมาณที่จะบรรจุเข้าไปทำได้น้อยนั่นเอง

อัตราค่าระวางของทางเรือจะประหยัดที่สุดและเป็นที่นิยม มีสายเรือ และบริษัทตัวแทนของสายเรือจำนวนมากประกอบกิจการการรับส่งสินค้าระหว่างประเทศ แต่ละบริษัทก็จะมีอัตราค่าบริการที่ใกล้เคียงกัน จะมีแพงกว่าบ้าง หรือถูกกว่าบ้างก็มี เช่นเดียวกับผู้ให้บริการขนส่งทางอากาศ และรถบรรทุกที่ข้ามชายแดนใกล้เคียงก็ตาม รายชื่อผู้ให้บริการเหล่านี้จะหาได้ง่ายกว่ารายชื่อลูกค้ามาก เนื่องจากเขาเหล่านี้โฆษณาการให้บริการของเขาอยู่เสมอๆนั่นเอง ส่วนใหญ่ต้องมีการจองระวางล่วงหน้า ผู้ให้บริการจะมีตารางเรือ หรือเที่ยวบินต่างให้ดูล่วงหน้า และจะมีกำหนดว่าหากต้องการส่งสินค้ากับเรือลำนี้ วันที่นี้ ต้องทำการยืนยันการจองช้าสุดเมื่อไหร่ ต้องส่งสินค้าลงเรือเมื่อไหร่ หากพลาดกำหนดการและการดำเนินการตามตารางก็เท่ากับจะพลาดการส่งสินค้า หรือภาษาของการส่งออกคือ "ตกเรือ" จะเกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่นการปรับค่าสินไหมจากลูกค้า การที่ต้องเสียค่าทำเนียมเพิ่มในการขายตั๋วกับธนาคารเพื่อขึ้นเงินใน L/C (Bank Negotiation Processing) เพราะเลยกำหนด (Discrepancy of late shipment) เป็นต้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการที่จะต้องมีประสิทธิภาพการจอง การจัดส่งให้ตรงเวลา ที่สำคัญคือความไว้วางใจจากลูกค้าจะน้อยลงด้วยนั่นเอง....

ส่วนคำศัพท์ต่างๆที่ต้องรู้เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ถูกต้องระหว่างเรา ลูกค้า กรมศุลการกร Forwarding Agent (ตัวแทนบริการจัดส่งสินค้าส่งออก) จะรวบรวมไว้ให้อีกทีนะคะ

หากทุกท่านคำนึงถึงประสิทธิภาพ คุณภาพการดำเนินการอยู่เสมอ ดังนั้นการศึกษารายละเอียดต่างๆในเรื่องที่เรายังไม่ชัดเจนก่อนเสมอจึงมีความจำเป็น ซึ่งปัจจุบันในยุคข้อมูลข่าวสารมีการเข้าถึงได้ง่ายด้วย เรายิ่งไม่ควรละเลย เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆให้มากที่สุด ความสำเร็จต่างๆก็อยู่ไม่ไกล ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการค้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 597448เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2015 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2015 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท