KM group5


เป็นตัวอย่างในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดการความรู้ มรภ.รำไพพรรณี__การจัดการความรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รุ่นที่ 5 ณ โรงแรมแก่งสะพือ จ.อุบลราชธานี

การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และองค์กรคุณภาพ รุ่นที่ 5  วันที่ 2 พฤษภาคม 2549  ณ โรงแรมแก่งสะพือริเวอร์ไซด์

*************************************************

ผู้บันทึก    นางสาวศิรินันทน์   พรหมดำรง

 

ผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งคณาจารย์ และ พนักงานข้าราชการ ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์คู่สัญญา ของหลายๆ คณะ เมื่อมาถึงโรงแรมแก่งสะพือ เวลา 08.20 น. ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าห้องพักและเข้าห้องประชุม จนกระทั่งเวลา 08.50 น. ท่าน รองศาสตราจารย์อรชร  พรประเสริฐ  เป็นพิธีกรกล่าวเรียนเชิญอธิการบดีเปิดงาน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสทื้อน  เทพรงทอง  เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดการประชุมครั้งนี้ การประชุมได้เปิดอย่างเป็นทางการในเวลา 09.15 น.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสทื้อน เทพรงทอง ได้กล่าวชี้แจงรายละเอียดของการประชุม แจ้งเหตุผลของการจัดประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ และนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 8 คน ประเด็นที่ต้องการให้ทุกคนเล่าคือเรื่อง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เล่าสิ่งที่ตนเองสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและคิดว่าเป็นความสำเร็จในการสอนของตน ซึ่งในรุ่นที่ 5 นี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ประมาณ  สุทธิเวสน์วรากุล เป็นวิทยากรมาเล่าเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นการสอนที่กำหนดไว้ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละกลุ่ม ผลัดเปลี่ยนกันเล่าเรื่องอย่างสนุกสนาน แล้ววิทยากรที่คอยดูแลและอธิบาย ก็มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสทื้อน   เทพรงทอง    รองศาสตราจารย์อรชร     พรประเสริฐ      อาจารย์สุวัฒน์   บรรลือ      อาจารย์ประมาณ  สุทธิเวสน์วรากุล       อาจารย์รฐา  จันทวารา  และ ตัวดิฉันเอง ก็ได้มาช่วยอธิบายบ้าง จากนั้นก็ให้ทุกคนเริ่มเขียนขุมความรู้ บางกลุ่มก็ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก ก็พยายามอธิบายค่อนข้างมาก   กิจกรรมครั้งนี้วิทยากรให้เวลา 1 ชั่วโมง จนเสร็จก็ให้ส่งตัวแทนกลุ่มที่มีเรื่องเด่นๆ มาเล่าให้ที่ประชุมฟัง 

หลังจากได้ปฏิบัติตามกิจกรรมการประชุม สามารถสรุปแก่นความรู้ได้ 5 แก่น คือ 1) การวางแผนการเรียนรู้ 2) กิจกรรมที่ปฏิบัติโดยครู 3) กิจกรรมของผู้เรียน 4) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล เมื่อได้แก่นความรู้แล้ว ก็จัดกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยนำแก่นความรู้ที่ได้ไปสร้างเกณฑ์ประเมินของแก่นความรู้ที่ได้รับ โดยเรียงลำดับเนื้อหาของเกณฑ์ที่ในกลุ่มกำหนดไว้จากใบขุมความรู้จากง่ายไปหายาก แล้วตัวแทนออกมานำเสนอเกณฑ์ที่กลุ่มกำหนดไว้ให้ที่ประชุมฟัง แต่รุ่นนี้ไม่มีข้อวิพากษ์ของเกณฑ์ประเมินที่กำหนดไว้

นำเกณฑ์ที่กำหนดได้ของแต่ละแก่นความรู้ทั้ง 5 แก่น มาทำตารางแห่งอิสรภาพ เพื่อนำมาให้ผู้เข้าร่วมประชุมประเมินตนเอง โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามหน่วยงานของผู้เข้าร่วมประชุม ในการประชุมครั้งนี้ มีประมาณ 15 โปรแกรมวิชา เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดนตรี นาฏศิลป์ พัฒนาชุมชน รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาไทย/จีน/อังกฤษ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ IT ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี สาธารณสุข เป็นต้น แต่แบ่งรวมได้ทั้งสิ้น 9 กลุ่มโปรแกรมวิชา แล้วนำตารางแห่งอิสรภาพที่สร้างขึ้นแจกทุกคนเพื่อให้แต่ละกลุ่มได้ประเมินตนเอง เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แล้วส่งผลการประเมินให้กับวิทยากรเพื่อนำไปสร้างธารปัญญา

นำข้อมูลที่ได้ไปสร้างธารปัญญา ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ทำให้ทราบว่าแต่ละกลุ่มประเมินตนเองอยู่ไม่น้อยกว่าระดับ 3 ของแต่ละแก่นความรู้ สูงสุดคือระดับ 5 และตั้งเป้าไว้ที่ระดับ 5 เป็นส่วนใหญ่ ธารปัญญาที่ได้ส่วนใหญ่จึงเป็นผู้พร้อมให้ แทบจะไม่มีผู้ใฝ่รู้ ดังนั้นกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ถ้าต้องการให้มีการพัฒนาตนเองให้มากขึ้นอาจจะต้องไปหาความรู้จากภายนอก จากหน่วยงานอื่น โปรแกรมวิชาอื่นๆ ที่นอกเหนือจะที่มีอยู่ในที่ประชุม จึงจะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ความรู้มากขึ้น

บรรยากาศการประชุมในรุ่นนี้มาจากหลายกลุ่ม ต่างโปรแกรม ต่างคณะ ดังนั้นจึงค่อนข้างเงียบแต่ก็รับฟังด้วยความตั้งใจ โดยเฉพาะตอนเข้ารวมกลุ่มแบ่งเกณฑ์ ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้เป็นอย่างดีภายในกลุ่ม ร่วมกันเล่า ช่วยกันแบ่งเกณฑ์ ถือว่าการประชุมเป็นไปด้วยความราบรื่น

เมื่อการจัดการความรู้เสร็จสิ้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสทื้อน  เทพรงทอง ได้กล่าวบรรยายต่อเกี่ยวกับการประเมิน ก.พ.ร. และ สมศ. ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แม้ส่วนใหญ่ในที่ประชุมจะเป็นอาจารย์คู่สัญญา แต่ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลในการประเมินมหาวิทยาลัย ซึ่งก็ได้อธิบายเกี่ยวกับตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัดที่ต้องดูแล และให้อาจารย์ทุกท่านได้รู้หน้าที่ของตนเองว่าต้องทำอะไร อย่างไร เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จากนั้นจึงรับประทานอาหารเย็นเมื่อเวลา 18.30 น.

            นที่สองของการประชุม เวลา 09.00 น. เริ่มด้วยการบรรยายของ ผศ.สุวัฒน์  บรรลือ บรรยายเรื่อง การจัดการความรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต (http:/www.gotoknow.org) ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจเป็นอย่างดี  จนกระทั่งเวลา 10.30 น.  จึงเริ่มการบรรยายของ ก.พ.ร. และ สมศ. อีกครั้ง โดยท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชุม  ผงผ่าน  และ สรุปทั้งหมดโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสทื้อน  เทพรงทอง 

เมื่อกิจกรรมการบรรยายเสร็จสิ้น จึงให้ผู้เข้าร่วมประชุมทำกิจกรรม AAR โดยให้ทุกคนได้บอกถึงสิ่งที่ได้รับจากการประชุม และ การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #kmubru#รุ่นที่5
หมายเลขบันทึก: 59699เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท