PATTAYA 2015 PARA BEACH VOLLEY STANDING CHALLENGE CUP: Part I กีฬาวอลเล่ย์บอลชายหาด / คณะผู้บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ


คณะผู้บริหารองค์กรฯ ตั้งใจจะผลักดันให้กีฬาชนิดนี้บรรจุในการแข่งขันกีฬา ASIAN Gameในครั้งต่อไปซึ่งประเทศอินโดนนีเซียได้ รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน ASIAN Game ในปี 2018 และจะพยายามให้ก้าวไปสู่การแข่งขันระดับ Olympic ต่อไปในอนาคต

การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดคนพิการ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2558 ณ สนามหาดบ้านอำเภอ ตำบลนาจอมเทียน จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย มีทีมเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 7 ทีม ประกอบด้วย

1. ประเทศสหรัฐอเมริกา 1 ทีม
2. ประเทศโปแลนด์ 1 ทีม
3. ประเทศคาซัคสถาน 1ทีม
4. ประเทศเยอรมนี 1 ทีม
5. ประเทศโปแลนด์1 ทีม
6. ประเทศลาว 1 ทีม
7. ประเทศไทย ทีมเอ (A)
8. ประเทศไทย ทีมบี(B)

ประเทศไทยรับความไว้วางใจจากองค์กรวอลเล่ย์บอลสำหรับคนพิการโลก (WOVD) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระดับนานาชาติ ขึ้นเป็นครั้งแรกหากไม่มีการเริ่มต้น ก็ไม่มีการก้าวต่อไป การจัดงานครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการจุดพลังในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาศักยภาพของกีฬาวอลเล่ย์บอลชายหาดคนพิการ ให้มีความก้าวหน้า และยังช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น


คณะผู้บริหารองค์กรฯ ตั้งใจจะผลักดันให้กีฬาชนิดนี้บรรจุในการแข่งขันกีฬา ASIAN Games ในครั้งต่อไปซึ่งประเทศอินโดนีเซียได้ รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน ASIAN Games ในปี 2018 และจะพยายามให้ก้าวไปสู่การแข่งขันระดับ Olympic ต่อไปในอนาคต กีฬาโอลิมปิคคนพิการจะจัดขึ้นครั้งต่อไป ในปี 2016 ที่ประเทศบราซิล



Singapore will welcome 3,000 athletes and officials from around the region when we host the 8th ASEAN Para Games for the first time from 3rd to 9th December 2015. In support of this multi-sport event, Cycle & Carriage will provide 78 vehicles, comprising of 15 Mercedes-Benz E220, 30 Mitsubishi Altrage, 15 Mitsubishi Outlander, 10 Kia Forte K3, five Citroen Cactus and three multi-seater commuters from Maxus. This is to ensure that dignitaries, officials and guests, especially those with special needs will receive a first class experience at the Games. On top of that, Cycle and Carriage will further extend their sponsorship of the wheelchair-friendly Maxus commuter to the Singapore Disability Sports Council (SDSC) for another two years after the games as part of the company’s continuous support in bringing ease of accessibility to persons with disabilities. “The purposefully retrofitted Maxus commuter from Cycle & Carriage introduces greater possibility in the local motoring market to make transportation more inclusive. The event (8th ASEAN Para Games) is a highly relevant platform to showcase how a standard people mover can easily be repurposed locally, to offer greater accessibility and convenience to persons with disabilities” said Mr Eric Chan, Managing Director of Singapore Motor Operations.

ประเทศสิงคโปร์รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน 8th ASEAN Para Games ( 3-9 ธันวาคม 2558)เครดิตภาพและข่าวจากเวปไซต์aseanparagames2015.com

SONY DSC

Indonesia has agreed to host the next edition of the Asian Para Games in 2018

เครดิตภาพและข่าวจากเวปไซต์asianparalympic.org

Carlos Nuzman

เครดิตภาพและข่าวจาก เวปไซต์ Paralympic.org

ข้อมูลการจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดคนพิการ

1. จำนวนนักกีฬา 3คน/ ทีม
2.ประเภทของความพิการ ระดับ A- D
3. กฎ-กติกา ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับนักกีฬาวอลเล่ย์บอลชายหาดทั่วไป

4. การจัดการแข่งขันแบ่งเป็น 2 สาย สาย เอและบี เพื่อให้แต่ละทีมได้มีโอกาสเข้ารอบชิง

สายเอ ( Group A)
1. THA A 2. LAO 3. GER




นักกีฬาจากทีมไทย A

คุณปกรณ์ (คนยืนกลาง) กับทีมลาว

พี่ติ๊ก...เลซองประจำทีมเยอรมนี

สายบี ( Group B)
1. KAZ 2. THA B 3. POL 4. USA



Mr.Moo เลซองประจำทีมคาซัคสถาน



นักกีฬาจากทีมไทย B


น้องสมาร์ทเลซองประจำทีมอเมริกา

คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคระดับนานาชาติ International Technical Officers

1. Mr. Billy Lee, PJK ประเทศมาเลเซีย ตำแหน่งTechnical Delegate
2. Ms.Chang Irene ประเทศมาเลเซีย ตำแหน่ง ASST Technical Delegate
3. Mr.Atan Bin Muda ประเทศมาเลเซีย ตำแหน่ง Chief Classifier
4. Mr.Ebrahim Firouzi ประเทศอิหร่าน ตำแหน่ง Referees Delegate
5. Mr.Lok Chung Fong ประเทศมาเลเซีย ตำแหน่ง Jury Member
6. Mr.Alireza Gholizadeh ประเทศอิหร่าน ตำแหน่ง Referee
7. Mr.Mohd Taufiq Hanif Bin Hamdan ประเทศมาเลเซีย ตำแหน่ง Referee
8. Mr.Mahdi Navidini ประเทศอิหร่าน ตำแหน่ง Referee
9. Mr.Nazarudin Bin Said ประเทศมาเลเซีย ตำแหน่ง Referee

คณะกรรมการตัดสินการแข่งขัน (Competition Referees) ชาวไทย
1. Mr.Saran Tubsombut (จ่าเอกศรัณย์ ทับสมบัติ)
2. Mr.Pairot Penwijit (นายไพโรจน์ เพ็ญวิจิตร)
3. Mr.Amporn Nontijan (จ.อ.อัมพร นนทิจันทร์)

น่าภูมิใจกับคณะกรรมการตัดสินชาวไทยทั้ง 3 ท่าน



Mr.Amporn Nontijan (จ.อ.อัมพร นนทิจันทร์)



Mr.Saran Tubsombut (จ่าเอกศรัณย์ ทับสมบัติ)

Mr.Pairot Penwijit (นายไพโรจน์ เพ็ญวิจิตร)



คุณชาญวิทย์ มุนิกานนท์(สูทสีเทา) นายกสมาคมกีฬาคนพิการทางปัญญาแห่งประเทศไทย คุณชัยทัศน์ โค้ช ชาวไทย(เสื้อสีแดง-ขาว) กับคณะกรรมการผู้บริหาร PARA VOLLEY ASIA OCEANIA (PVAO)

คณะกรรมการบริหารงานกีฬาวอลเล่ย์บอลชายหาดคนพิการ PARA VOLLEY ASIA OCEANIA 2015-2018
President : Mr.Lam Song Shen
Vice-President : Dr. Batoul Moshref Javadi
Secretary –General : Hadi G Rezaei
Deputy Secretary –General : Ms Chang Irene
Honorary Treasurer: Mr. Gan Khong Min

Sport Director : Mr. Billy Lee
Development Director : Mr.Tu Wei Ping
Classification Commission: Dr.Ma Jin Zhong

Referees Commission: Mr.Ebrahim Firouzi
Coaches : Mr.Ali Moameri
Para Beach Volley : Dr. Stephen Guigni

Sub-Zonal Representatives
West Asia Mr.Mohd Salman (Iraq)

Central Asia : Mr.Baurzhan Takhaou ( Kazakhstan)

South Asia : Sri Lanka
Southeast Asia:Dr.Kyi Soe( Myanmar)

East Asia: Mr.Dong Xue-mo
Oceania : Australia


คณะกรรมการปฏิบัติงานฯ

ฝ่ายธุรการและการเงิน : ปฏิบัติหน้าที่ประสานงาน-ติดต่อและจัดทำเอกสารและการเบิกจ่ายฯ

ฝ่ายยานพาหนะ : จัดรถเพื่อรับ-ส่ง ทีมนักกีฬาและกรรมการ และอำนวยความสะดวกการรับ-ส่งที่สนามบิน



พล.ต.โอสถ ภาวิไล นายกสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย คุณแหม่ม และคณะยานพาหนะ

ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม : จัดบริการเรื่องอาหาร - ขนม-ผลไม้ และน้ำดื่ม ไว้บริการคณะกรรมการและทีมงาน ช่วงสาย-บ่าย



ฝ่ายดูแลการจัดการแข่งขัน : มีหน้าที่จัดสถานแข่งขัน ทั้งสนามการแข่งขันและส่วนที่นั่งชม และจัดหาพนักงานมาช่วยงานด้านสนามในระหว่างการแข่งขัน จัดเก็บข้อมูลฯ

บันทึกข้อมูลลงเอกสาร-จัดระเบียบ- ตรวจสอบผลการตัดสิน



คุณ Billy Lee กำกับ-ดูแล-ทำหน้าที่พิธีกรสนามอย่างมืออาชีพ


ฝ่ายดูแลเรื่องความปลอดภัย : มีหน้าที่ดูแล-จัดการให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ฝ่ายผู้ดูแล ติดต่อ-ประสานงาน (Liaison ): ปฏิบัติหน้าที่ ดูแล ติดต่อ-ประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้กับคณะกรรมการ โค้ช และนักกีฬา ทั้งด้านการรับส่ง ด้านอาหาร ด้านการจองสนามฝึกซ้อม และเรื่องอื่นๆ ตามความเหมาะสม




ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะทีมงานเลซอง (Liaison) ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ แม้จะมีทีมเข้าแข่งขันเพียง 7 ทีม จาก 6 ประเทศ แต่กิจกรรมและเรื่องที่ต้องดูแลก็ไม่น้อยและไม่ต่างไปจากการดูแลกลุ่มใหญ่ๆ การปฏิบัติหน้าที่เลซอง ถือว่าเป็นบทบาทสำคัญที่ต้องปฏิบัติอย่างเต็มที่-เต็มกำลัง-เต็มความสามารถคล้ายกับฑูตวัฒนธรรม หากเกิดกรณีที่มีการต่อรอง หรือการร้องขอจากคณะฯที่ดูแล เลซองต้องตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างสุขุม-รอบคอบ ไม่ให้เกิดผลกระทบ หรือนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทั้งด้านกำหนดการ ด้านงบประมาณส่วนกลางฯ และอื่นๆ อีกทั้งยังต้องรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กรและประเทศชาติ



ทีมงานเลซอง น้องสมาร์ท - ผู้เขียน - น้องยุ่ง - Mr.Moo และคุณพี่สุรภี(พี่ติ๊ก)



ดูแลคณะผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง Mr. Billy Lee , Ms.Chang Irene , ภรรยาคุณ LAM และ Mr.Lam Song Shen


***...ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ...***
(โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป)



หมายเลขบันทึก: 596972เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2015 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท