การศึกษาสำหรับอนาคต


วันก่อนระหว่างที่กำลังเลื่อนนิวส์ฟีดเฟซบุคอย่างเมามันในบรรยากาศวันหยุดสบายๆ ก็ดันไปเจอรูปของผู้หญิงคนหนึ่ง(ค่อนข้างจะดัง) อัพโหลดรูปใบเกรดลูกสาวเธอที่กำลังเรียนอนุบาล 1 ในใบเกรดรายงานผลการเรียนทักษะพื้นฐาน ภาษาไทย อังกฤษ การอ่าร การฟัง นานาสารพัด ว่าสิ่งเหล่านี้บุตรีของเธอทำได้เกือบเต็ม

ถ้ามองกันผ่านๆ เราก็จะเห็นเป็นเรื่องของแม่คนหนึ่งที่ภูมิใจและแสดงออกมาว่าลูกตนนั้นทำคะแนนได้ดีเฉยๆ แต่พอผมเอามามองอีกทีอย่างใช้เวลากบมันแล้ว ก็เกิดความรู้สึกว่านี่เราอยู่ในสมัยที่คะแนน เกรด ตัววัดผลต่างๆ มีผลแทบทุกระดับอายุของเด็กและวัยรุ่นแล้ว

มีทั้ง วัดคะแนนเด็กระดับอนุบาล มีสอบขึ้น ป.1 มีติวสอบขึ้น ป.1 อีก สอบขึ้น ป.6 ติวสอบ ป.6 สอบขึ้น ม.1 ม.4 ฯลฯ (อย่างหลังทั้งสองอันจะไม่ค่อยแปลกใจกันเท่าไหร่ ผมเองก็ต้องผ่านจุดนั้นมาเหมือนกัน และคิดว่ามันจำเป็นจริงๆ)

จะว่าผมซีเรียสก็ได้นะ แต่ด้วยการที่ระบบการศึกษาเราถูกทำให้"เยอะ"เกินไป ผมก็แอบหวั่นถึงคุณภาพของคนที่กำลังเรียนอยู่และในอนาคตจริงๆ ใหนเราจะมีทั้งพ่อแม่กลุ่มหนึ่งที่หวังให้ลูกหลานเป็นเลิศในทุกๆอย่าง ระบบการศึกษาที่เรียนเต็มสูบทุกวิชา โรงเรียนกวดวิชา ติวเตอร์มีกันเป็นดอกเห็ด อาจารย์คนนี้อังกฤษ อาจารย์คนนั้นเคมี อาจารย์คนนู้นฟิสิกส์

เหมือนว่าเรากำลังมองแค่ว่าการศึกษามันมีเพียงแค่นี้จริงๆในสังคม แค่มีวิชาหลายวิชา มีการสอบงัดเอาคะแนนแต่ละคน ไม่เก่งก็ต้องไปปั๊มกวดวิชาให้เข้มๆ ใครไม่มีตรงนี้อาจจะได้เกรดดีๆยาก หรืออาจะเป็นเด็กคะแนนต่ำๆเลย หนักมากกลายเป็นเด็กมีปัญหาอีก

เราถูกมองทางสังคมกดดันกันว่าการศึกษามันมีอยู่กันแค่นี้ แต่จริงๆแล้วหลายๆอย่างกลับหายหรือถูกลดความสำคัญจากที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นเวลาว่างที่จะให้วัยกำลังเรียนได้ผ่อนคลายและทำงานอดิเรก,ศึกษาสิ่งที่ตนชอบ วิชาที่เกี่ยวกับเรียนรู้จริงๆ วิชาแนวจริยะ การเข้าสังคม ตรรกะ การคิดแบบมีเหตุมีผล กลับไม่มี

ในที่สุดเราก็จะได้นักเรียนที่ขาดๆเกินๆ บางอย่างมีจนล้นหลาม แต่ทักษะอื่นๆขาดหายไป (ตัวอย่างมีกันให้เห็นแล้วในปัจจุบันที่บริษัทหลายบริษัทหน่ายเหนื่อยกับนักศึกษาจบใหม่ที่ขาดทักษะที่ควรจะมี) บางคนเรียนในระบบจนไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร จบมาอยากทำอะไร

เราถูกสังคมเปลี่ยนมุมมองของเราว่าตัวเลขตัววัดผลนั้นมีค่ามากกว่าสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้...

เครดิต : TheeraSingh

หมายเลขบันทึก: 596452เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2015 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2015 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท