จิตวิญญาณของความเป็นครู


จิตวิญญาณความเป็นครู

"...ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยันและ อุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดทน และอดกลั้น สำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติของตน ให้อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดีงาม รวมทั้งต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ..."

พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส. (28 ตุลาคม 2523).

ครูในอดีตมีจำนวนมาก ที่มีลักษณะครูอาชีพเป็นครูด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ มีความห่วงใยต่อศิษย์ดุจลูกของตนเอง แต่เมื่อเวลาผ่านมามีกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มากระทบทำให้มีครูอาชีพที่เป็นปูชนียบุคคลลดน้อยลงไปอย่างน่าเป็นห่วง ด้วยสาเหตุอะไรนั้นเป็นเรื่องน่าคิด แต่ก็ไม่อยากให้คิดมากจนเสียเวลาที่จะเตรียมระบบใหม่ที่จะสร้างครูของครูให้เป็นครูอาชีพ เพื่อที่จะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีส่งต่อไปยังลูกศิษย์ที่เป็นครู

ครูที่มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างภาพลักษณ์ของครูที่ดีได้ นั่นคือ ครูที่ศรัทธาต่ออาชีพครู รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นครูที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่เป็นครู

“ จิตสำนึกและวิญญาณครู” จุดเริ่มต้นน่าจะอยู่ที่การสร้างศรัทธา ให้กลับมาสู่อาชีพของครูให้ได้มากที่สุด

สังคมไทยมีความคาดหวังในตัวครูสูงทุก ๆ ด้าน
ครูปัจจุบันมีคุณสมบัติลดหย่อนไปจากความคาดหวัง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดหวังไปบ้าง
แต่ก็มีคุณสมบัติบางด้านสูงกว่าที่สังคมคาดหวังก็มี
เชื่อว่าในปัจจุบันครูมีสมรรถภาพสูงกว่าครูในอดีตในหลาย ๆ ด้านอย่างแน่นอน แต่บางด้านก็ต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

การแก้ปัญหาและการยกระดับคุณภาพของครูให้สูงขึ้นคงต้องขึ้นอยู่กับ ผู้ที่เรียกตนว่า "ครู" แล้วละครับ

คำสำคัญ (Tags): #คคค
หมายเลขบันทึก: 596427เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2015 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2015 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท