การพัฒนาบริการพยาบาล


จะทำโดยคนเดียวไม่ได้

เรื่องการจัดการความรู้ เป็นเรื่องที่ต้องทำต้องปฏิบัติจริงๆ  มีแนวคิดที่จะจัดทำการจัดการความรู้ในภาพรวมของฝ่ายบริการพยาบาล  ให้มีหอผู้ป่วยต่างๆมาร่วมกันปรับปรุงกระบวนการทำงาน  เพื่อให้เกิดการรวมตัวที่เป็นไปได้  จะต้องแบ่งหอผู้ป่วยออกเป็นกลุ่ม   แต่การนำหอผู้ป่วยมาแบ่งกลุ่มได้นั้น จะทำโดยคนเดียวไม่ได้ต้องนำเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการของฝ่ายฯ  เพราะจะไม่ได้รับความร่วมมือ  ได้อาศัยที่ประชุมผู้ตรวจการพยาบาล เล่าให้ฟังถึงแผนการนำเอา KM มาใช้ในการพัฒนาการบริการพยาบาล โดยให้ทุกหอผู้ป่วยมาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงาน  แต่ละกลุ่มจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนางานของกลุ่มเอง  ที่ประชุมเห็นด้วย  และขอให้ที่ประชุมช่วยพิจารณาการแบ่งกลุ่มตามลักษณะงาน  หรือที่มีงานสัมพันธ์กัน และขอให้มีกลุ่มของผู้ตรวจการพยาบาลล้วนๆ  1  กลุ่มด้วย  ได้ออกมา 8 กลุ่มได้แก่

  • - กลุ่มศัลยกรรมทั่วไป ประกอบด้วย ศัลยกรรมหญิง  ศัลยกรรมชาย1  ศัลยกรรมชาย2  ศัลยกรรมเด็ก  พิเศษ ฉบ.8  พิเศษ ฉบ.7 พิเศษ ฉบ.12
  • กลุ่มศํลยกรรมเฉพาะทาง  ประกอบด้วย  trauma  Neuro  Orthoชาย ENT EYE พิเศษฉฐ.11
  • กลุ่มอายุรกรรม ประกอบด้วย Medหญิง  Medชาย1 Medชาย2 & RCU พิเศษฉบ.9 พิเศษฉบ.10 จิตเวช
  • กลุ่มกุมาร ประกอบด้วย เด็ก1  เด็ก2  NICU  PICU พิเศษเด็ก
  • กลุ่มสูติ-นรีเวช ประกอบด้วย นรีเวช สูติกรรม  พิเศษสูติ  พิเศษนรีเวช  ห้องคลอด  พิเศษทั่วไป
  • กลุ่ม OPD &ER ประกอบด้วย OPD 1,2,3 PCU  ER  SDC
  • กลุ่มผ่าตัด & วิกฤติ ประกอบด้วย ICU1  ICU2  OR  OR basement  ศูนย์อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์
  • กลุ่มผู้ตรวจการพยาบาล

   เมื่อได้กลุ่มชัดเจน ได้ทำการสื่อสารให้หอผู้ป่วยทราบถึงการดำเนินการว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรบ้างในช่วงใด  สิ่งที่หอผู้ป่วยจะต้องร่วมดำเนินการ  และสิ่งที่ หอผู้ป่วยจะได้จากการดำเนินการครั้งนี้ โดยผ่านการประชุมคณะกรรมการฝ่ายฯ


    ทีมทำงานมีด้วยกัน 10 คน ได้มาจากการทาบทาม  โครงการแรกที่เราจัดให้เป็นโครงการเชิงปฏิบัติการ  ในชื่อโครงการ  ขับเคลื่อนความรู้สู่การปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมายเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย  พยาบาลอาวุโส 2-3 คนต่อหน่วยงาน  มีคนร่วมเข้าโครงการ 150 คน มีวัตถุประสงค์ของโครงการ
   1. เพื่อพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่
   2. เพื่อให้บุคลากรหลากหลายทักษะ  หลากหลายวิธีมีการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภานในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน
   3. เพื่อให้มีการนำความรู้จากภายนอกมาปรับให้พร้อมใช้ในบริบทของหอผู้ป่วย/หน่วยงาน

  เนื้อหาการจัดอบรมประกอบด้วย
    1.  การจัดการความรู้ : การขับเคลื่อนความรู้สู่การปฏิบัติ
    2.  เครื่องมือการขับเคลื่อนความรู้สู่การพัฒนางาน
    3.  เทคนิคการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงงาน
    4.  เครื่องมือจัดการความรู้ชุด ธารปัญญา
    5.  Work Shop พัฒนางานและเรียนรู้ด้วยกิจกรรมกลุ่มย่อย
    6.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้ง 8 กลุ่ม
  

ในการจัดประชุมเราแบ่งเป็น 3 ช่วง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้โดยไม่กระทบกับงานประจำมากนัก
ช่วงที่1 จัด 2 วัน ช่วงที่2 และ3 อย่างละ ครึ่งวันขึ้นกับความพร้อมของแต่ละกลุ่ม

ในการจัดให้มีการพบปะกันในการแลกเปลี่ยนความรู้กันนั้น  ได้สร้างบรรยากาศให้เกิดความเป็นกันเองเพราะต่างคนมาจากต่างหน่วยงาน โดยนำความคิดการทำกิจกรรม QCC ให้มีการร่วเสนอชื่อกลุ่ม  สัญญาลักษณ์ นับว่าได้ผล  หลังจากนั้นให้กลุ่ม Brain storm  หาเป้าหมาย หรือ KV ของกลุ่มว่าเป็นเรื่องอะไร  แต่ละกลุ่มสามารถกำหนด KV  ของแต่ละกลุ่มได้ดังนี้
- กลุ่มศัลยกรรมทั่วไป   การให้ข้อมูลผู้ป่วย
- กลุ่มศัลยกรรมเฉพาะทาง   ผู้ป่วยปลอดภัยจากการพลัดตก/หกล้ม
- กลุ่มอายุรกรรม  การบริหารยาอย่างปลอดภัย
- กลุ่มกุมาร  เพิ่มประสิทธิภาพการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ
- กลุ่มสูติ-นรีเวช  การให้คำปรึกษาผู้ป่วยสูติ-นรีเวชอย่างมีคุณภาพ
- กลุ่มOPD & ER การพัฒนาระบบนัดหน่วยผู้ป่วยนอก
- กลุ่มผ่าตัด  วิกฤต   การพัฒนาคุณภาพในการรับ-ส่งผู้ป่วยระหว่าง ICU กับ OR
- กลุ่มผู้ตรวจการพยาบาล  การเตรียมความพร้อมในการใช้มาตรฐานโรงพยาบาล และบริการสุขภาพ ฉบับฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

เมื่อแต่ละกลุ่มกำหนด KV ของกลุ่มแล้ว ขั้นตอนต่อไป ให้กลุ่มร่วมกันกำหนดปัจจัยที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นได้สำเร็จ โดยให้แต่ละคนใช้ความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานมา Sharing 
 ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีประธานทำหน้าที่เป็น Facilitator และมี note taker กลุ่มละ 2 คน มีกรรมการ km เป็นพี่เลี้ยงค่อยช่วยเหลือทั่วๆไปกลุ่มละ 1 คน  ในการแลกเปลี่ยนความรู้มีบรรยากาศที่ดีและสนุกต่างคนต่างเล่าสิ่งดีๆให้เพื่อนๆได้ฟัง หลายกลุ่มลืมเวลารับประทานอาหาร  หลายคนสะท้อนว่าเป็นการประชุมที่ผ่อนคลาย ได้รับรู้สิ่งดีๆจากหน่วยงานอื่น
    หลังจากการอบรมครั้งนี้ให้กลุ่มนัดทีมงานอย่างอิสระพบปะกันอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อสรุปถึงปัจจัยและองค์ประกอบแต่ละตัวให้กำหนดระดับออกเป็น 5 ระดับตั้งแต่น้อยไปหาค่ามากที่สุด ในการกำหนดครั้งนี้ได้ใช้กรอบของ อาจารย์อนุวัฒน์เป็นกรอบแนวคิดจาก Scoring Guidline : for Continuous Improvement to Excellence

หมายเลขบันทึก: 59608เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอต้อนรับสู่โลก Gotoknow ค่ะ

เรื่องที่เล่า เป็นโครงการที่ดีมากเลยค่ะ พี่แอ๊ด เล่าไดลื่นไหลดีมากเลยค่ะ ไม่เหมือนที่ถล่มตัวว่าเขียนไม่เก่ง  จะรออ่านต่อไปนะคะ

 

ต้องขอบอกว่า อยากจะร้องไชโยเลยล่ะค่ะ ที่ได้เห็นบันทึกนี้ ขอบคุณพี่แอ๊ดมากๆที่เปิดตัวด้วยบันทึกที่น่าประทับใจอย่างนี้ จะคอยติดตามความคืบหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท