ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

ดูหมิ่น


ดูหมิ่น

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

ตามประมวลกฏหมายอาญาบัญญัติไว้ใน มาตรา 393 “ ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ซึ่งองค์ประกอบความผิดของมาตรา 393 มีดังนี้

1.ดูหมิ่น

2.ผู้อื่น

3.ซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา

4.โดยเจตนา

จากองค์ประกอบข้างต้นกระผมขออธิบายเพิ่มเติม

1.ดูหมิ่น จากพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน โดย นายมานิต มานิตเจริญ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ ดูหมิ่น” คือ เหยียดหยาม , ดูถูก,เหยียบย่ำ,ดูหมิ่นดูแคลน,ดูหมิ่นถิ่นแคลน

เช่นฏีกาที่ 1623/2551 คำว่า ทนายเฮงซวย ตามพจนานุกรม คำว่า “ เฮงซวย” หมายถึง เอาแน่นอนไม่ได้ , เลว , ไม่ดี ฉะนั้น คำว่า “ทนายเฮงซวย” จึงเป็นถ้อยคำคำด่าที่ทำให้โจกท์เกิดความเสียหาย เป็นการทำให้ถูกเหยียดหยาม จึงมีความผิดตาม ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 393

2.ผู้อื่น คือ ผู้เสียหายหรือบุคคลซึ่งถูกดูหมิ่น โดยมากมักจะเป็นบุคคลธรรมดา

3.ซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา

ซึ่งหน้า หมายถึง ทำต่อหน้า ไม่ทำลับหลัง กับผู้ที่ถูกดูหมิ่น

ด้วยการโฆษณา หมายถึง กระทำอย่างเผยแพร่เพื่อให้คนอื่นรู้ เช่น ลงสื่อต่างๆ (หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต)

4.โดยเจตนา คือ ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนา ต้องตั้งใจ จงใจ ที่ดูหมิ่น

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการตีความที่มากขึ้น ขอให้ท่านลองเข้าไปดู ฏีกาต่างๆ ซึ่งจะทำให้รู้ว่าการตีความจะเข้าความผิดฐานดูหมิ่นหรือไม่ เช่น ฏีกาที่ 5772/2542 , ฏีกาที่ 3800/2527 , ฏีกาที่ 2220/2518,ฏีกาที่ 2089/2511 , ฏีกาที่ 3176/2516 , ฏีกาที่ 259/2514 เป็นต้น)


คำสำคัญ (Tags): #ด
หมายเลขบันทึก: 595772เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท