ศิลปะในการอยู่ร่วมกัน


มุมมองที่แตกต่าง

ศิลปะในการอยู่ร่วมกัน

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา)

ศิลปะในการอยู่ร่วมกัน คนเราทุกคนหากมีน้ำใจต่อกันมีการแบ่งปันซึ่งกันและกัน เรื่องมารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคม เราควรวางตนให้เหมาะสม

การอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุขนั้น สมาชิกในสังคม จะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในด้านต่างๆ เช่น การพึงพาอาศัยให้ความช่วยเหลือกัน อย่างเช่น การดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไป สิ่งๆเดียวที่เห็นเหมือนกัน แต่มีมุมมองไม่เหมือนกัน ตัวอย่าง

ครู/อาจารย์ ในชั่วโมงสอนคณิตศาสตร์ เขียนเลข 44 บนกระดาน โดยให้นักเรียนอ่านทีละคน โดยห้ามตอบซ้ำกัน

เด็กหญิงเมย์ คนเก่งตอบ สี่สิบสี่คะ

เด็กชายกอล์ฟ ตอบ เบิ้ลสี่ครับ

เด็กชายมานะ ตอบ สี่หน้าสี่หลังครับ

เด็กหญิงชูใจ ตอบ สี่สี่คะ

เด็กชายจ่อย ตอบ สี่สองเทือครับ (สี่สองครั้ง)

เด็กชายทองเบิ้ม ตอบ สี่แล้วสี่อีก

เด็กชายประเทือง ตอบ สี่เบิ้ลครับ

เด็กหญิงปอย ตอบ สี่กับสี่

ถึงเด็กชายแพท เพื่อนคนอื่นตอบหมดแล้วนั่งเกาหัวแกรกๆนึกคำตอบ สุดท้ายก็นึกได้ เลย ตอบคุณครูไปว่า ป๊อก 8 สองเด้งครับ

ทำให้เราเห็นว่าเรื่องเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน คนที่เห็นของเดียวกันแท้ๆ ยังคิดไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น อย่าได้ถือโกรธคนที่เห็นต่างกัน เราจงอยู่ร่วมกันให้ได้ ถึงจะเรียกว่ามีศิลปะในการอยู่ร่วมกัน

จะเห็นได้ว่าตัวเลข 44 อาจจะมีมุมมองที่แตกต่างไปอีก เช่น คู่สี่ หรือ สี่คู่ และ สี่ปี้ หรือ ปี้สี่ สี่ข้างหน้า สี่ข้างหลัง หรือ สี่สองตัว

ผู้เขียน เขียนมาให้อ่านสนุกๆ อย่าเครียดนะครับ ขอให้ทุกๆท่านที่อ่านศิลปะในการอยู่ร่วมกัน มีความสุขตลอดไป

หมายเลขบันทึก: 595597เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2015 07:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2015 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท