ชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอนตอน พระธาตุเจดีย์หลวง (หรือพระธาตุหริภุญชัย) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน


ตามรอยพระศาสนา..ด้วยศรัทธาจากหัวใจ..สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์...

ตามรอยพระศาสนา..ด้วยศรัทธาจากหัวใจ..สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

ชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอนตอน พระธาตุเจดีย์หลวง (หรือพระธาตุหริภุญชัย) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน
พระเจดีย์หลวงที่งดงามอีกนามว่า
พระธาตุหริภุญชัยเรียกมาหลายสมัย
ทั้งในตำนานพงศาวดาร(โยนก)และตำนาน(ฉบับพื้นเมือง)พระชินธาตุหริภุญชัย
และทั้งในชินกาลมาลีปกรณ์
ผู้สร้างคือพระเจ้าอาทิตตราชา
บูชาพระศาสนาเพื่อเป็นอนุสรณ์
ตำนานโยนกว่าสร้างพ.ศ. ๑๕๘๖แน่นอน
ชินกาลมาลีกรณ์เขียนไว้ให้ตามมา
พระเจ้าอทิตราชาครองลำพูน
ปีจุลศักราช ๔๐๙(พ.ศ.๑๕๙๐)แต่นั้นหนา
เสวยราชครองสมบัติเป็นราชา
ปกครองลำพูนมา๑๖ปี
จากนั้นพระองค์จึงทรงสร้าง
เจดีย์ปรางบรรจุพระบรมศรี(พระบรมสารีริกธาตุ)
เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๑,๐๐๘ ปี(จากตำนานมูลศาสนา)
พระบรมธาตุผุดที่เมืองหริภุญชัย(จากตำนานมูลศาสนา)
ชินกาลมาลีปกรณ์เขียนถึงพระธาตุเจดีย์หลวง (หรือพระธาตุหริภุญชัย)เอาไว้ว่า
พระเจ้าอาทิจจ์ราชาทรงเลื่อมใส
บูชาพระบรมสารีริกธาตุด้วยทันใด
พร้อมผอบทองผ่องใสพระเจ้าอโสกธรรมราชา
ขณะทรงน้อมตั้งจิตอธิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุนั้นลอยเด่นเห็นทั่วหน้า
สูง ๓ ศอก ทรงเห็นพร้อมชาวประชา
เปล่งพระฉัพพรรณรังสีเจิดจ้าทั่วนคร
เป็นที่น่าอัศจรรย์ในหัวใจ
น้อมสักการะกราบไหว้กันเสียก่อน
อธิษฐานขอย้ายที่ใหม่ในนิวรณ์
พระบรมสารีริกธาตุหายก่อนจมลงดิน
ด้วยอิทธิ์ฤทธิ์อานุภาพเทวดา
เพื่อขจัดความกังขาให้หมดสิ้น
พระเจ้าอาทิตตะอาราธนาใหม่ให้ได้ยิน
พระบรมธาตุที่จมดินผุดขึ้นมา
ลอยขึ้นสูงถึงสามศอก
ตามเรื่องราวเล่าบอกหายกังขา
เปล่งพระฉัพพรรณรังสีด้วยฤทธา
พระราชาทรงโสมนัสอย่างยินดี
ทรงบรรจุผอบทองพระบรมสารีริกธาตุ
ที่เจ้าอโสกธรรมราชทำไว้ในที่นี่
ในสมุดวิจิตรด้วยรัตนะประดามี(บนแผ่นศิลา)
โปรดให้สร้างสถูปเจดีย์แต่นั้นมา
สูง ๑๒ ศอก มี๔ เสา ประตู ๔ ด้าน
เป็นตำนานเล่าขานพระศาสนา
เป็นเรื่องราวเล่าถึงพระเจ้าอโสกธรรมราชา
ที่เผยแพร่พระบรมสา(บรมสารีริกธาตุ)ไปที่ใด
มีทั้งพ.ศ.และสถานที่ให้ปรากฎ
ล้วนมีหมดชมพูภูทวีปไปที่ไหน
แต่นั้นมา๑,๓๘๓ ปีเห็นเป็นเช่นไร
พระธาตุหริภุญชัย(พระเจดย์หลวง)ปรากฎไว้เมืองลำพูน

หมายเลขบันทึก: 595222เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2015 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2015 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท