การพัฒนาเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน และศึกษาผลการพัฒนาเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 (ปวช.3) สังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียน ปีการศึกษา2556 จำนวน18 คน

การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีเชิงประสมระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือคือ แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมตามกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันจำนวน 13ขั้นตอน23กิจกรรมแบบบันทึกความดีโครงการพัฒนาตนเองโครงการสร้างสังคมแห่งความสุขแบบวัดลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมสำหรับก่อนและหลังร่วมกิจกรรม ซึ่งวัดประเมิน10ด้านได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริตวินัยความรับผิดชอบความยุติธรรมความสามัคคีรอบคอบอดทนควบคุมตนเอง ภาษาและบุคลิกภาพการตัดสินใจและการเรียนอย่างมีเป้าหมาย

อนึ่งนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนยังแสดงความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันทั้ง11แผน และ 23กิจกรรมจึงสรุปได้ว่าการใช้แผนกิจกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน สามารถทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมซึ่งแสดงออกทั้งการคิด การพูด การกระทำ ที่วัดประเมินจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่แสดงถึงความซื่อสัตย์สุจริตวินัยความรับผิดชอบความยุติธรรมความสามัคคีรอบคอบอดทนควบคุมตนเอง ภาษาและบุคลิกภาพการตัดสินใจและการเรียนอย่างมีเป้าหมาย

เครื่องมือและวิธีการศึกษา

มีเครื่องมือเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมให้แก่นักเรียน ประกอบด้วย 1. แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน2. แบบวัดลักษณะพฤติกรรมการเป็นผู้นำที่มีศีลธรรม 10ด้าน ก่อนและหลังร่วมกิจกรรม 3. แบบวัดความพึงพอใจต่อการร่วมกิจกรรมกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน4.แบบสังเกตพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วม5.ประเด็นการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 6.แผนกิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรม สร้างตามหลักกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันผสมผสานแนวคิดการพัฒนาผู้นำทางศีลธรรม

ผลการศึกษา

ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่า

ทั้งนี้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาผู้นำที่มีศีลธรรมในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมที่ 4.32โดยเรียงตามลำดับมากน้อยดังนี้ด้านการสะท้อนความคิดสรุปบทเรียน (4.55)การศึกษานอกสถานที่(4.51) เพราะไม่ยอมแพ้ (4.50)คนต้นแบบและตำรวจจิตอาสา(4.50)นิทานสีขาว(4.50)ของรักของหวง (4.40) พลังสี่ทิศ (4.25)ผู้นำในดวงใจ(4.25) ชีวิตมีความหมาย(4.25) ชีวิตเลือกได้(4.25) มองเขามองเรา(4.25) หัวใจเล่าเรื่อง(4.25) บันทึกความดีเพื่อชีวีมีสุข (4.22) สังคมแห่งความสุข (4.20) เสียงสี่แบบ(4.20) และแผนที่ชีวิต(4.18) ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมที่ 4.32 อยู่ในระดับมาก

สรุปและอภิปรายผล

การศึกษาวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันที่นำมาใช้พัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมประกอบด้วย 13ขั้นตอนดังนี้

สำหรับการจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมด้วยกระบวนสร้างอนาคตร่วมกันเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพราะมุ่งให้นักเรียนมีส่วนร่วมสูงสุด ทั้งรายบุคคลและกลุ่มมีการฝึกปฏิบัติทั้งในรูปแบบสถานการณ์จำลอง ด้วยกิจกรรมบทบาทสมมติและการฝึกจากสถานการณ์จริง เช่นการสร้างเครือข่ายนิทานสีขาวซึ่งมอบหมายให้นักเรียนรวมระดมแนวคิดเพื่อวางแผนสร้างเครือข่ายข่ายนิทานสีขาวและให้แต่ละคนทำหน้าที่สื่อสารนิทานสีขาวสู้เพื่อนในสถานศึกษาคนละ 10 คนซึ่งวิธีการเช่นนี้ได้หล่อหลอมพัฒนาทักษะการสื่อสารการยอมรับเข้าใจคนอื่นให้แก่นักเรียนทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกภูมิใจในคุณค่าของตนเองซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้สอดคล้องกับทฤษฏีการแลกเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่ม ซึ่ง Thibaul และ Kalley (อ้างในมงคลชัยสมอุดร.2546) กล่าวว่าการรวมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนพฤติกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกทําให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และการกระทําซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อสมาชิกแสดงพฤติกรรมก็ย่อมจะต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ เลือกสรรและขัดเกลา การแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสมกับบุคคล เวลา และสถานที่ทั้งนี้การเลือกแสดงพฤติกรรมของสมาชิก และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ก่อให้เกิดผลตามเป้าหมายของกลุ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นรางวัลจากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการเห็นคุณค่าของการกระทําพฤติกรรมนั้นให้บรรลุเป้าหมาย

จากการศึกษายังพบว่าการจัดกิจกรรมในรูปแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่เน้นให้นักเรียนมีการฝึกคิดวิเคราะห์แสดงความคิดเห็น ในการทำงานร่วมกันทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาความรับผิดชอบการมีวินัยและการยอมรับความคิดเห็นระหว่างกันซึ่งปรากฎการณ์นี้ สอดคล้องกับทฤษฎีกระบวนการกลุ่มซึ่งทิศนา และคณะ( 2552)กล่าวว่าการรวมกลุ่มทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันก่อให้เกิดพลังกลุ่ม โดยพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งก่อให้เกิดผลในการเปลี่ยนแปลงทั้งตัวบุคคลและกลุ่มสำหรับการพัฒนาความเป็นผู้นำกลุ่มสามารถจัดกิจกรรมได้หลายวิธี เช่น เกมส์บทบาทสมมติ กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จําลอง การระดมความคิด กลุ่มย่อย ละครกระบวนการกลุ่ม ทั้งนี้การนำกระบวนการกลุ่มไปใช้พัฒนาผู้นำต้องคํานึงถึงหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ คือ การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้การยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้การยึดการค้นพบด้วยตนเองเป็นกระบวนการสําคัญในการเรียนรู้การยึดความสําคัญของกระบวนการเรียนรู้ว่าเป็นสิ่งจําเป็นในการแสวงหาความรู้และการยึดความสําคัญของการนําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวัน

อนึ่งผลจากส่งเสริมกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำในหลายด้านเช่นกระบวนการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ความมีวินัยและการควบคุมอารมณ์ความยุติธรรมและรับผิดชอบความสามัคคีและรอบคอบความซื่อสัตย์และอดทนซึ่งปรากฏการณ์นี้สอดคล้องกับแนวคิดพัฒนาพัฒนาผู้นำด้วยกระบวนการกลุ่ม ซึ่ง (วิไลวรรณ, 2542) กล่าวว่ากระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นวิธีการที่ช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีการพัฒนาทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมทางสังคมทําให้รู้จักตนเองและผู้อื่นมากขึ้นและช่วยฝึกทักษะที่จําเป็นบางประการ ได้แก่ ทักษะทางสังคม เพื่อช่วยให้อยู่ร่วมกันและทํางานกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น เช่นทักษะการเป็นผู้ให้และผู้รับ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม การควบคุมตนเอง การยอมรับความสามารถของตนเองและผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทักษะในการศึกษาค้นคว้า เพื่อการค้นคว้าหาความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล การพูด การฟัง การอ่าน และการรายงานทักษะทางปัญญา เพื่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การวิพากษ์วิจารณ์ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีเหตุผลและทักษะในการทํางานกลุ่ม เพื่อการทํางานร่วมกับ ผู้อื่น เช่น ทักษะในการวางแผน การเป็นผู้นําแสดงความคิดเห็นด้วยการอภิปราย การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมตามกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันประกอบด้วย 13 ขั้นตอนและแผนกิจกรรมย่อย 23แผนกิจกรรม สาระสำคัญของแผนกิจกรรมจะเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ในลักษณะต่างๆเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะทางปัญญาทำให้สามารถจำแนกวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ด้วยกระบวนการทางความคิดอย่างเท่าทันการเรียนรู้ด้วยการเชื่อมโยงแบบบูรณาการในมิติสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา มีการฝึกปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนเกิดการสัมพันธ์สัมผัสซึมซับประสบการณ์เพื่อการหล่อหลอมคุณธรรมเช่นการนำเสนอต้นแบบของบุคคลที่มีความประพฤติปฏิบัติที่ดีในการดำเนินชีวิต แม้ว่าจะประสบปัญหาความยากจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเบี่ยงเบนจากศีลธรรมหรือบรรทัดฐานของสังคม หากแต่ก็สามารถประคองตนเองจนประสบความสำเร็จทางการศึกษา ดังกรณีตัวอย่าง วีดีทัศน์แบบอย่างของผู้พิการแต่ไม่เคยย่อท้อต่อชีวิตสามารถดำรงตนเป็นประโยชน์แก่สังคมเช่น คุณครูสุวิมล หรือ ชายน้อยหรือแบบอย่างของตำรวจจิตอาสา ที่มุ่งช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส โดยสละเวลาและทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนจึงเป็นแบบอย่างของผู้ให้ที่ดี

ปรากฏการณ์เช่นนี้สอดคล้องกับแนวคิดการปลูกฝังศีลธรรมด้วยเหตุผล (Moral Reasoning และการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) ซึ่งสุนทรณรังสี (2541) กล่าวโดยสรุปว่า การพัฒนาผู้เรียนให้มี กฎเกณฑ์การตัดสินความถูกผิดด้วยเหตุผลในระดับสูง และอย่างน้อยให้อยู่ในกฎเกณฑ์สังคมจริยธรรมพัฒนาขึ้นมาจากการนึกคิดของแต่ละคนตามลําดับขั้นและตามระดับพัฒนาการทางปัญญา ซึ่งสัมพันธ์กับอายุ วิธีการหรือกิจกรรมที่เป็นหัวใจของการพัฒนาหรือการปลูกฝังศีลธรรมด้วยเหตุผลคือ การอภิปรายแลกเปลี่ยนทรรศนะ และสิ่งสำคัญการปลูกฝังพฤติกรรมใดก็ต้องจัดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้ผู้กระทําพฤติกรรมนั้นได้แรงเสริมและถ้าหากต้องการลดพฤติกรรมใด ก็ต้องจัดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้ ผู้กระทําพฤติกรรมนี้ไม่ได้รับแรงเสริม หรือได้รับการลงโทษ

ทั้งยังสอดคล้องกับแนวคิดการปลูกฝังศีลธรรมในโรงเรียนซึ่งสุรศักดิ์ หลาบมาลา (2541,อ้างใน สมสุดา, นาถ และ สุรพันธ์, 2543) ได้กล่าวโดยสรุปว่า การปลูกฝังศีลธรรมต้องให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนาการทางสติปัญญา เหมาะสมกับวัย และมีความหมายสําหรับชีวิตจริงเน้นฝึกฝนทีละน้อยเพื่อให้เด็กเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไม่ควรใช้อํานาจบังคับ เน้นให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจ และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ครูจะต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีการปลูกฝังศีลธรรมจากพฤติกรรมต้นแบบครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีและข้อความระวังคือ ตัวอย่างที่ยกมาต้องไม่สูงส่งเกินไปจนเด็กไม่สามารถปฏิบัติตามได้ทั้งนี้วิธีการสอนค่านิยม ประกอบด้วยการใช้วิธีการบอกแนะนํา อบรม สั่งสอน การอภิปรายแสดงเหตุผล การฝึกปฏิบัติการเสริมแรง ทั้งทางบวกและทางลบ การใช้พฤติกรรมต้นแบบที่เหมาะสมจากครูและบุคคลอื่นๆ หรือจากเรื่องราวชีวประวัติของบุคคลสําคัญที่ได้ยินได้เห็นอยู่

ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่ายังว่าการจัดการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมให้แก่ผู้เรียนนั้นการเสริมแรงด้วยด้วยการยกย่องชมเชยอย่างจริงใจ ด้วยการเป็นกัลยาณมิตรระหว่างเพื่อนนักเรียนและครูอาจารย์รวมทั้งการเรียนรู้จากการตอกซ้ำย้ำทวนต้นแบบผู้นำทางศีลธรรมที่ดีทั้งผู้นำที่ทำความดีเล็กน้อยในเรื่องใกล้ตัวจนถึงผู้นำที่ขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคมมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพัฒนาตนเองทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองปรากฏการณ์เช่นนี้สอดคล้องกับ การปลูกฝังศีลธรรมซึ่งใช้หลักการที่บูรณาการระหว่างการ

เช่นเดียวกับบรรยากาศของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยังมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเป็นสุขและผ่อนคลาย ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างเพื่อนกับเพื่อนและศิษย์กับครูผลจากการจัดกระบวนการเรียนรู้เช่นนี้ทำให้ผู้เรียนมีความสุขและมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับแนวคิดการปลูกฝังศีลธรรมในโรงเรียน ของกรมการศาสนา (2543) ซึ่งกล่าวว่า การปลูกฝังศีลธรรมในโรงเรียน ต้องจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมาะสม บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนต้องปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างที่ดีมีการอบรมสั่งสอนนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียนและทั้งครูและนักเรียนปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนซึ่งกําหนดมาจากพื้นฐานทางศีลธรรมโดยเคร่งครัดเช่นเดียวกับสมสุดา และจุฬารัตน์, (2543)ซึ่งได้นำเสนอการปลูกฝังศีลธรรมว่าต้องชี้ให้นักเรียนเห็นคุณค่าประโยชน์ของศีลธรรมเพื่อเป็นการสร้างศรัทธาแก่นักเรียนต้องให้ความรู้ด้านทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและต้อง ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอต่อเนื่อง

รูปแบบการพัฒนาความเป็นผู้ที่มีศีลธรรมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการกัลยาณมิตรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมของนักเรียนจึงเป็นไปตามหลักการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการใช้หลักกัลยาณมิตร ซึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงสรุปได้ว่า กระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันเป็นกระบวนการสำคัญนกระบวนการ ที่นำไปสู่การจัดการศึกษาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะเป็นกระบวนการแห่งการเปลี่ยนผ่านเชิงคุณภาพเพื่อลดช่องว่างและข้อจำกัดของการเรียนรู้ของมนุษย์ ช่วยให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพของตนเองในการเรียนวิชาความรู้และความจริงภายในตนเองควบคู่กันไป เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ให้เป็นไปด้วยท่าทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยการฝึกใช้ปัญญา สร้างทักษะของการใช้ปฏิสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ เป็นความสัมพันธ์ในเชิงเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือกัน การมีวาจาที่เป็นมิตร เป็นสารประโยชน์ ให้ความจริงและให้กำลังใจกัน การมีไมตรีเห็นอกเห็นใจกัน รวมทั้งสร้างทัศนคติที่ว่ามนุษย์ทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกันทั้งยังทำให้มนุษย์เกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยปราศจากอคติ เกิดความรักความเมตตา อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ ปรับตัวเพื่อให้ทันกับสภาพเหตุการณ์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง รวมทั้งวิกฤติทางธรรมชาติ

ดังจะพบว่าลักษณะผลการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันที่สำคัญคือการที่นักเรียนเกิดความตระหนักรู้เข้าใจสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับตนเองยอมรับจุดด้อยและพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อพัฒนาตนเองอีกทั้งยังเข้าใจเหตุแห่งพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเกิดการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้สามารถอภัยและเมตตาต่อตนเองและผู้อื่นปรากฏการณ์เช่นนี้สอดคล้อง

สิ่งสำคัญที่เป็นการพิสูจน์ว่ากระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันสามารถพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมให้แก่นักเรียนได้อย่างสัมฤทธิ์ผลคือนักเรียนเกิดการตระหนักรู้ สามารถรายงานความรู้สึกของตนเองขณะทำกิจกรรม และควบคุมตนเองได้ โดยนักเรียนทั้งหมดแสดงความสามารถในการรู้คิดทุกประเด็น ซึ่งสะท้อนผลการเรียนรู้ภายในตนของนักเรียนทำให้สามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ภายนอกผ่านกิจกรรมและกระบวนการ เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและแนวปฏิบัติใหม่ต่อตนเอง และใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด และแนวปฏิบัติใหม่ต่อตนเองและผู้อื่น ส่งผลสู่การประพฤติอย่างมีสติ และปัญญา มีความรักความเมตตาต่อตนเอง และผู้อื่น ตลอดจนสรรพสิ่งรอบตัว

โดยนัยนี้จึงเป็นเน้นย้ำว่ากระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สมดุลย์ สอดคล้องต่อการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21ที่กล่าวถึงทักษะแห่งอนาคตใหม่ของคนในสังคม และจิตห้าลักษณะในอนาคต ดังจะพบว่า แผนกิจกรรมหลักและย่อยที่สร้างนั้น สามารถพัฒนาการบูรณาการจิต 5 ลักษณะในบุคคลเดียวกัน ประกอบด้วย 1 )จิตเชี่ยวชาญ (The Disciplined Mind) คือ การมีระบอบความคิดที่กว้างเชิงวิเคราะห์ มีวิธีการคิดหรือแบบแผนความคิดที่ไม่ติดอยู่แค่เนื้อหา เข้าใจบริบทของสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ยึดติดการวิเคราะห์ในสาขาเดียว สามารถกลไกหรือเครื่องมือรับสื่อสารข้อมูลเก็บสะสมข้อมูลและสรุปเป็นทฤษฎีหรือข้อสังเกตได้และ มีความสามารถในการคิดบังคับตนเองให้กระทำในสิ่งที่สำคัญ 2)จิตสังเคราะห์ (The Synthesizing Mind) เป็นความสามารถในการสังเคราะห์ข้อมูลที่มีมากมายจนได้เป็นข้อสรุป3) จิตสร้างสรรค์ (The Creative Mind) เป็นความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่ง Creative Mind นั้นทำลายได้ง่ายกว่าสร้าง เพียงแค่ลงโทษนักเรียนคนหนึ่งที่ตอบคำถามที่มีหลายคำตอบผิด และการจัดกิจกรรมตามหลักของจิตตปัญญาศึกษาจะฝึกฝนให้นักเรียนเปิดใจรับฟังซึ่งระหว่างกันและการไม่ใช้อำนาจโต้แย้ง4)จิตรู้เคารพ (The Respectful Mind) เป็นความสามารถในการเคารพ ร่วมมือกับคนอื่น ถึงแม้จะมีความคิดเห็นและค่านิยมที่แตกต่างกันซึ่งมีความจำเป็นมากสำหรับการอยู่รวมกันในสังคมเพราะใกล้เคียงกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย ซึ่งได้แก่ การเคารพซึ่งกันและกัน นับถือยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน โดยอยู่ร่วมกันอย่างสันติการมีจิตที่เคารพวัฒนธรรมอื่นและเคารพยอมรับคนอื่นที่แตกต่างจากตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถอยู่ในโลกปัจจุบันที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นได้เป็นอย่างดี5) จิตรู้จริยธรรม (The Ethical Mind)การมีจริยธรรมอยู่ในพื้นฐานของจิตใจ บุคลิกอุปนิสัยที่พึงประสงค์อันก่อให้เกิดความมีจริยธรรมเป็นเรื่องพึงพิจารณาของทุกสังคมเพราะจริยธรรมทำให้สังคมอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุขดังนั้นในสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความเห็นต่างเช่นปัจจุบัน เป็นความหวงใยของหลายฝ่ายที่ปรารถนาให้ความขัดแย้งคลี่คลายประคองสังคมไทยให้รอดพ้นจากการปะทะหรือสูญเสียดังนั้นหากการฝึกฝนผู้คนด้วยกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกันให้มีจิตห้าลักษณะในบุคคลเดียวน่าจะช่วยให้บุคคลและสังคมสามารถต่อสู้และจัดการกับความน่ากลัวต่างๆ ข้างต้นได้เป็นอย่างดีทั้งยังเป็นการฉายให้เห็นภาพได้ชัดเจนของการอยู่รอดของปัจเจกบุคคลและสังคมในศตวรรษใหม่ที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่แน่นอน ความหลากหลาย ความซับซ้อนยากแก่ความเข้าใจ ฯลฯ

ข้อเสนอแนะ

ก. ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติการ

1. การพัฒนานักเรียนเพื่อให้มีลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมสิ่งที่ควรปฏิบัติอันดับแรกคือการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้ผู้เรียนได้สัมพันธ์สัมผัสและซึมซับจากสภาพแวดล้อมโดยรอบการเป็นต้นแบบของบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาต้องเป็นตัวอย่างที่ดีการสร้างวัฒนธรรมย่อยในสถานศึกษาควบคู่กับการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกแสดงออกเพื่อฝึกฝนขัดเกลาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

2. การพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมเป็นการพัฒนาจิตใจด้วยการปลูกฝังคุณธรรมและความดีซึ่งต้องทำให้นักเรียนรู้สึกเป็นเจ้าของความดี และเน้นนำสู่วิถีชีวิตเชิญชวนให้ทำความดีในสิ่งต่างๆ ที่ใกล้ตัวทีละเล็กทีละน้อยเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า การทำดีทำได้ง่าย ทำได้หลายเรื่องและใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถทำได้ พร้อมทั้งจัดปัจจัยแวดล้อมที่สนับสนุน และต้องไม่ใช้อำนาจบังคับ

3. การฝึกปฏิบัติสมาธิก่อนการดำเนินกิจกรรมทุกครั้งเป็นผลทำให้นักเรียนมีความสงบทางจิตพร้อมสำหรับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองเช่นเดียวกันการพัฒนาความเป็นผู้นำโดยการฝึกวิเคราะห์ทำความเข้าใจตนเองรู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของตนเองย่อมทำให้เกิดความรู้สึกตระหนักในคุณค่าแห่งตนเป็นผลให้เกิดความมุ่งมั่นในการดำรงตนที่เหมาะสม

4. การยกตัวอย่างบุคคลเพื่อเป็นต้นแบบทางจริยธรรมให้แก่ผู้เรียนไม่ควรยกต้นแบบที่สูงส่งเกินไปจนนักเรียนไม่สามารถสัมผัสได้ควรยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมใกล้ตัวและนักเรียนสามารพปฏิบัติตามได้

5. การปลูกฝังคุณธรรมต้องเหมาะสมกับวัยระดับสติปัญญาของนักเรียนและมีความหมายในชีวิตจริง

ข. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย

1. เนื่องจากลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมเป็นการสร้างเจตคติและมุ่งสร้างพฤติกรรมดังนั้นในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปจึงควรต้องใช้ระยะเวลาในติดตามประเมินผลลักษณะพฤติกรรมที่ถาวร

2. ควรมีการวิจัยทดลองรูปแบบอื่นๆ เพื่อการทดลองพัฒนาจิตลักษณะและพฤติกรรมด้านอื่นๆ โดยอาจใช้แนวคิดทฤษฎีกลุ่มปฏิสัมพันธ์นิยม

3.ควรมีการพัฒนาเครื่องมือแบบวัดลักษณะความเป็นผู้นำที่มีศีลธรรมที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับทางวิชาการมากขึ้น

บรรณานุกรม

กองวิจัยทางการศึกษา . 2545. รายงานการวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมส รายงานการวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมสภาพแวดล้อมและค่านิยมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ความดี และความสุขของผู้เรียน . กระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพ.

รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่นำไปสู่ความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน : กรณีโรงเรียนประถมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพ.

คลื่นลูกที่5 ปราชญ์สังคมไทยที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 .บริษัทซัคเซส มีเดียจำกัด .กรุงเทพ.

ไพฑูรย์สินลารัตน์. 2544. ความรู้คู่คุณธรรม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กรุงเทพ .

รังสรรค์ประเสริฐศรี. 2546. ภาวะผู้นำ. บริษัทธนธัชการพิมพ์.กรุงเทพ .

การพัฒนากระบวนการสอนสร้างอนาคตร่วมกันสอนภาษาไทยโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ . สำนักพิมพ์ธารอักษรจำกัด.กรุงเทพ.

สมัย จิตต์หมวด. 2544. พฤติกรรมผู้นำ . สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง .กรุงเทพ.

รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างจริยธรรมของสถานศึกษา .

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา .

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2548. การศึกษาคุณลักษณะเด็กไทยที่พึงประสงค์ .กระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพ.

สังคม ภูมิพันธุ์และคณะ . 2539. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแกนักเรียนนักศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพ.

หมายเลขบันทึก: 595170เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2015 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2015 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท