ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม ๑๐


ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม ๑๐
คือ จริยวัตร ๑๐ ประการ ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือ เป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมืองให้มีความเป็นไปโดยธรรม และยังประโยชน์สุข ให้เกิดแก่ประชาชน จนเกิดความชื่นชม ยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับ พระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่น ดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กร ก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้

ทศพิธราชธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ราชธรรม ๑๐" นี้ ปรากฏอยู่ในพระสูตร ขุททกนิกาย ชาดก ปรากฏพระคาถา ดังนี้


ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ
ตปํ อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ.


๑. ทาน (ทานํ) การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
๒. ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
๓. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
๔. ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
๕. ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
๖. ความเพียร (ตปํ) หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
๗. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
๘. ความไม่เบียดเบียน (อวีหึสา) การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
๙. ความอดทน (ขันติ) การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย ๑๐. ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใด ๆ

หมายเลขบันทึก: 594564เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2015 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2015 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท