แนวทางการพัฒนาประเทศ


ประเทศไทย เป็นประเทศที่รักความสงบ ประชากรโดยส่วนมากชื่นชอบความสะดวกสบายเป็นมิตรกับทุกเชื้อชาติ ศาสนา ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวไทย ไม่ชอบที่จะต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

แนวทางในการพัฒนาประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ ลดอัตตาและทิฐิลง ยอมรับฟังความคิดใหม่ๆ ของคนทุกคน โดยไม่ต้องตั้งข้อแม้ว่าเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เราเคารพศรัทธาเท่านั้น แต่ต้องเคารพความคิดของทุกๆ คน โดยเฉพาะกับความคิดของคนรุ่นใหม่ ที่เพิ่งเติบโตขึ้นมา หรือเพิ่งเริ่มต้นพัฒนางานของเขาเอง เพราะในอนาคต เขาเหล่านี้จะเป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน แต่การพัฒนาประเทศนั้น ไม่ใช่การละเลยพื้นฐานของชาติ หรือทรัพยากรของชาติ และหันไปให้ความสนใจกับภาคอุตสาหกรรม แต่ต้องเน้นย้ำให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของภาคเกษตรกรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจของประเทศ นำความรู้ทั้งหลายที่ได้รับมา มาประยุกต์ (Apply) ให้มีการผสมผสานในรูปแบบของการบูรณาการ (Integrated) ให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) ทางการเกษตร นั่นคือ การนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี ให้กลายเป็นเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agriculture Technology) ก็จะสามารถนำพาให้ประเทศคงอยู่ต่อไปได้

การพัฒนาประเทศไทยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีพื้นฐานมาจาก ความต้องการพัฒนาอาชีพจากชุมชนมาสู่สังคม โดยผู้มีความรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญ (Expert) หรือนักวิชาการ ซึ่งต้องหันมาให้ความสำคัญต่อชุมชน โดยเฉพาะกับความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ของทุกๆ ชุมชน แล้วนำมาพัฒนา โดยคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Target Consumer) ว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ของชุมชน เหมาะสมที่จะโปรโมท (Promote) ให้กลุ่มลูกค้าประเภทใด ชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ

การที่บุคลากรในชุมชนขาดความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understand) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) ที่ดี จะทำให้การพัฒนาชุมชนหยุดชะงัก จำเป็นที่จะต้องมีนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือนักพัฒนาชุมชน เข้มาถ่ายทอดแนวคิด วิธีการ ในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชน

สภาพปัจจุบันของประเทศไทย เป็นสังคมแบบรวมอำนาจ คือ กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการปกครอง ดังนั้น โอกาสที่แต่ละจังหวัดแต่ละชุมชนจะมีแนวทางในการบริหารจังหวัดด้วยตนเองนั้น จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะต้องให้สอดคล้องกับเป้าหมายหลัก จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก อีกทั้งการกระจายอำนาจไม่ได้ส่งไปถึงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา ที่มักรวมกันอยู่ในตัวเมืองหรือในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น

ระบบการศึกษาถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ เราจะมีวิธีการอย่างไร? เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างชัดเจน ไม่ใช่เฉพาะเพียงแค่การรวมฐานความรู้ (Knowledge Based) ไว้เฉพาะที่กรุงเทพมหานครเพียงอย่างเดียว

เพราะการกระทำเช่นนี้ จะเกิดการหลั่งไหลของประชากรเข้าสู่กรุงเทพฯ เพราะคิดว่าจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้ดีขึ้นได้ การหลั่งไหลเข้ามามากเกินพื้นที่ใช้สอย ก่อให้เกิดปัญหา สังคมแออัดและสภาพเสื่อมโทรม

แท้จริงแล้วอัตรากำลังในการทำงานภายในกรุงเทพฯ ไม่ได้ขาดแคลนมากมายเท่าไร จึงมีตำแหน่งงานเต็ม ผู้คนที่เป็นส่วนเกินหรือไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำงาน จึงกลายเป็นผู้ว่างงาน แล้วไม่ยอมกลับภูมิลำเนาเดิม ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้

เราจะทำอย่างไร? เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีความต้องการที่อยากจะกลับบ้านเกิด หรือกลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง

สิ่งแรกที่ประเทศไทยจะต้องทำคือ การขยายระบบการศึกษาให้ออกไปสู่ชุมชนต่างจังหวัดมากขึ้น หรือการขยายพื้นที่ความเจริญออกจากส่วนกลาง

สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การขยายศูนย์ราชการต่างๆ จากกรุงเทพให้ออกไปอยู่บริเวณชานเมืองหรือนอกเมือง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การขยายพื้นที่หน่วยงานราชการให้ออกไปอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ทำให้พื้นที่ในบริเวณใกล้เคียง เกิดการตื่นตัว ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ เพื่อรองรับการเดินทางมาใช้บริการของประชาชน ซึ่งมีโอกาสที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ราคาที่ดิน บริเวณดังกล่าว เริ่มถีบตัวสูงขึ้น เกิดการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น กลุ่มกิจการต่างๆ เริ่มเปิดขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการขยายออกของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งอาจจะเป็นการเริ่มต้นด้วยร้านค้าเล็กๆ ตลาดนัด แหล่งชุมชน และที่พักอาศัย สามารถเขียนแผนภาพ “ขยายเมือง” ดังนี้

ทั้ง 4 ขั้นตอน ถือเป็นแนวทางในการขยายเมืองในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจบริเวณโดยรอบ โดยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก่อสร้าง “ศูนย์ราชการ” โดยรัฐบาลจะต้องเป็นหลักในการพัฒนาชุมชน ตั้งแต่ต้นจนจบ

ถัดมาเรื่องที่ควรคำนึงถึงได้แก่ เรื่องของการคมนาคม จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักของบริเวณใกล้เคียงได้อย่างดี

การคมนาคมในที่นี้ ไม่ได้หมายแค่ถนนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีรถประจำทางเปิดให้บริการด้วย จึงจะถือว่าเป็นการขยายความเจริญออกไปนอกเมือง และต้องมีรถประจำทางหลายสาย สามารถเชื่อมต่อและเดินทางได้ทั้งระบบ ยิ่งการคมนาคมขนส่งมีมากกว่ารถประจำทาง เช่น รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน รถตู้ ก็จะทำให้พื้นที่นั้นกลายเป็นพื้นที่ที่เพิ่มคุณค่าได้อีกหลายเท่าตัว


หมายเลขบันทึก: 594062เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2015 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2015 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท