เมื่อนักศึกษาดนตรีคิดถึงนักกิจกรรมบำบัด


ต้องขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ที่รู้จักกันในนาม ดร.ป๊อป ซึ่งเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงที่เต็มเปี่ยมไป ด้วยพลังแห่งความเมตตา ความดีงาม ใช้พลังทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแรงกาย แรงใจ รวมถึงแรงจิต สร้างแรง จูงใจเสริมพลังในตัวลูกศิษย์คนนี้ ด้วยความเป็นมิตร และอบอุ่น ผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบผ่านสมองบนพื้นฐานการรับรู้ แห่งจิตที่ดีงาม

ประสบการณ์ที่ท้าทายอีกครั้งหนึ่งในชีวิต ในบทบาทการเริ่มต้นของนักกิจกรรมบำบัด (แนวใหม่) นับเป็นโอกาสที่อาจารย์พี่เลี้ยงได้มอบให้ผ่านกรณีศึกษาที่จะประมาณค่ามิได้ถึงคุณค่าที่ได้จากการเรียนรู้ เหตุของการได้มาพบกันของเราทั้ง 2 เริ่มจากนักศึกษาที่เรียนดนตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในเรื่องศิลปะ ชอบการเล่นกีร์ต้าเป็นชีวิตจิตใจ แต่เกิดอุปสรรคระหว่างการเล่นเนื่องจากนิ้วเริ่มทำงาน ไม่สัมพันธ์กับใจ จึงเริ่มหาข้อมูลว่าจะมีใครมาช่วยให้นิ้วกับใจกลับมาสัมพันธ์กันได้อีกครั้ง จึงเป็นเหตุได้มาเจอกับนักกิจกรรมบำบัด

ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการบอกเล่าของนักศึกษาดนตรี

  1. นิ้วนางของมือด้านซ้ายที่ต้องกดสายกีตาร์ขณะเล่นดนตรีอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับเพื่อนที่เล่นกีตาร์ด้วยกัน ผมจึงให้เพื่อนที่มาด้วยกัน 2 คนลองเล่นกีตาร์ให้ดู หลังจากนั้นจึงให้ผู้มารับบริการเล่นให้ดูในเพลงเดียวกัน พบว่ามีการตกลงของตำแหน่งนิ้วนางข้างซ้ายขณะเล่นจริง
  2. ผู้มารับบริการไม่มั่นใจว่าสาเหตุที่เป็นเกิดมาจากนิ้วก้อยหรือไม่ ผมจึงเริ่มตรวจประเมินในส่วนของกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วก้อย โดยจับยืดเหยียดนิ้วในทิศทางต่างๆโดยมุ่งไปที่กล้ามเนื้อ Flexor digiti minimi brevis muscle และ Opponens digiti minimi muscle พบว่าผู้มารับบริการมีความรู้สึกตึง และเจ็บ โดยบอกว่าตนเองไม่เคยได้สังเกตมาก่อนหน้านี้ว่ามีอาการเจ็บ
  3. สัมภาษณ์เพื่อขยายผลในเรื่องของการออกกำลังกาย พบว่าผู้รับบริการมีการออกกำลังกายข้างซ้ายมากกว่าข้างขวา เช่น ถ้ายกตุ้มน้ำหนักจะยกด้านขวา 20 ครั้ง ด้านซ้ายยก 30 ครั้ง โดยให้ความเห็นว่าข้างซ้ายเป็นข้างที่ไม่ถนัดจึงต้องยกมากกว่า เพราะอยากให้แข็งแรงเท่าด้านขวา

ข้อมูลที่ได้จากการประเมินด้วยกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด

  1. แสดงทักษะการเคลื่อนไหวของนิ้ว (Finger/Thumb opposition) ทั้งข้างซ้ายและข้างขวา โดยใช้หัวแม่มือแตะนิ้วต่างๆ ทีละนิ้ว โดยแบ่งรูปแบบการทำเป็น 2 แบบ คือ (a) เริ่มจากนิ้วชี้ ไปนิ้วก้อย แล้วกลับมาเริ่มที่นิ้วชี้ใหม่ทำ 10 รอบ (b) เริ่มจากนิ้วชี้ไปนิ้วก้อย และย้อนกลับจากนิ้วก้อยไปนิ้วชี้ ไปกลับนับเป็น 1 รอบ ทำทั้งหมด 5 รอบ โดยทั้ง 2 รูปแบบ ทำแบบลืมตา และหลับตา
  2. ความแข็งแรงของการบีบนิ้ว (pinch strength) ทั้งข้างซ้าย และข้างขวา โดยแบ่งรูปแบบการทำเป็น 2 แบบ คือ (a) ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้บีบ (b) ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วนางบีบ
  3. วิดพื้น 15 ครั้งบนพื้นที่มั่นคง และให้วิดพื้น 10 ครั้งบนที่นอนนุ่ม
  4. แบ่งกองสำรับไพ่ให้เท่ากันโดยทำทั้งหมด 10 ครั้ง แบ่งเป็นมือขวา 5 ครั้ง มือซ้าย 5 ครั้ง

ข้อสรุปที่ได้จากการประเมินเบื้องต้น พบว่าอาการที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายภาวะ Musician Atonia แต่อาการที่แสดงสำหรับผู้มารับบริการยังไม่รุ่นแรงถึงระดับนั้น เป็นเพียงช่วงเริ่มต้น สาเหตุอาจเป็นผลมาจากการใช้กล้ามเนื้อที่ไม่สมดุลกัน (imbalance) ของแขน และมือทั้ง 2 ข้าง รวมไปถึงมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลา และความถี่ในการออกกำลังกายอย่างกระทันหัน คือจากที่เคยออกกำลังกาย โดยมีการได้รับแรงกระแทกตามข้อต่อของแขน และมืออย่างสม่ำเสมอ ก็หยุดไปทันทีและทิ้งช่วงไว้นาน จึงมีผลต่อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และแรงที่สะสมหลังจากทำกิจกรรมโดยใช้กล้ามเนื้อบริเวณนิ้วก้อย อีกส่วนหนึ่งเกิดมาจากสภาพจิตใจที่มีความกังวลใจ (distress) ซึ่งตัวผู้รับบริการบอกว่าเมื่อต้องขึ้นแสดงบนเวที ตนเองไม่สามารถเล่นได้

วัดใจกับรูปแบบการรักษา

ดังนั้นจึงได้มาลองเริ่มรูปแบบการรักษาโดยรูปแบบการรักษาเริ่มต้นด้วยจากการใช้ผ้ายืด (elastic bandage) ขนาด 2 นิ้ว พันมือข้างซ้ายโดยแยกเป็นพันเป็นนิ้วๆ ระดับความตึงให้อยู่ระดับแน่นปานกลางให้กระชับถึง deep pressure แล้วให้ลองหลับตาเล่นดนตรี ลืมตาเล่นดนตรี พร้อมถามการรับรู้ เป็นระยะ โดยตัวนักกิจกรรมบำบัดจะเป็นตัวกลางของการเรียนรู้ (Learning gap) ที่เชื่อมให้ตัวผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้ (Learning process) ผ่านความรู้สึก (sensational) ในทางบวกด้วยความสนุกเพลิดเพลินไปกับการเล่นดนตรี โดยข้ามผ่านอุปสรรคที่กระตุ้นเร้าให้เกิดความคิดซ้ำๆจนล้า (Cognitive fatigue)

ผลการประเมินก่อน และหลังการให้รูปแบบการรักษา

จากผลจะพบว่าเมื่อผู้รับบริการได้รับรูปแบบการรักษาทันทีหลังจากการประเมินทักษะการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นโดยใช้เวลาที่ลดลง นั้นแสดงว่ามีการเคลื่อนไหวที่เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าความแข็งแรงที่เกิดขึ้น จากการวัดแรงการบีบมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีแรงบีบที่มากขึ้น ข้อสังเกตอีกอย่างคือเมื่อผู้รับบริการหลับตาในการประเมินทักษะการเคลื่อนไหวของนิ้วจะพบว่าใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับลืมตา นั้นจึงเป็นข้อสมมุติฐานเบื้องต้นว่าการใช้ความรู้สึก จากสภาพการรับรู้เท่าที่มีอยู่ ด้วยจิตใจที่ไร้ความกังวลจากการกระตุ้นเร้าผ่านการมอง โดยตัดเรื่องความคิดที่พยายาม มีผลต่อความสามารถ

การบ้าน

สุดท้ายจึงฝากการบ้านให้ว่าที่นักดนตรีอาชีพในอนาคต ไปทำอยู่ 3 ข้อ ก่อนจะกลับมาเจอกันอีกครั้ง คือ (1) พันผ้ายืดเล่นกีต้าร์วันละ 1 เพลง ควรเล่นในช่วงที่ไม่ซ้อม ตอนว่างๆ เพลินๆ (2) เล่นแต่ละครั้งเล่นให้สนุกใช้ความรู้สึกเยอะๆ (3) ฝากให้วิดพื้นบนพื้นที่มั่นคง วันละ 5 ครั้ง ส่วนเรื่องการยกลูกน้ำหนักให้หยุดก่อนช่วงนี้ แล้วท้ายสุดว่าที่นักดนตรีก็จากกันด้วยรอยยิ้ม พร้อมแววตาที่เชื่อมั่นว่าเริ่มมาถูกทาง พร้อมกับคำตอบที่เริ่มชัดเจนว่าไม่ได้เป็นเพราะนิ้วนาง แต่เป็นที่นิ้วก้อยแล้วชวนให้นิ้วนางไม่พร้อมใจกันทำงาน และความวิตกกังวลที่ค่อยๆก่อตัวขึ้นจนทำให้ตนเองต้องพยายาม...ต้องพยายาม...และต้องพยายาม

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 593952เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2015 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2020 07:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับ พี่ดารนี ชัยอิทธิพร

ขอบพระคุณมากครับน้องวินัยที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อนำวิชาชีพกิจกรรมบำบัดให้เข้าถึงคนไทยทุกคน

ขอบพระคุณ ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง มากครับ สำหรับกำลังใจ และคำแนะนำดีๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท