การพัฒนารูปแบบระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องการพัฒนารูปแบบระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู

สู่ผู้เรียน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

ปีที่พิมพ์ 2556

ผู้วิจัย นางนภาพรศรีมรกต ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อำเภอเมืองสกลนครจังหวัดสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการ การส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร2) สร้างและพัฒนารูปแบบระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 3) ทดลองใช้ และผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนและผู้บริหารที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูที่ใช้รูปแบบระบบพี่เลี้ยง ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบการวิจัยก่อน การทดลอง (Pre-Experimental Design) โดยประยุกต์ใช้แบบ การทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงโดยเลือกครูโรงเรียนสกลทวาปี ครูพี่เลี้ยง (Mentor) จำนวน 2 คนเป็นครูที่มีวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ส่วนครูผู้สอน (Mentee) จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบบันทึก แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และประเด็นการสนทนากลุ่ม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที่ (Dependent t-test) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน (The Wilcoxon Signd Ranks Test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการ การส่งเสริมความสามารถใน

การจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร พบว่า ในส่วนของการพัฒนาครู นั้นหน่วยงานต้นสังกัด และโรงเรียนให้การสนับสนุน ส่งเข้ารับการอบรมเป็นประจำ เมื่อผ่านการอบรมแล้วยังขาดการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ขาดกระบวนการนิเทศติดตามที่เป็นรูปแบบที่ถูกต้อง ชัดเจนและทันสมัยเหมาะกับบริบทของโรงเรียน

2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร พบว่า รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง เอไอพีซีอี (AIPCE Model) ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ปัจจัยสนับสนุนมีกระบวนการพัฒนา 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และกำหนดประเด็นการพัฒนา (Analyzing Needs and Deciding Focus : A) ระยะที่ 2 เตรียมการให้ความรู้และทักษะการปฏิบัติก่อนการนิเทศ (Informing : I) ระยะที่ 3 การวางแผนการนิเทศ (Planning : P) ระยะที่ 4 การปฏิบัติการนิเทศ ( Coaching : C)4.1 ประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Pre Conference) 4.2 สังเกตการสอน (Observation) 4.3 ประชุมหลังการสังเกตการสอน (Post Conference) และระยะที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluation : E)

3. ผลการทดลองใช้ และผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบระบบพี่เลี้ยง เพื่อ ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ก่อนและหลังการทดลอง ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยภาพรวมการติดตามดูแลให้คำปรึกษาในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความสมารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่าส่วนใหญ่มีความสามารถอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความคุณภาพรายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน (วิจัยในชั้นเรียน) พบว่า ได้ระดับดีเยี่ยม จำนวน 4 คน และระดับดีมาก จำนวน 4 คน และผู้เรียนมีศักยภาพด้านภาษา (Literacy) ความสามารถด้านคำนวณ (Numeracy) และความสามารถ เชิงเหตุผล (Reasoning Ability) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนและผู้บริหารที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูที่ใช้รูปแบบระบบพี่เลี้ยง พบว่ามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูที่ใช้ระบบพี่เลี้ยง

(Mentee) อยู่ในระดับมาก

2.บทคัดย่.pdf

หมายเลขบันทึก: 593939เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2015 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท