ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี


การพูดและการเป็นโฆษกที่ดี

ดร. สุทธิชัยปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

www.drsuthichai.com

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า

โฆษกหมายถึงผู้ประกาศ ผู้โฆษณา เช่นโฆษณาสถานีวิทยุ ผู้แถลงข่าว แทนเช่นโฆษกพรรคการเมือง

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ความหมายของคำว่า

โฆษกหมายถึง ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา หรือผู้แถลงข่าวแทน

ดังนั้น ความหมายของโฆษก โดยรวมก็คือ ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา ผู้ที่ทําหน้าที่ ส่งมอบข่าวสาร และข้อมูลต่างๆ ให้แก่สาธารณชน หรือประชาชนได้รับรู้

คุณลักษณะของการเป็นโฆษกที่ดีคือ

1 มีข้อมูลมีข่าวสารมีความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องที่ตัวเองพูด

2 มีความน่าไว้วางใจมีความน่าเชื่อถือ

3 เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่ชื่นชอบของสาธารณชนหรือสื่อมวลชน

4 มีความสามารถทางด้านการพูดการสื่อสาร

โฆษกควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดีดังนี้

1 การใช้คำ อย่างถูกต้อง เหมาะสม

2 การใช้น้ำเสียง การใช้เสียง ประกอบ การพูดให้ถูกต้องกับสถานการณ์ นั้นๆ

3 การใช้อวัจนภาษา การใช้ท่าทางประกอบการพูด อย่างสอดคล้องเหมาะสม

จากเนื้อเพลง ผู้ใหญ่ลี

พศ 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม

ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี

ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา

ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า

ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดเลี้ยงสุกร

ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร

ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด

สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา

หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา

จากเนื้อเพลงข้างต้น จะสะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการหรือทางการกับชาวบ้าน ที่มีความผิดพลาด มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน เราสามารถนำมาวิเคราะห์โดยผ่าน กระบวนการสื่อสาร ว่า เกิดความผิดพลาดตรงไหน อย่างไร

กระบวนการสื่อสาร มีดังนี้

1 ผู้ส่งสาร 2 สาร 3 ช่องทาง 4 ผู้รับสาร

1 ผู้ส่งสาร คือ ข้าราชการ ผู้รับนโยบาย จากรัฐบาล มาส่งต่อให้กับผู้นำชุมชน

2 สาร คือ การส่งเสริมให้ชาวนาและเกษตรกร เลี้ยงเป็ดและ สุกร(หมู)

3 ช่องทาง คือ การประชุม การใช้ไมโครโฟนพูดในที่ประชุม

4 ผู้รับสาร คือ ผู้ใหญ่ลี ที่เข้าใจผิด คิดว่า คำว่าสุกร หมายถึง หมาน้อย

จากกรณีศึกษาข้างนี้ เราจะแก้ไขอย่างไร...ให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดหรือไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น...

ข้อที่ 1 ผู้ส่งสาร ควรเปิดโอกาสให้มีการซักถาม ปัญหา หรือความไม่เข้าใจต่างๆ จากผู้รับสาร

ข้อที่ 2 สาร ผู้ส่งสารได้ใช้ภาษาราชการ ซึ่งมาจากส่วนกลาง เพราะในยุคนั้นชาวบ้านหรือผู้นำท้องถิ่นมักจะ คุ้นเคยกับภาษาท้องถิ่น(หมู)มากกว่าภาษาจากส่วนกลาง(สุกร) เพื่อลดความผิดพลาด ควรใช้ภาษาท้องถิ่น หรือภาษาที่ชาวบ้านใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ สื่อสารจะเกิด ประสิทธิภาพ มากขึ้น

ข้อ 3 ผู้รับสาร คือผู้ใหญ่ลี เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ หรือข้อสงสัย ก็ควรสอบถาม ข้าราชการ หรือทางการ ที่ส่งสาร หรือข้อมูล

หมายเลขบันทึก: 593698เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2015 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2015 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท