หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ไปได้สวยกับการเตรียมดิน


สำรวจพื้นที่ดูใหม่ ก็ได้เห็นพืชคลุมดินเปลี่ยน หญ้าคา หญ้าแพรกยังมีให้เห็น หญ้าเจ้าชู้ น้ำนมราชสีห์ใหญ่-น้อย​ ถั่วป่าที่เป็นเถา หายไปนาน สาบเสือ หญ้าขี้ครอก ชุมเห็ดไทย รางจืดต้น ไม้พุ่มเหล่านี้เจอน้อยลง ไม้ยืนต้นมีเพิ่มใหม่ แต้วป่า กระถิน ยอ มะเดื่อ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ปรากฏตัวให้เห็นบ่อยครั้งขึ้น กบ เขียด แมงปอ ผีเสื้อ นก งู เต่า ปลา จิ้งเหลน กิ้งกือ ไส้เดือน หอยทาก

ที่ผู้เชี่ยวชาญการปลูกป่าแนะนำให้ปลูกป่านิเวศ เขามีแนวคิดอยู่ว่า ต้องการร่นระยะเวลาสร้างป่าให้หดสั้นลง ย่อเวลาจาก ๑๐๐ ปีเหลือ ๑๐ ปี เริ่มจากพึ่่งต้นหญ้า ไม้คลุมดิน ไม้พุ่มเข้าไว้ ไปได้สวยจึงริปลูกไม้ยืนต้น

จะรู้ว่าไปได้สวยดูยังไง ไม่ค่อยแน่ใจ ภาษาวิชาการเขาบอกไว้แค่ "สภาวะที่เหมาะสม" เดาเอาเองว่าคงหมายถึง สภาวะที่ต้นไม้แต่ละชนิดสามารถเติบโตได้ด้วยดี ไม่เกี่ยงว่าดินนั้นจะเป็นดินร่วน ดินทราย หรือดินเหนียว ขอแต่ให้มีธาตุอาหารในดินตามต้องการครบถ้วนหรือเกือบครบ มีอากาศ มีน้ำ มีอินทรีย์วัตถุไว้ให้ใช้งาน

สำรวจพื้นที่ดูใหม่ ก็ได้เห็นพืชคลุมดินเปลี่ยน หญ้าคา หญ้าแพรกยังมีให้เห็น หญ้าเจ้าชู้ น้ำนมราชสีห์ใหญ่-น้อย ถั่วป่าที่เป็นเถา หายไปนาน สาบเสือ หญ้าขี้ครอก ชุมเห็ดไทย รางจืดต้น ไม้พุ่มเหล่านี้เจอน้อยลง ไม้ยืนต้นมีเพิ่มใหม่ แต้วป่า กระถิน ยอ มะเดื่อ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ปรากฏตัวให้เห็นบ่อยครั้งขึ้น กบ เขียด แมงปอ ผีเสื้อ นก งู เต่า ปลา จิ้งเหลน กิ้งกือ ไส้เดือน หอยทาก

ดินที่นี่เดิมแห้งผาก วันนี้เจอไส้เดือนแล้ว คงต้องร้องไชโยกับดินที่เปลี่ยนไป ก็ผู้รู้เขาเล่าไว้ว่าไส้เดือนที่อยู่ใต้ดินจะเจริญเติบโตได้ดี ดินนั้นต้องมีความชื้น ๔๐-๗๐ เปอร์เซ็นต์ พีเอชดิน ๖.๐-๘.๐ อุณหภูมิ ๑๕-๒๘ องศาเซลเซียส และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ( ๐.๐๑-๑๑.๕ เปอร์เซ็นต์)

เดิมที่นี่แห้งมาก อุปนิสัยของหอยทากไม่ชอบสภาพอากาศที่แห้ง มันชอบที่ชื้นๆ ความชื้นสัมพัทธ์เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ชอบกินรากพืชที่เน่าเปื่อย รา ไลเคน และแอลจีต่างๆ วันนี้ได้เห็นตัวมันบ่อยขึ้น ช่วยยืนยันว่าน้ำในดินและความชื้นใกล้ผิวดินเปลี่ยนไป อากาศเย็นขึ้น

ไม้ยืนต้นเพิ่มจำนวนขึ้น แปลว่าดินผืนนี้เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ ความสมดุลของแร่ธาตุอาหาร อินทรีย์วัตถุ น้ำ อากาศ และจุลินทรีย์ดินเพิ่มความเหมาะให้พืชยืนต้นเติบโตได้ง่ายขึ้น ดีจริงๆ เพียงแค่จัดการหน้าดินไม่ให้เปลือยเปล่า ทำแค่เนี้ยะ ธรรมชาติก็แทรกตัวจัดการให้เกิดสมดุลเพิ่มเอง ความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ทำให้ดีใจ ก้าวต่อไปก็เป็นการหาทางคงไว้ซึ่งสภาพดินมีชีวิตนี้

ผู้รู้กล่าวไว้ว่าผิวดินในระบบนิเวศป่าธรรมชาติจะมีเศษซากพืชและใบไม้ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งช่วยป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของหน้าดิน ทำให้ดินเก็บกักน้ำและธาตุอาหารต่างๆได้เพิ่มมากขึ้น มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา และมีธาตุอาหารเพียงพอให้กับพืชในบริเวณนั้นๆเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ระบบรากของต้นไผ่มีรสหวาน ดึงดูดจุลินทรีย์ให้มาอาศัย จุลินทรีย์ที่แข็งแรงมักอยู่บริเวณขุยไม้ไผ่ การปลูกไผ่ลงไว้จึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่เหมาะแล้ว

ก็ถึงเวลาตัดสินใจเลือกไม้ยืนต้นที่จะปลุูกเพิ่ม พืชคลุมดินที่จะเก็บไว้ป้องกันหน้าดินโดนแดดฝนทำลาย ไม้ยืนต้นที่เพิ่มจำนวนรวดเร็วแถวนี้เป็นพืชตระกูลถั่ว เถาถั่วป่าเวลางอกหน้าฝนคลุมหญ้าตายหมด เปลือยหน้าดินใหม่ขึ้นในหน้าแล้ง งั้นคงพวกหญ้า ไม้พุ่มที่มีให้มากพื้นที่ที่สุด เติมพืชตระกูลถั่วยืนต้นที่ช่วยเพิ่มเศษซากใบไม้ได้มากลงไป ปล่อยเถาถั่วป่าให้งอกคลุมดินที่มีหน้าดินเปลือยเข้าไว้ ปลูกแฝกต้นไม้ของพ่อลงไปช่วยบำรุงรักษาดิน แล้วติดตามต่อไป

หมายเลขบันทึก: 593615เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2015 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2015 00:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท