สมรรถนะพยาบาลเฉพาะโรค ความท้าทายของการนิเทศคุณภาพการพยาบาล


ความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาสำหรับผู้ป่วย,ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ทุกฝ่าย และเป็นสิ่งที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพบริการพยาบาลที่ได้มาตรฐานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตไม่ค่อยมีใครฟ้องร้องผู้ประกอบวิชาชีพในการช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ แต่ในปัจจุบันกระแสสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ผนวกกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นหากผู้ป่วยต้องพบกับความผิดหวังหรือได้รับอันตรายจากการประกอบวิชาชีพ จึงเกิดกรณีการร้องเรียนฟ้องร้องเพิ่มขึ้น เช่น กรณีความผิดพลาดการให้เลือดผิด การปล่อยปละละเลยทอดทิ้งผู้ป่วย เป็นต้น พยาบาลคือบุคลากรทางด้านสุขภาพที่ต้องดูแลผู้ป่วยตลอด ๒๔ ชั่วโมง การจัดบริการพยาบาลที่ความปลอดภัยของผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งที่พยาบาลวิชาชีพ และทุกคนต้องตระหนักและให้ความสำคัญตลอดระยะเวลาที่รับผู้ป่วยไว้ในความดูแล กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหนองจิกได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพ ให้มีความรู้,ความสามารถและเกิดการเรียนรู้จากการทำงานเพื่อนำสู่โอกาสในการพัฒนา เพื่อผลประโยชน์ และความปลอดภัยของผู้ป่วย

กลไกการดำเนินงาน

๑.เลือกกลุ่มโรคที่เป็นประเด็นปัญหา อันดับต้นๆ ของโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง ในหน่วยบริการ ผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน , หน่วยงานสูติกรรมและผู้ป่วยใน

๒.จัดทำแผนในการนิเทศงานเพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพให้มีความรู้ ความสามารถ และเกิดการเรียนรู้จากการทำงาน เพื่อนำสู่โอกาสในการพัฒนา เพื่อผลประโยชน์ และความปลอดภัยของผู้ป่วย

๒.๑. การนิเทศเชิงรุก เป็นการนิเทศหน้างาน โดยหัวหน้างาน, พยาบาลผู้ชำนาญกว่า กรณีรับ-ส่งเวร และ ขณะปฏิบัติการพยาบาล เพื่อค้นหาความเสี่ยงทางคลินิกในการจัดบริการพยาบาลที่ปลอดภัย และทักษะการรายงานแพทย์ ฯ การค้นหาสมรรถนะที่สำคัญของพยาบาลตามหน่วยงานเฉพาะ เพื่อได้มาซึ่งโอกาสในการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาล ให้มีความรู้สอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบทุกวัน ,ทุกเวร

๒.๒.การนิเทศเชิงรับ เป็นการนิเทศเชิงระบบ โดยแยกตามกลุ่มโรคที่สำคัญนำสู่การเชื่อมโยงระบบงานที่สำคัญ เช่น ระบบ IC , ความ ระบบยา ,ระบบเวชระเบียน ฯลฯ เพื่อค้นหาความเสี่ยงทางคลินิกทีเกิดขึ้น ,โอกาสในการพัฒนา และ สมรรถนะที่เป็นส่วนขาดในการจัดบริการ พยาบาลที่มีคุณภาพ

๒ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง ต่อ หน่วยบริการ

๓ .ติดตามผลการนิเทศเชิงรุกและเชิงรับ เดือนละ ๑ ครั้ง ประเด็นความเสี่ยงทาง clinic ที่สามารถป้องกันได้จากการนิเทศหน้างาน ส่วนการนิเทศเชิงรับจะเป็นประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแล้ว ทบทวนและติดตามเชิงระบบครอบคลุมระบบงานที่เกี่ยวข้องและการเชื่อมโยงกับทีมสหวิชาชีพ

๔. นำผลจาการนิเทศติดตามสู่การวิเคราะห์ เพื่อนำสู่การพัฒนาเชิงระบบ ฯ และสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพตามส่วนขาด ปีละ ๑ ครั้ง


แผนการนิเทศและติดตามผลการนิเทศสมรรถนะพยาบาลเฉพาะโรค

หน่วยงานอุบัติเหตุ –ฉุกเฉิน, หน่วยงานผู้ป่วยใน

ระยะเวลา

เชิงรุก

เชิงรับ

กลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ Stemi , non Stemi

ทุกวัน ทุกเวร ,

๒ สัปดาห์/ครั้ง

ผู้ป่วย ไส้ติ่งอักเสบ ( Appendicitis )

ทุกวัน ทุกเวร ,

๒ สัปดาห์/ครั้ง

หน่วยงานสูติกรรม

ระยะเวลา

เชิงรุก

เชิงรับ

มารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือด ( PPH )

ทุกวัน ทุกเวร ,

๒ สัปดาห์/ครั้ง

ทารกแรกเกิดที่มีภาวะพร่องออกซิเจน ( BA )

ทุกวัน ทุกเวร ,

๒ สัปดาห์/ครั้ง

หมายเลขบันทึก: 593614เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2015 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2016 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท