​Capture the fracture 2 : FLS


Capture the fracture : เป็น brand ของ IOF ที่ตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์การป้องกันกระดูกหักซ้ำ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน โดยกำหนดเป้าหมายในการลดภาวะกระดูกหักซ้ำ 20-30% ในหนึ่งปี

วิธีการผ่านขบวนการที่เรียกกันว่า Fracture Liaison Service ( FLS ) โดย

1. ตั้งทีมทำงานที่ทราบเป้าหมายร่วมกัน สำหรับในเมืองไทย น่าจะเป็นทีม PCT ortho.ในโรงพยาบาล และ FCT นอกโรงพยาบาล ซึ่งต้องเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเดียวกัน

2. เฟ้นหา FLS coordinator ส่วนใหญ่เป็นพยาบาล แต่จะเป็นใครก็ได้ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงการดูแลต่อเนื่องทั้งระบบ ทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน

3. การดูแลที่ว่าได้แก่
3.1 ทีมดูแลป้องกันการหกล้ม
3.2 ทีมดูแลเรื่องอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงและโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ
3.3 ทีมดูแลเรื่องการออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง
3.4 ทีมวินิจฉัยและรักษาโรคกระดูกพรุน

แนะนำว่าก่อนเข้าโครงการควรมีหรือสำรวจข้อมูลดังนี้

1. อัตรากระดูกหักซ้ำในพื้นที่ที่ดูแลอยู่
2. อัตราตายในหนึ่งปีหลังกระดูกสะโพกหัก
3. หลังทำผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม เดินได้ เท่าไหร่ แบบไหน หรือนั่งรถเข็นหรือนอนติดเตียง เป็นจำนวนเท่าไหร่
4. ค่าใช้จ่ายจริงเมื่อผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักแล้วมารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนค่าใช้จ่ายแอบแฝงที่จะเกิดขึ้นในการดูแลที่บ้านอาจมากโข แต่คำนวณยากจริงๆ แต่ถ้าทำได้จะดีมาก

เริ่มมีโรงพยาบาลทำนำร่องบ้างแล้ว คงได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป

หมายเลขบันทึก: 593194เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2015 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2015 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท