ธีระชัย23


ครั้งที่  23  วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ส่งบทรายการวิทยุเรื่องปะการัง...อาณาจักรแห่งความหลากหลาย โดยอ.วิจิตรเป็นผู้ตรวจแต่อาจารย์ยังให้มาแก้ส่วนหัวนิดหน่อย และเพิ่มหัวข้อเกี่ยวกับบทสัมภาษณ์  โดยจะสัมภาษณ์  ดร.ธรณ์  ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้มีความรู้ในด้านนี้  และนี่คือบทที่ผมเป็นผู้รวบรวมแต่ยังไม่ทราบออกอากาศวันไหนนะครับ

บทวิทยุ                  :  ปะการัง......อาณาจักรแห่งความหลากหลายรูปแบบ                  :  สารคดี                ความยาว              :  7 นาที                 ปีที่ผลิต                 :  พ.ศ.2549เป้าหมาย               :  ประชาชนและผู้ฟังทั่วไป

สถานีวิทยุศึกษา  :  รายการความรู้สู่ชุมชน  FM 92.5 MHz AM 1161 KHz

                                    UBCR 30 09.00-10.00โดย                         :  ธีระชัย  บำรุงศิลป์  รวบรวม สวัสดีค่ะท่านผู้ฟัง........ทะเล  เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีความมหัศจรรย์ทางระบบนิเวศ  หากเราได้ดำน้ำลงไปใต้ทะเล  เราจะได้พบกับสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศที่น่าอัศจรรย์ใต้ท้องทะเล  หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจและเป็นสีสันแห่งทะเลสีครามนั้นก็คือปะการัง  ในอาณาจักรแห่งความหลากหลายใต้ท้องทะเลนั้น  ถึงแม้ปะการังไม่ได้เป็นทั้งหมดของระบบนิเวศ  แต่ปะการังคือจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต  หากไม่มีปะการัง  ก็ไม่มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมหาศาลและระบบนิเวศที่น่าอัศจรรย์ใต้ท้องทะเลแห่งนี้ปะการัง  ถ้าดูจากรูปร่างภายนอกที่มีความหลากหลายของปะการังแล้ว  หลายคนอาจจะต้องคิดว่า  ปะการังเป็นก้อนหินบ้าง เป็นพืชบ้าง  แต่ความจริงแล้วปะการังเป็นสัตว์ทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่ไม่มีกระดูกสันหลัง  มีโครงสร้างเป็นหินปูน  ปะการังมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ขนาดตั้งแต่หนึ่งมิลลิเมตรถึงหนึ่งเซนติเมตร ร่างกายของปะการังแยกได้เป็นสองส่วน  ส่วนแรกเป็นเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่นเรียกว่า โฟลิบ (Polye)  รูปร่างเป็นทรงกระบอกปลายตัน  มีปากอยู่ตรงกลางของปลายท่อด้านบน  และมีหนวดอยู่รอบๆ  ส่วนที่สองเป็นโครงสร้างหินปูน  โดยสร้างขึ้นมาห่อหุ้มตัวเรียกว่า คอรอลไลต์(Corallite)  การกินอาหารของปะการังจะอาศัยหนวดคอยดักจับสัตว์ตัวเล็กๆ เช่นแพลงค์ตอน  จุลินทรีย์ต่างๆ  ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำเป็นอาหาร     ลักษณะพิเศษของปะการังคือการอยู่ร่วมกันของพืชกับสัตว์  คือภายในเนื้อเยื่อของปะการังจะเป็นที่อยู่อาศัยของสาหร่ายเซลล์เดียวที่เรียกว่า ซูซานเทลลี่(Zooxanthallae)  โดยสาหร่ายหรือพืชชนิดนี้จะทำหน้าที่ผลิตอาหารและพลังงานให้แก่ปะการังด้วยการสังเคราะห์แสง  เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตและยังมีส่วนให้ปะการังสามารถสร้างหินปูนได้เร็วขึ้นด้วย  ปะการังที่โตเต็มที่มีอายุจะให้กำเนิดลูกปะการังเล็กๆมากมาย  โดยวิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจากการปฏิสนธิระหว่างไข่และสเปิร์มที่ถูกปล่อยออกมา  ไข่ที่ผสมพันธุ์แล้วจะกลายเป็นตัวอ่อน  ตัวอ่อนนี้จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำจนกว่าจะสามารถหาที่เกาะจับได้  จากนั้นจึงเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนด้วยการแตกหน่อตามแต่ลักษณะรูปร่างของปะการังแต่ละชนิด  ส่วนการเจริญเติบโตของปะการังนั้นค่อนข้างช้ามาก  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สำคัญ  ได้แก่  อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมประมาณ 20-29 องศาเซลเซียส  แสงสว่างที่มากพอแก่การสังเคราะห์แสงของสาหร่ายที่อาศัยอยู่รวมกับปะการัง  ความสะอาดของน้ำ  สภาพท้องทะเลที่ค่อนข้างแข็งหรือมีความเปลี่ยนแปลงน้อย  ความเค็มของน้ำค่อนข้างสูง  จากรูปร่างภายนอกของปะการังที่มีลักษณะเด่นแตกต่างกันทำให้สามารถแบ่งกลุ่มของปะการังได้แปดกลุ่ม  คือ  หนึ่งปะการังเขาเกวาง มีลักษณะคล้ายเขากวาง  บริเวณกิ่งจะมีตุ่มอยู่โดยรอบซึ่งเป็นที่อาศัยของตัวปะการัง  สองปะการังแบบแผ่นราบ มีลักษณะคล้ายโต๊ะบางครั้งอาจซ้อนกันเป็นชั้น  สามปะการังแบบห่อหุ้ม มีลักษณะแผ่ขยายคลุมพื้นผิวที่ห่อหุ้มอยู่  สี่ปะการังแบบก้อน มีลักษณะเป็นก้อนตันคล้ายก้อนหิน  ห้าปะการังแบบกิ่งก้อน มีลักษณะรวมกันอยู่เป็นกระจุกค่อนข้างแน่น  แต่ไม่ติดเป็นก้อนเดียวกัน  หกปะการังแบบแผ่น มีลักษณะซ้อนๆกันเป็นกระจุกคล้ายใบไม้หรือผัก  เจ็ดปะการังแบบเห็ด มีลักษณะการแผ่ออกคล้ายดอกเห็ด  แปดปะการังสีน้ำเงิน มีสีน้ำเงินอยู่ในเนื้อของหินปูน และปะการังเหล่านี้ได้แผ่ขยายออกไปเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่าแนวปะการังแนวปะการังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นานาชนิด  เพราะลักษณะที่เป็นซอก โพรงอยู่ทั่วไป  จึงเหมาะแก่การหลบภัย  เป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล  เพราะความสวยงาม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต  ทำให้แนวปะการังกลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี  ออกจากนี้แนวปะการังตามชายฝั่งยังมีส่วนช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำและคลื่นที่ซัดเข้าชายฝั่ง  ในด้านการแพทย์เราสามารถสกัดสารเคมีจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการทำครีมทาป้องการรังสีอัลตราไวโอเลตที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง  การทดลองเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เป็นต้น  แนวปะการังจึงเป็นระบบนิเวศน์ที่มีความสำคัญและมีความสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำอีกระบบหนึ่งของระบบนิเวศชายฝั่งทะเล  แต่ในปัจจุบันแนวปะการังถูกทำลายและเสื่อมสลายไปมาก  เป็นเหตุให้ระบบนิเวศขาดความสมดุล  โดยมีสาเหตุมาจากมนุษย์ เช่นการระเบิดจับปลา  การทิ้งสมอเรือลงในแนวปะการัง  การเก็บหักปะการังไปประดับตกแต่ง  การทำเหมือแร่ริมชายฝั่ง  ลอดจนการปล่อยน้ำเสียลงสู่ชายฝั่งที่มีแนวปะการัง  ส่วนสาเหตุที่มาจากธรรมชาตินั้นเกิดจากสัตว์ทะเลที่กินเนื้อเยื่อของปะการังและเกิดจากคลื่นลมแรงพายุที่กระทบเข้าชายฝั่งทำให้ปะการังเสียหาย  สิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิด  ผลกระทบต่อระบบนิเวศของแหล่งปะการัง  ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง  เอกชน  ภาครัฐ และประชาชน จึงมีการประสานความร่วมมือกันอนุรักษ์แนวปะการังเมื่อพูดถึงการอนุรักษ์หลายคนคงนึกถึงปะการังเทียม  และ  การปลูกปะการัง  โดยเข้าใจว่านี่คือหนทางแก้ไข ที่จะช่วยให้ปะการังเมืองไทยอยู่รอด  แต่ความเป็นจริงแล้วปะการังเทียมสร้างขึ้นเพื่อ อนุรักษ์พันธุ์ปลา ถึงแม้จะมีสัตว์เข้าไปอาศัยอยู่  แต่ความหลากหลายนั้นต่ำกว่าแนวปะการังแท้อยู่มาก  นอกจากนั้นปะการังเทียมยังไม่สามารถทดแทนในด้านแหล่งท่องเที่ยวไดเลย  ส่วนการปลูกปะการังเป็นแค่งานวิจัยขั้นเริ่มแรก  เราอาจประสบผลสำเร็จในการปลูกปะการังนับพันก้อน  แต่ระบบนิเวศที่แท้มีปะการังอยู่นับล้านก้อน  แต่เราต้องใช้งบประมาณและเวลาขนาดไหนเพื่อสร้างแนวปะการัง  และถ้าเรามีเงิน กำลังคนขนาดนั้นแล้ว  ทำไมไม่นำมารักษาปะการังตามธรรมชาติแนวทางที่ช่วยปะการังให้คงอยู่คู่เมืองไทยคือ  รักษา  มิใช่  ฟื้นฟู  หากเราดูแลทรัพยากรใต้น้ำให้ดี  แล้วเปิดโอกาสให้ธรรมชาติเข้ามาเยียวยา  โอกาสที่ลูกหลานชาวไทยจะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทรงคุณค่าที่สุดแห่งหนึ่งในทะเลยังมีอยู่แต่ในวันนี้เราทุกคนต้องพยายามกันให้มากขึ้นกว่าเดิม    หัวข้อสัมภาษณ์ ดร.ธรณ์  ธำรงนาวาสวัสดิ์-          ความสำคัญของปะการัง-          แนวทางการอนุรักษ์ปะการังในปัจจุบันอ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
วุฒิการศึกษา : Ph.D. (Marine Science), James Cook University, Australia
หัวข้องานวิจัยที่สนใจ : การวิจัยและจัดการเกี่ยวกับปะการัง ; การสัมผัสระยะไกลทางสมุทรศาสตร์
โทรศัพท์ภายใน : 1381 ต่อ 110, 1678
โทรศัพท์สายตรง : 0-2579-7610  0-2561-3469  0-2561-4288
โทรสาร : 0-2561-4287
E-mail address:
[email protected]
                                   

หมายเลขบันทึก: 59302เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท