Overall Requirements in 2015-2016 Criteria


การที่นำ ข้อกำหนดพื้นฐาน (Basic Requirements) และ ข้อกำหนดโดยรวม (Overall Requirements) มาเสนอ เพราะองค์กรผู้สมัครส่วนใหญ่ จะมีผลประกอบการอยู่ในสองระดับนี้

ข้อกำหนดโดยรวม ในเกณฑ์ 2015 -2016

Overall Requirements in 2015-2016 Criteria

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

24 กรกฎาคม 2558

บทความเรื่อง ข้อกำหนดโดยรวม ในเกณฑ์ 2015-2016 (Overall Requirements in 2015-2016 Criteria) นำมาจาก CHANGES FROM THE 2013-2014 CRITERIA ประพันธ์โดย Mark L. Blazey ในหนังสือ Insights to Performance Excellence 2015-2016: Using the Integrated Management System and the Baldrige Framework, ASQ Quality Press, Milwaukee, Wisconsin, 2015

ผู้ที่สนใจเอกสาร PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/overall-requirements-in-2015-2016

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

  • การนำเสนอชุดนี้ เป็นการเสนอล่วงหน้า 1 ปี สำหรับผู้ตรวจประเมิน และองค์กรที่จะเข้ารับสมัครรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2559-2560 ได้พิจารณาศึกษาเป็นการล่วงหน้า เพราะเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของไทย (TQA) จะเหลื่อม (ช้ากว่า) เกณฑ์ Baldrige ที่ใช้ในอเมริกา 1 ปี
  • ข้อกำหนดของเกณฑ์ ที่ต่างจากฉบับก่อนหน้านี้ประการหนึ่งคือ ข้อกำหนดโดยรวม (Overall Requirements) ที่ได้นำมาใส่เป็นคำถามแรกตัวหนา (Bold) อยู่ในข้อกำหนดย่อย (Multiple Requirements) ส่วนคำถามต่อจากนั้นเป็นส่วนขยาย

++++++++++++++++++++++

เกริ่นนำ

  • จากข้อกำหนดสามระดับในเรื่อง Scoring System ข้อกำหนดเกณฑ์จะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มหรือสามระดับ
    • ข้อกำหนดพื้นฐาน (Basic) สำหรับคะแนนในช่วง 10% ถึง 45%
    • ข้อกำหนดโดยรวม (Overall) สำหรับคะแนนอยู่ในช่วง 50% ถึง 65% และ
    • ข้อกำหนดย่อย (Multiple) สำหรับคะแนนในช่วง 70% ถึง 100%

การให้คะแนนอย่างคงเส้นคงวา

  • คะแนนที่ผู้สมัครได้รับ มีระดับของการตอบสนองของข้อกำหนดตามลำดับขั้นคือ
  • หมายความว่า ผู้สมัครจะได้คะแนนในระดับข้อกำหนดโดยรวม จะต้องตอบสนองต่อข้อกำหนดพื้นฐานให้ได้อย่างเป็นระบบก่อน และมีบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ในข้อกำหนดโดยรวม จึงจะได้คะแนนในช่วงของ 50% ถึง 65%
  • ก่อนหน้านี้ ข้อกำหนดโดยรวม จะเป็นข้อความตัวหนาอยู่ใต้ชื่อหัวข้อ (under Item title)
  • ฉบับใหม่ล่าสุด ข้อกำหนดโดยรวม จะเป็นคำถามแรกตัวหนาในประเด็นพิจารณา หรือหัวข้อย่อยของข้อกำหนดย่อย (set forth in the boldface questions at the beginning of each lettered Area or numbered Subarea to Address) ซึ่งข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้นมา ก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับข้อกำหนดย่อย (multiple level)

เกณฑ์ Baldrige 2015-2016 มีการปรับคำนิยาม ข้อกำหนดโดยรวม (Overall Requirements) เพิ่มขึ้น 50 ข้อ

หมวด 1 การนำองค์กร (120 คะแนน)

  • ในหมวด การนำองค์กร เกณฑ์ถามว่าผู้นำระดับสูงทำกิจกรรม หรือชี้นำให้องค์กรมีความยั่งยืนอย่างไร นอกจากนี้ เกณฑ์ยังถามถึงระบบการกำกับดูแลองค์กร วิธีการที่องค์กรใช้เพื่อบรรลุผลด้านกฎหมาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง รวมทั้งการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญอย่างไร

หัวข้อ 1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง: ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร? (70 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: ผู้นำระดับสูงดำเนินการในการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม [1.1ก(1)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 1.1ก(1) ผู้นำระดับสูงกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมขององค์กร
    • 1.1ก(2) การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและการประพฤติปฏิบัติมีจริยธรรม
    • 1.1ก(3) ผู้นำระดับสูงดำเนินการที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในปัจจุบันและในอนาคต
    • 1.1ข(1) ผู้นำระดับสูงดำเนินการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากร ทั่วทั้งองค์กรและลูกค้าที่สำคัญ
    • 1.1ข(2) ผู้นำระดับสูงดำเนินการในการทำให้เกิดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์กร

หัวข้อ 1.2 การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง: องค์กรดำเนินการอย่างไรในการกำกับดูแลองค์กร และทำให้บรรลุผลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง? (50 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: ความรับผิดชอบของการกำกับดูแลองค์กร และความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคม [1.2ก(1), 1.2ค(1)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 1.2ก(1) มั่นใจในเรื่องความรับผิดชอบของการกำกับดูแลองค์กร
    • 1.2ก(2) การประเมินผลการดำเนินการของผู้นำระดับสูง ซึ่งรวมถึงผู้นำสูงสุดด้วย และคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร
    • 1.2ข(1) การรับรู้และระบุความกังวลของสาธารณะ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานขององค์กร
    • 1.2ข(2) การส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านขององค์กรมีการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
    • 1.2ค(1) คำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์และการปฏิบัติการประจำวัน
    • 1.2ค(2) การสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญขององค์กร

หมวด 2 กลยุทธ์ (85 คะแนน)

  • ในหมวด กลยุทธ์ เกณฑ์ถามว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการขององค์กร การนำไปปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ตลอดจนวิธีการวัดผลความก้าวหน้า

หัวข้อ 2.1 การจัดทำกลยุทธ์: องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดทำกลยุทธ์? (45 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: มีวิธีการในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์กร [2.1ก(1)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 2.1ก(1) มีวิธีการในการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิผล
    • 2.1ก(2) การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
    • 2.1ก(3) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
    • 2.1ก(4) ระบุระบบงานที่สำคัญขององค์กร
    • 2.1ข(1) สรุปวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กร และระบุตารางเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    • 2.1ข (2) การทำให้วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เกิดความสมดุลที่เหมาะสม ระหว่างความแตกต่างกันและแนวโน้มการแข่งขันความต้องการขององค์กร

หัวข้อ 2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ: องค์กรนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างไร? (40 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: มีการนำกลยุทธ์ขององค์กรไปปฏิบัติ [2.2ก(2)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 2.2ก(1) มีรายการของแผนปฏิบัติการที่สำคัญทั้งระยะสั้นและระยะยาวขององค์กร
    • 2.2ก(2) การนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติ
    • 2.2ก(3) มั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่นๆ พร้อมใช้ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จและบรรลุพันธะผูกพันในปัจจุบัน
    • 2.2ก(4) พัฒนาแผนด้านบุคลากรที่สำคัญที่สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการระยะสั้นและระยะยาว
    • 2.2ก(5) พัฒนาตัววัดหรือตัวชี้วัดผลการดำเนินการที่สำคัญ ที่ใช้ติดตามความสำเร็จและประสิทธิผล ของแผนปฏิบัติการ
    • 2.2ก(6) การคาดการณ์ผลการดำเนินการตามกรอบเวลาของการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวขององค์กร
    • 2.2ข. การปรับเปลี่ยนและนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติในกรณีที่สถานการณ์บังคับให้ต้องปรับแผนและต้องการนำไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว

หมวด 3 ลูกค้า (85 คะแนน)

  • ในหมวด ลูกค้า เกณฑ์ถามว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันกับลูกค้าเพื่อความสำเร็จด้านตลาดในระยะยาว ครอบคลุมถึงวิธีการที่องค์กรรับฟังเสียงของลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และใช้สารสนเทศลูกค้าเพื่อปรับปรุงและค้นหาโอกาสในการสร้างนวัตกรรม

หัวข้อ 3.1 เสียงของลูกค้า: องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการเสาะหาสารสนเทศจากลูกค้า? (40 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: การได้สารสนเทศจากลูกค้า [3.1ก(1)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม;
    • 3.1ก(1) การรับฟัง มีปฏิสัมพันธ์ และสังเกตลูกค้า เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ต่อได้
    • 3.1ก(2) การรับฟังลูกค้าในอนาคต เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ต่อได้
    • 3.1ข(1) การประเมินความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของลูกค้า
    • 3.1ข(2) การเสาะหาสารสนเทศด้านความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อองค์กรเปรียบเทียบกับความพึงพอใจของลูกค้าของตนกับองค์กรอื่น

หัวข้อ 3.2 ความผูกพันของลูกค้า: องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อสร้างความผูกพัน และสร้างความสัมพันธ์? (45 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: ตอบสนองความต้องการเพื่อสร้างความผูกพัน และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า [3.2ก(2), [3.2ข(1)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 3.2ก(1) การกำหนดผลิตภัณฑ์และบริการ
    • 3.2ก(2) การสื่อสารเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์
    • 3.2ก(3) การจำแนกกลุ่มลูกค้าและส่วนตลาด
    • 3.2ข(1) การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
    • 3.2ข(2) การจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า

หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (90 คะแนน)

  • ในหมวด การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ เกณฑ์ถามว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการเลือก รวบรวมวิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูล สารสนเทศและสินทรัพย์ทางความรู้ องค์กรมีการเรียนรู้ และบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร นอกจากนี้เกณฑ์ยังถามว่าองค์กรใช้ผลการทบทวนเพื่อปรับปรุงผลการดำเนินการอย่างไร

หัวข้อ 4.1 การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร: องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการวัด วิเคราะห์ และปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร? (45 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: การวัด การวิเคราะห์ และปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร [4.1ก(1), [4.1ข], [4.1ค(3)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 4.1ก(1) การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อติดตามการปฏิบัติการประจำวันและผลการดำเนินการโดยรวมขององค์กร
    • 4.1ก(2) การเลือกและใช้ข้อมูลสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบอย่างมีประสิทธิผล
    • 4.1ก(3) การใช้ข้อมูลและสารสนเทศจากเสียงของลูกค้าและตลาด
    • 4.1ก(4) มั่นใจว่าระบบการวัดผลการดำเนินการสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือที่ไม่ได้คาดคิด ทั้งภายในหรือภายนอกองค์กร
    • 4.1ข. การทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถขององค์กร
    • 4.1ค(1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศภายในองค์กร
    • 4.1ค(2) คาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต
    • 4.1ค(3) การใช้ผลการทบทวนผลการดำเนินการ ไปใช้จัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และนำไปเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรม

หัวข้อ 4.2 การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ: องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดการสินทรัพย์ทางความรู้ขององค์กร สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ? (45 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: มีการจัดการความรู้ขององค์กร สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ [4.2ก(1), 4.2ข(1), 4.2ข(4)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 4.2ก(1) การจัดการความรู้ขององค์กร
    • 4.2ก(2) การใช้องค์ความรู้และทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้ฝังลึกลงไปในวิถีการปฏิบัติงานขององค์กร
    • 4.2ข(1) การทำให้มั่นใจว่าข้อมูลสารสนเทศขององค์กรมีคุณภาพ
    • 4.2ข(2) มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศที่มีความอ่อนไหวหรือมีความสำคัญ
    • 4.2ข(3) มั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศมีความพร้อมใช้งาน
    • 4.2ข(4) มั่นใจว่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีความเชื่อถือได้ ปลอดภัย และใช้งานง่าย
    • 4.2ข(5) ในกรณีฉุกเฉิน องค์กรมีวิธีการในการทำให้มั่นใจว่าระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รวมทั้งข้อมูลและสารสนเทศมีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองลูกค้าและความจำเป็นทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล

หมวด 5 บุคลากร (85 คะแนน)

  • ในหมวด บุคลากร เกณฑ์ถามว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร และในการสร้างสภาพแวดล้อมของบุคลากรที่ก่อให้เกิดผลการดำเนินการที่ดี หมวดนี้ยังถามถึงวิธีการสร้างความผูกพัน จัดการ และพัฒนาบุคลากรเพื่อนำศักยภาพของบุคลากรมาใช้อย่างเต็มที่โดยให้สอดคล้องไปในทางเดียวกันกับพันธกิจ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการขององค์กร

หัวข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของบุคลากร: องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีประสิทธิผลต่อผลสำเร็จขององค์กรและเกื้อหนุนบุคลากร? (40 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนบุคลากรอย่างมีประสิทธิผล [5.1ข(1), 5.1ข(2)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 5.1ก(1) การประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร
    • 5.1ก(2) การสรรหา ว่าจ้าง บรรจุ และรักษาบุคลากรใหม่ไว้
    • 5.1ก(3) การจัดโครงสร้างและบริหารบุคลากร
    • 5.1ก(4) การเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร
    • 5.1ข(1) มั่นใจได้เกี่ยวกับปัจจัยด้านสุขภาพและสวัสดิภาพ และความสะดวกในการเข้าถึงสถานที่ทำงานของบุคลากร
    • 5.1ข(2) สนับสนุนบุคลากรโดยการกำหนดให้มีการบริการสิทธิประโยชน์ และนโยบาย

หัวข้อ 5.2 ความผูกพันของบุคลากร: องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันกับบุคลากร เพื่อให้บรรลุความสำเร็จในสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ดี? (45 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: สร้างความผูกพันของบุคลากร (บุคลากรให้ความร่วมมือเต็มที่) เพื่อผลการดำเนินการที่ดี และการประสบความสำเร็จของบุคลากร [5.2ก(1)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 5.2ก(1) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการสื่อสารที่เปิดกว้าง การทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดี และบุคลากรมีความผูกพัน
    • 5.2ก(2) การกำหนดองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพัน
    • 5.2ก(3) การประเมินความผูกพัน
    • 5.2ก(4) ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสนับสนุนให้มีการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและความผูกพันของบุคลากร
    • 5.2ข(1) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาสนับสนุนความต้องการขององค์กรและการพัฒนาตนเองของบุคลากร ผู้บริหาร และผู้นำ
    • 5.2ข(2) มีวิธีประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบการเรียนรู้และการพัฒนา
    • 5.2ข(3) การจัดการความก้าวหน้าในอาชีพการงานขององค์กร

หมวด 6 การปฏิบัติการ (85 คะแนน)

  • ในหมวด การปฏิบัติการ เกณฑ์ถามว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการออกแบบ จัดการ ปรับปรุง และการสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิผลของการปฏิบัติการ เพื่อส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้า และทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

หัวข้อ 6.1 กระบวนการทำงาน: องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการออกแบบ จัดการและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงานที่สำคัญ? (45 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: การออกแบบ จัดการ และปรับปรุงผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงานที่สำคัญ [6.1ก(2), 6.1ข(1), 6.1ข(3)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 6.1ก(1) การกำหนดข้อกำหนดที่สำคัญของผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงาน
    • 6.1ก(2) การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงานเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญทั้งหมด
    • 6.1ข(1) มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการเหล่านี้จะเป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญ
    • 6.1ข(2) การกำหนดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ
    • 6.1ข(3) การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์และผลการดำเนินการ และลดความแปรปรวนของกระบวนการ
    • 6.1ค. การจัดการนวัตกรรม

หัวข้อ 6.2 ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ: องค์กรมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีการบริหารจัดการการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิผล? (40 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: มั่นใจว่ามีการบริหารจัดการการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิผลทั้งในปัจจุบันและอนาคต [6.2ก]
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 6.2ก. การควบคุมต้นทุนโดยรวมของการปฏิบัติการ
    • 6.2ข. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
    • 6.2ค(1) การทำให้มีสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการที่ปลอดภัย
    • 6.2ค(2) มีวิธีการเพื่อทำให้มั่นใจว่าองค์กรมีการเตรียมพร้อมต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน

หมวด 7 ผลลัพธ์ (450 คะแนน)

  • ในหมวด ผลลัพธ์ เกณฑ์ถามว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการประเมินผลการดำเนินการและการปรับปรุงในด้านที่สำคัญทุกด้านขององค์กร ได้แก่ ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร และผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาด นอกจากนี้ ยังถามถึงระดับผลการดำเนินการขององค์กรเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และองค์กรอื่นที่เสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึง

หัวข้อ 7.1 ผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ: ผลการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์และประสิทธิผลของกระบวนการเป็นอย่างไร? (120 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน: มีผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ [7.1ก, 7.1ข(1)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม :
    • 7.1ก. มีผลลัพธ์ด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่มุ่งเน้นลูกค้า
    • 7.1ข(1) มีผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ
    • 7.1ข(2) มีผลลัพธ์ด้านการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน
    • 7.1ค. มีผลลัพธ์ด้านผลลัพธ์ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

หัวข้อ 7.2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า: ผลการดำเนินการด้านการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นอย่างไร? (80 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน : รายงานผลลัพธ์การมุ่งเน้นลูกค้า [7.2ก(1)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม :
    • 7.2ก(1) รายงานผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของลูกค้า
    • 7.2ก(2) รายงานผลลัพธ์ความผูกพันกับลูกค้า

หัวข้อ 7.3 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร: ผลการดำเนินการด้านการมุ่งเน้นบุคลากรเป็นอย่างไร? (80 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน : รายงานผลลัพธ์ผลการดำเนินการด้านการมุ่งเน้นบุคลากร
  • ข้อกำหนดโดยรวม :
    • 7.3ก(1) รายงานผลลัพธ์ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร
    • 7.3ก(2) รายงานผลลัพธ์บรรยากาศการทำงาน
    • 7.3ก(3) รายงานผลลัพธ์การทำให้บุคลากรมีความผูกพัน
    • 7.3ก(4) รายงานผลลัพธ์การพัฒนาบุคลากรและผู้นำ

หัวข้อ 7.4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร: ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กรเป็นอย่างไร? (80 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน : รายงานผลลัพธ์การดำเนินงานของผู้นำระดับสูง และการกำกับดูแลองค์กร [7.4ก(1), 7.4ก(2)]
  • ข้อกำหนดโดยรวม :
    • 7.4ก(1) รายงานผลลัพธ์ของการสื่อสารของผู้นำระดับสูง และการสร้างความผูกพันกับบุคลากรและลูกค้า
    • 7.4ก(2) รายงานผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบการกำกับดูแลองค์กร
    • 7.4ก(3) รายงานผลลัพธ์ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย
    • 7.4ก(4) รายงานผลลัพธ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
    • 7.4ก(5) รายงานผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง และการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ
    • 7.4ข.รายงานด้านการนำกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการขององค์กรไปปฏิบัติ

หัวข้อ 7.5 ผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาด: ผลการดำเนินการด้านการเงินและตลาดมีอะไรบ้าง? (90 คะแนน)

  • ข้อกำหนดพื้นฐาน : รายงานผลลัพธ์การดำเนินการด้านการเงินและตลาด
  • ข้อกำหนดโดยรวม:
    • 7.5ก(1) รายงานผลลัพธ์การดำเนินการด้านการเงิน
    • 7.5ก(2) รายงานผลลัพธ์การดำเนินการด้านตลาด

สรุป

  • การที่นำ ข้อกำหนดพื้นฐาน (Basic Requirements) และ ข้อกำหนดโดยรวม (Overall Requirements) มาเสนอ เพราะองค์กรผู้สมัครส่วนใหญ่ จะมีผลประกอบการอยู่ในสองระดับนี้
  • มีบ้างบางองค์กรที่มีระดับการพัฒนามามากแล้ว มีวุฒิภาวะอยู่ในขั้นของ ข้อกำหนดย่อย (Multiple Requirements) ตอบสนองข้อกำหนดย่อยได้เกือบทุกข้อ สามารถศึกษาคำถามย่อย ๆ ทุกคำถามที่มีอยู่ในเกณฑ์ได้เอง

**********************************

หมายเลขบันทึก: 592807เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2015 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท