พัฒนากรกับการขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ


การจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้รับผิดชอบ ควรมีหลักการและแนวคิดในการขับเคลื่อนงานและเชื่อโยงของส่วนต่างๆ ที่นำพาให้ยุทธศาสตร์ที่วางไว้บรรลุตามวัตถุประสงค์และประสบผลสำเร็จได้ การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์(Strategy Map) นอกจากช่วยให้ผู้รับผิดชอบในแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นระบบแล้ว ยังทำให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ย่อยที่จะมาสนับสนุนการดำเนินงานให้สำเร็จได้ ยิ่งไปกว่านั้นแผนที่ยุทธศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการสื่อสารการทำงานของหน่วยงานใหญ่ไปสู่หน่วยงานภายในและผู้รับผิดชอบ ได้มองเห็นทิศทางและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง
ในการทำให้ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนทั้ง ๕ ยุทธศาสตร์ประสบความสำเร็จนั้น การบริหารความเสี่ยง(Risk Management)เป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับจะต้องเรียนรู้เพื่อทำการศึกษาปัจจัยต่างๆอันจะทำให้กิจกรรมที่กำหนดไว้ไม่สามารถขับเคลื่อนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ ดังนั้น เรื่องการบริหารความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่Stakeholderจะต้องเรียนรู้ควบคู่กันไปในการจัดทำยุทธศาสตร์ตั้งแต่การเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงการ
หลังจากจัดทำยุทธศาสตร์เสร็จแล้ว การดำเนินงานให้ยุทธศาสตร์เกิดสัมฤทธิ์ผลนั้นยังมีการบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management)ต้องถูกบรรจุไว้ในระบบงานเสมอ โครงสร้างการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่มีอย่างไร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ยุทธศาสตร์ได้วางไว้ วัฒนธรรมองค์การและการมีส่วนร่วมทางความคิดของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปลี่ยนแปลงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและไม่ควรมองข้าม
ในขั้นตอนการดำเนินยุทธศาสตร์ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ การกำหนดตัวชี้วัดและผู้รับผิดชอบหรือเจ้าภาพที่ชัดเจนเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งผู้บริหารยุทธศาสตร์ควรได้รับความรู้ในการจัดทำ การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล (Individual Scorecard) ผู้บริหารควรมีความรู้ในหลักการเพื่อกำหนดผลงานระดับบุคคลและการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวโดยใช้ การกำกับ ดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ดำเนินการให้เป็นไปในแต่ละไตรมาสโดยเคร่งครัดและบุคลากรมีสมรรถนะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามไตรมาสจนเป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่เป็นต้นแบบทั้งพัฒนาการอำเภอและพัฒนากร
ขุมความรู้
- แนวทางการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในประเด็นของการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map)
- Road map การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
- การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล (Individual Scorecard)
- การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
- การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chang Management)
-

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
กลยุทธ์การดำเนินงาน
๑. พัฒนาการอำเภอและพัฒนากรศึกษาร่างแนวทางการดำเนินงานที่กรมการพัฒนาชุมชนจัดทำ เพื่อสรุปโครงการ/กิจกรรมที่คาดว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่พื้นที่อำเภอ/ตำบล ที่คาดว่าจะดำเนินการในปีงบประมาณโดยพัฒนากรต้องมีฐานข้อมูลกลุ่มองค์กรเครือข่ายในพื้นที่
๒. อำเภอ/จังหวัดจัดประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคนเพื่อกำหนดเป้าหมาย/สถานที่ จุดดำเนินการรวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติงาน มอบหมายภารกิจและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมฯ
๓. มอบหมายให้พัฒนากรที่มีกิจกรรมดำเนินการในพื้นที่จัดทำร่างคำขอ/ร่างโครงการพร้อมรายละเอียดวัสดุที่จะดำเนินการโดยสอบถามกลุ่มเป้าหมายเพื่อรอรับการแจ้งผลการพิจารณาจัดสรรโครงการ
๔. อำเภอจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ให้เป็นไปภายในไตรมาส
ข้อควรระวัง
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับต้องศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนงาน/กิจกรรมแต่ละกิจกรรม
ดำเนินการตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดกิจกรรมให้ตรงตามไตรมาสโดยเคร่งครัดรวมทั้ง
พัฒนาการอำเภอต้องกำกับควบคุมดูแลให้พัฒนากรปฏิบัติตามแผนที่กำหนดหากมี

ให้เข้าใจและสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ให้ทั่วถึงทั้งองค์กร
การเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมขององค์กรและมีการปรับแผนการดำเนินการตามบริบทของแต่ละพื้นที่
ปัญหาอุปสรรคต้องรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขทันที
ข้อเสนอแนะ
เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอให้ประสบผลสำเร็จ จึงมีข้อเสนอที่สำคัญตามลำดับที่ต้องดำเนินการ ๕ ประการ ดังนี้
ควรเน้นการสื่อสารทางยุทธศาสตร์โดยมุ่งเน้นความรู้ความเข้าใจในสาระ การนำไป
ควรจัดให้มีทีมบริหารยุทธศาสตร์ในระดับอำเภอเพื่อร่วมกันจัดทำSWOTองค์กร
พัฒนากรควรวิเคราะห์SWOTตนเองเพื่อค้นหาศักยภาพ/งานที่ถนัดตรงตาม
ควรสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน
ควรกำหนดเป็นนโยบายให้ทุกส่วนราชการทั้งระดับพัฒนาการอำเภอ/พัฒนากรให้มีการ

ปฎิบัติ เสริมสร้างความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกันของบุคลากรทุกระดับ
ความสามารถของตนเอง และแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
ให้เป็นแบบมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ โดยมีผู้บังคับบัญชาทุกระดับเป็นจุดเน้น (Focused) เพื่อเป็นทีมงานที่ดี
จัดวางระบบตรวจสอบการขับเคลื่อนงานเพื่อที่จะประเมินคุณภาพตนเองในกระบวนการทางยุทธศาสตร์ นับตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการวางแผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล
๖. ควรมีการถอดบทเรียนการจัดการความรู้งานตามยุทธศาสตร์กรมฯทุกกิจกรรมที่ดำเนินการในระดับพื้นที่
พัฒนากรในฐานะผู้ที่ขับเคลื่อนกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องรู้จักSWOTตัวเองและSWOTชุมชนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการตนเองและชุมชนให้สามารถบริหารจัดการชุมชนได้ทั้งการควบคุมติดตามประเมินผล จะช่วยให้นำพาองค์กรดำเนินงานในเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

หมายเลขบันทึก: 592462เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2015 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2015 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท