"พระราชบัญญัติและสิทธิประโยชน์ผู้สูงอายุ"


ต้องขอขอบคุณชมรมผู้สูงอายุมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจัดบรรยายความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสำหรับผู้สูงอายุ ในหัวข้อ "พระราชบัญญัติและสิทธิประโยชน์ผู้สูงอายุ" ดร.วิชัย ธัญญพาณิชย์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดี ศาลสูงภาค 4 จังหวัดขอนแก่น เป็นวิทยากร บรรยายในอังคารวันที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 13.30 - 16.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคาร 5 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ได้มีโอกาสไปฟังบรรยายสาระสำคัญเกี่ยวกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖

ท่านวิทยากรได้บรรยายว่าตามกฎหมาย ผู้สูงอายุ ต้องอายุเกิน ๖๐ ปี บริบูรณ์ นับจากวันที่เกิด และมีสัญชาติไทย จะโดยการเกิดหรือการแปลงสัญชาติ

ผู้สูงอายุ จะได้รับอะไรบ้าง

  • การคุ้มครอง
  • การส่งเสริม
  • การสนับสนุน

การรับบริการ ๑๓ ด้าน คือ

๑. สิทธิ์ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดไว้ให้ โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษ

บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข หมายถึง

บริการที่ให้แก่บุคคลโดยตรงเพื่อ ส่งเสริมสุขภาพ

การป้องกันโรค..การตรวจวินิจฉัยโรค

การรักษาพยาบาล

การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีพ

รวมถึง..บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

๒. สิทธิ์ได้รับบริการด้านการศึกษา..ศาสนาและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

. สิทธิ์ได้รับบริการด้านการประกอบอาชีพหรือฝ฿กอาชีพที่เหมาะสม

. สิทธิ์ในการพัฒนาตนเองและการทีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายและชุมชน

. สิทธิ์ได้รับการอำนวยสะดวกและปลอดภัยโดยตรงในอาคาร สถานที่ หรือ ในยานพาหนะ หรือบริการสาธารณอื่น

ได้รับบริการจาก "รัฐ" ในลักษณะ "การกำหนดลักษณธ" อาคาร...สถานที่...ยานพาหนะ หรือบริการอื่นที่ต้องมี

หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพ คือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด การท่องเที่ยว ฯ

. สิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือด้านค่าโดยสาร ยานพาหนะตามเหมาะสม

ค่ารถไฟ ครึ่งราคา ในช่วงเดือน มิถุนายน - กันยายน

. สิทธิ์ได้รับการยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ

- เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฟรี

- เข้านวอุทยานแห่งชาติฟรี

๘. สิทธิ์ในการได้รับการช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับการทารุณกรรม

  • การทารุณกรรม คืออย่างไร
    • การกระทำใดๆหรือการละเว้นการกระทำใดๆจนเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุ..เสื่อมเสียเสรีภาพ
    • ความผิดทางเพศต่อผู้สูงอายุ
    • ทั้งนี้ โดยคำนึงถึง..สภาพจิตใจ
    • มีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครอง

๙. สิทธิ์ในการได้รับญหาครอบครัวคำแนะนำ/คำปรึกษา/ดำเนินการอื่นเกี่ยวข้องในทางคดีหรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว

๑๐. สิทธิ์ในการได้รับจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง

  • เช่น บ้านพักคนชรา

๑๑. สิทธิ์ได้รับเบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

  • ได้รับเฉพาะผู้ไม่มีสิทธิ์อื่นใด เช่น ข้าราชการบำนาณขอรับเบี้ยยังชีพไม่ได้

๑๒. สิทธิ์ในการได้รับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี

๑๓. ผู้อุปการะเลี้ยงบุพการีซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิ์ได้รับการลดหย่อนภาษีตามประมวลรัษฎากร

ผู้สูงอายุกับการทำพินัยกรรม

๑.พินัยกรรมคืออะไร มีลักษณะอย่างไร

พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนา กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินและอื่นๆ

๒.ใครมีสิทธิ์ทำพินัยกรรม

ยกเว้นบุคคล ๓ กลุ่มนี้ ทุกคนย่อมมีสิทธิ์ทำพินัยกรรมได้

- บุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ (หากบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ ๑๕ ปีทำพินัยกรรม พินัยกรรมดังกล่าวจะเป็นโมฆะ)

- บุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ

- บุคคลวิกลจริตกระทำในขณะจริตวิกล


สาระสำคัญของพินัยกรรม

มีลายมือชื่อ

มีวัน เดือนปี

มีพยาน

๓. พินัยกรรมมีกี่แบบ

พินัยกรรมต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด มี ๕ แบบ

- แบบธรรมดา

- แบบเขียนเองทั้งฉบับ

- แบบเอกสารฝ่ายเมือง (ม.๑๖๕๘)

- แบบเอกสารลับ (ม.๑๖๖๐)

- แบบทำด้วยวาจา

หลักเกณฑ์และวิธีการทำ คือ

๑.มีพฤติกรรมพิเศษ (เช่นผู้ทำตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาม หรือเวลามีโรคระบาด หรือเวลามีสงคราม

และ

๒.ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นที่กำหนดได้

วิธีการทำ

๑.ต้องแสดงเจตนา (สั่ง)ต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น และ

๒. โดยไม่ชักช้า

ท้ายพินัยกรรม ควรมีข้อความว่า"ขณะที่ข้าพเจ้าลงรายมือชื่อ ข้าพเจ้ามีสติ สัมปชัญญะสมบูรณ์ มิได้ถูกบังคับ ขู่เข็ญหรือสำคัญผิดใดๆ จึงทำพินัยกรรมฉบับนี้ไว้"


การให้

การให้จะเอาคืนไม่ได้ยกเว้นผู้รับเนรคุณ

เนรคุณ หมายถึง

๑.ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง หรือ

๒.ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ

๓.ผู้รับบอกปัด ไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้ให้ยังสามารถจะให้ได้

หมายเลขบันทึก: 591792เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2015 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2015 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท