A global one world classroom (ห้องเรียนแห่งโลก)


มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ความล้มเหลวของการศึกษาแบบสำเร็จรูป

(27/6/2558)

หลังจากที่อ่านหนังสือ และเปิดหน้าเวปของ Khan Academy เกี่ยวกับความสามารถในการจูงใจผู้เรียน จากการใช้คานอะคาเดมี่มาเป็นเวลาสักระยะหนึ่ง วันนี้ ได้ลองฟัง Salman Khan พูดผ่าน Ted Talk เสียที

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก Salman สรุปได้ดังนี้

1) การใช้เทคโนโลยีในห้องเรียนกลับด้านสามารถเติมเต็มความเป็นมนุษย์ได้มากขึ้น เนื่องจาก สัดส่วนการใช้เวลาของครูจะลงไปอยู่กับการพูดคุยกับนักเรียนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนรู้ได้ช้า ในการทำความเข้าใจบทเรียนดังกล่าว ซึ่งแตกต่างจาก การสอนแบบดั้งเดิม คือ ครูใช้เวลาไปกับการบรรยาย การให้คะแนน การตรวจการบ้าน เหลือเวลาเพียงบางส่วนสำหรับการให้ข้อแนะนำนักเรียนและช่วยเหลือนักเรียน

2) มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ความล้มเหลวของการศึกษาแบบสำเร็จรูป (One size fits all) นั่นคือผู้เรียนที่อายุมากแล้วจะมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจและยังไม่เข้าใจมากขึ้น หรือ ผู้เรียนด้อยโอกาสที่จำเป็นต้องเลี้ยงดูครอบครัว และไม่มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาก็จะมีโอกาสมากขึ้น

3) ครูสามารถส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี ให้เกิดขึ้นภายในห้องเรียนแบบนี้ได้ เนื่องจากเด็กที่เรียนรู้ได้เร็วสามารถลงทะเบียนเพื่อที่จะเป็นผู้สอนนักเรียนคนอื่นได้อีกด้วย

ข้อจำกัด หรือ ข้อคิดเห็น

1) ข้อจำกัดจะเกิดขึ้นกับครูที่มีลักษณะเป็น Dinosaur คือไม่พยายามปรับตัวเข้ากับโลกที่กำลังเปลี่ยนไปจาก ศตวรรษที่ 18 หรือ 19 หรือ 20 ก็ตามที และจะพยายามทุกวิถีทางที่จะไม่ให้การเรียนดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่เค้าเหล่านั้นไม่เข้าใจและไม่พยายามที่จะทำความเข้าใจ

2) จำเป็นที่ผู้เขียนเองต้องกลับไปลองทบทวนตัวเอง และทดลองทำในประเด็นนี้ก่อนที่จะสามารถสรุปได้ว่า ภาษาเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในบริบทดังกล่าวมากน้อยเพียงใด

3) ความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน ฉะนั้น เมื่อเกิดห้องเรียนดังกล่าวขึ้นก็จะส่งผลดีให้กับนักเรียนทุกคน เนื่องจากเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามสปีดของตนเอง อีกทั้งการที่นักเรียนสามารถเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้เรียนมาเป็นผู้สอนนั้น จะช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในสิ่งๆ นั้นได้ดียิ่งขึ้นและจะช่วยลดการหลงลืมได้ดี


ที่มาภาพประกอบ : http://www.cio-asia.com/print-article/9153/

หมายเลขบันทึก: 591714เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2015 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2015 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท