17 มิถุนายน 2558


วันนี้สอนนักเรียนชั้น ม.5 เรื่อง คลื่นนิ่ง โดยแนวการสอนคือ มีอุปกรณ์คือเครื่องกำเนิดคลื่น เชือก นอต 5 ตัว และไม้บรรทัด

จากอุปกรณ์ที่มี ให้นักเรียนช่วยกันหาความเร็วคลื่นที่มีค่าน้อยที่สุด ให้นักเรียนวางแผน 20 นาที แล้วให้นักเรียนกลุ่มที่พร้อมออกมาทำหน้าห้องในเวลา 5 นาที เมื่อทำไปจนครบขั้นตอนทุกชั่วโมง พบว่า มีจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขในการสอนครั้งต่อไปคือ 1. กลุ่มแรกที่ออกแบบได้จะมาทำการทดลองหน้าชั้น ทำให้มีบางกลุ่มมาคัดลอกแนวคิดไป 2. เวลา เนื่องจากมีการทำกิจกรรมเสริมหน้าเสาธงทำให้นักเรียนเข้าสาย 30 นาที จึงทำให้ในบางขั้นตอนไม่สามารถทำได้เต็มที่ 3. ในบางกิจกรรมเราควรสอนให้นักเรียนรู้บางตัวแปรก่อน เช่น นักเรียนกลุ่ม 5 ถามว่า ความยาวคลื่นหาอย่างไรค่ะ 4. ความไม่ชัดเจนของตัวครูในการออกแบบคำถามทำให้นักเรียนทำผิดพลาดไปมาก

สำหรับผลนะครับ เมื่อเราทำ นักเรียนส่วนมากจะยังงงอยู่ แต่ยังมีการค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มเลยครับเช่น ค้นหาในหนังสือ หรือใบอินเตอร์เน็ต และบางกลุ่มก็ทำอย่างไม่สุ่มๆ ไป แต่ก็ไปจับทางได้ว่าถ้าหาแรงตึงเชือกเพิ่มขึ้นความยาวคลื่นจะเพิ่มขึ้น และในขั้นตอนของการสะท้อนผล ไม่มีเวลาเพียงพอ จึงทำให้ผมต้องไปถามนักเรียนในตอนที่นักเรียนยังเขียนอยู่เป็นกลุ่ม เช่น ผลที่ได้เป็นอย่างไร ก่อนที่เราจะไปทำการทดลองเราได้มีแผนในใจไหมว่าเราจะไปวัดอะไร ผลที่ได้ตรงกับสิ่งที่เราคาดไว้หรือเปล่า? นอกจากนั้น ผมก็ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมและก็ให้โจทย์เสริมประสบการณ์ไปทำครับ

คำสำคัญ (Tags): #คลื่นนิ่ง
หมายเลขบันทึก: 591190เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2015 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2015 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท