ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 2/12


หมอบุญมี บุญไชยเดช ( บิดา ) ผู้ที่ได้รับมอบ ( ไห ) บรรจุพระนางพญามาจากปู่บุญ


พระนางพญาทั้งหมด เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษของปู่บุญ ได้มาจากไต้ฐานพระพุทธรูปในพระวิหารวัดนางพญาที่พังทลายลงมา ในสมัยนั้นยังไม่มีผู้คนสนใจสะสมพระเครื่องกัน เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงให้สามเณรบุญ ( ปู่บุญ ) ไปตามญาติพี่น้องให้มาช่วยกันขน ( ไห ) บรรจุพระเครื่องนั้นไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านก่อน ในคราวเดียวกันนั้นมีคนสนิทกับเจ้าอาวาสหลายรายทราบเรื่อง ก็พากันเข้าไปขอ ( ไห ) พระเครื่องนั้นไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านบ้าง ส่วน มากจะนำ ไปฝังไว้ตามท้องไร่ท้องนาของตนแล้วปลูกต้นไม้ไว้เป็นสัญญาลักษณ์ ไม่มีใครนำไปเก็บไว้ในบ้านเลย เนื่องจากคนในสมัยโบราณไม่นิยมที่จะนำสิ่งของที่เป็นของวัดเข้าบ้าน เพราะกลัวบาปและไม่เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เวลาผ่านไปหนึ่งหรือสองปีต่อมา เจ้าอาวาสญาติสนิทของปู่บุญ ก็มรณภาพด้วยโรคชราถึงช่วงที่ปู่บุญเติบโตเป็นหนุ่ม ก็อุปสมบทเพื่อตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ระยะหนึ่งแล้วจึงลาสิกขา สึกออกมามีครอบครัวโดยไม่ได้สนใจไหบรรจุพระเครื่องนั้นอีกเลย จวบจนกระทั่งหมอบุญมี ไปแต่งงานกับนางเขียว ลูกสาวคนโตของปู่บุญ จึงมีการนำไหบรรจุพระเครื่องนั้นขึ้นมาเปิดออกดู ทำให้รู้ว่าภายในไหนั้นบรรจุพระนางพญาไว้จำนวนมาก ปู่บุญได้กล่าวไว้ว่าพระเครื่องทั้งหมดเป็นพระแท้ของจริงทุกองค์ เก็บรักษาไว้ให้ดี ต่อไปจะหายาก


อาจารย์วัลลภ ธรรมบันดาล
ผู้เปิดตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ,พิษณุโลก


สาระสำคัญในการจัดทำหนังสือ ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุ โลกในครั้งนี้ ก็เพื่อเล่าเรื่องและประวัติการสร้างให้ผู้สนใจทั่วไป ได้ศึกษาหาความรู้กันอย่างถูกต้อง โดยไม่มีการแต่งเติม เสริมเนื้อหาให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริงแต่อย่างใร อย่างน้อยก็ช่วยยืนยันว่าพระนางพญาแท้ในโลกนี้ยังมีอยู่จริง ในตำนานเล่มนี้มีภาพประกอบขยายใหญ่ ให้ดูเนื้อพระและมวลสารในสภาพเดิมๆ สีสันเหมือนจริงทุกมุมมอง ประวัติการสร้างถูกต้อง โดยมีความเก่า แก่ทางธรรมชาติอยู่เหนือคำอธิบาย


พระนางพญา

เป็นพระเครื่องในตำนานประวัติศาสตร์ชาติไทยนอกตำรา ที่จัดสร้างขึ้นจำนวนมาก หลายพิมพ์ หลายสี หลายขนาด มีพิมพ์หนา, พิมพ์กลาง, พิมพ์บาง, เนื้อละเอียด, เนื้อหยาบ ไม่มีการจดบันทึกอย่างเป็นทางการ ไม่มีตำราเรียนสืบทอดต่อกันมา ไม่มีคัมภีร์ลานทองให้ศึก ษา ยากแก่การจดจำ นอกจากหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อย ปี และข้อมูลของคนรุ่น ปู่ ย่า ตา ทวด ท่านช่วย กันจดบันทึกไว้ในตำนานนี้เท่านั้นที่จะยืนยันได้ว่า พระแท้เป็นอย่างไร


ใช้เป็นตำราอ้างอิงได้


นับว่าท่านเป็นผู้โชคดี ที่ได้ร่วมชมการเปิดตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุ โลก ที่รวบรวมและจดบันทึกสืบทอดต่อกันมาหลายช่วงอายุคน แต่ละคนไม่มีผู้ใดทำธุรกิจ ซื้อขายพระเครื่องมาก่อน นับได้ว่าเป็นตำนานบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายใดๆ ข้อมูลและประวัติการสร้างพระนางพญา รวบรวมเนื้อหาสาระโดยบุคคลระดับอาวุโส ที่มีถิ่นอาศัย อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก มาตั้งแต่บรรพบุรุษ และพระเกจิอาจารย์ที่มีบารมีสูงส่งหลายท่าน ที่รู้ประวัติการสร้างพระนางพญามาบ้าง อย่างเช่นองค์สมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพลหรือ ( วัดโพธิ์ ) หลวงปู่โง่น สรโย หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลวงปู่เกษม เขมโก หลวงปู่กัสสปมุนี หลวงปู่แหวน สุจินโน หลวงปู่สาม อกิญจโน ซึ่งเป็นพระที่ไม่สะสมวัตถุมงคลใดๆ แต่ท่านก็มีไหบรรจุพระนางพญาของโยมบิดามารดามาเหมือนกัน ท่านได้มอบไหบรรจุพระนางพญานั้นแก่อาจารย์วัลลภ เพื่อนำไปแจกแก่ผู้ร่วมบริจาคเงินสร้างวัดธรรมบันดาลและวัดภูน้ำเกลี้ยงจนหมด

แรกๆ มีทั้งที่รู้มาตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง ต้องเลือกเอาเนื้อ หาสาระในส่วนที่ตรงกัน มาวิเคราะห์ร่วมกับ เหตุผลทางธรรมชาติและภาพประกอบ เพื่อแยกยุคแยกสมัยให้เห็นความแตกต่างด้วยเหตุผลและความเป็นไปได้อย่างชัดเจน มีคุณค่าแก่ผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้เป็นตำราอ้างอิงประกอบการพิสูจน์ได้ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา โบราณคดี จิตวิทยา และศิลปะศาสตร์


มุ่งเน้นความเป็นกลาง

ในการจัดทำสารคดีนี้ มุ่งเน้นความเป็นกลางและถูกต้อง ไม่ลำเอียงเข้าข้างผู้ทำธุรกิจให้เช่าพระเครื่องแต่อย่างไร หวังให้ผู้สนใจรู้จักวิเคราะห์ รู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาระหว่างของ เก่ากับของใหม่ ดินเผาเก่ากับดินเผาใหม่แตกต่างกันอย่างไร ที่ผ่านมาพบว่าการดูพระเครื่อง จะมุ่งเน้นดูกันที่รูปภาพและรูปทรงขององค์พระว่าเป็นพิมพ์อะไร มีตำหนิตรงไหนบ้างเท่านั้น


การดูตำหนิ

การดูตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัว ไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสิน ว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ เพราะในขณะที่แกะพระออกมาจากแม่พิมพ์ใหม่ๆโดยบุคคลคนเดียวกัน เวลาห่างกันสี่ห้านา ที ก็ไม่เหมือนกันแล้ว การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน ทำโดยบุคคลหลายคน จะมีตำหนิเหมือนกันที่เดียวกัน ( ทุกองค์ ) เป็นไปไม่ได้


เปรียบเทียบพระนางพญา ที่แกะออกจากแม่พิมพ์เดียวกัน


(ซ้าย) พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ (คุณตวงพร บุญพามี จ.นครราชสีมา เป็นเจ้าของ )
(ขวา) พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ ( องค์สมเด็จพระวันรัตน์ (วัดโพธิ์) ให้ไว้


นี่คือพระพิมพ์เข่าโค้ง ที่แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน จะเห็นว่ามีรูปทรงโครงสร้างโดยรวมเหมือนกันแทบแยกไม่ออก ต้องดูตำหนิและสภาพความเก่าแก่ ทางธรรมธรรมชาติที่ผ่านกาล เวลามานานนับร้อยปีทั่วๆองค์พระ จึงจะเห็นความแตกต่างกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากพิจารณาดูเนื้อดิน เนื้อดินควรมีลักษณะและสีเหมือนกับดินที่ผสมในก้อนเดียวกัน ดังตัวอย่าง ที่นำมาให้ชมนี้


(ซ้าย) พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ (หลวงปู่โง่น สรโย ให้ไว้)
(ขวา) พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ (หลวงปู่เกษม เขมโก ให้ไว้)


นี่คือพระพิมพ์เข่าตรง ที่แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน จะเห็นว่ามีรูปทรงโครงสร้างโดยรวมเหมือนกันแทบแยกไม่ออก ต้องดูตำหนิและสภาพความเก่าแก่ ทางธรรมธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีทั่วๆองค์พระ จึงจะเห็นความแตกต่างกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากพิจารณาดูเนื้อดิน เนื้อดินควรมีลักษณะและสีเหมือนกับดินที่ผสมในก้อนเดียวกัน ดังตัวอย่าง ที่นำมาให้ชมนี้

การสร้างพระเครื่องในสมัยโบราณ ยังไม่มีการทำตำหนิหรือเครื่องหมายอื่นใดไว้ที่องค์พระ เพราะในสมัยนั้น ยังไม่มีพระหรือครูบาอาจารย์ท่านใดคิดล่วงหน้า ว่าจะมีผู้คนสนใจกันมากถึงกับทำปลอมหรือสร้างรุ่นสองรุ่นสามตามมาอีก ส่วนลายนิ้วมือที่มีปรากฏอยู่ด้านหลังขององค์พระเครื่องนั้นเกิดขึ้นตามความจำเป็นที่จะต้องกดเนื้อพระให้ลงลึกไปในแม่พิมพ์ ไม่ใช่จงใจทำเครื่องหมายหรือตำหนิอื่นใด หากเห็นลายนิ้วมืออยู่ในลักษณะจงใจทำ ก็ให้สงสัยไว้ก่อน ว่าเป็นพระที่ทำเทียมเลือนแบบ ส่วนจะเป็นสมัยไหนต้องไปดูเนื้อดินที่นำมาสร้าง ว่าเป็นดินในยุคก่อนหรือหลังกรุงรัตน์โกสิน ถ้าเป็นดินยุคก่อนกรุงรัตน์โกสิน ถือว่าเป็นพระแท้ ส่วนจะเป็นวัดไหนสร้างต้องไปสืบถามกันเอง แต่ไม่ใช่กรุวัดนางพญาแน่นอน ถ้าหากเป็นดินในยุคกรุงรัตน์โกสินเรื่อยลงมาถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นพระกรุอื่นวัดอื่นไม่ใช่กรุวัดนางพญาแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 590660เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 01:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท